ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

ประเทศเยอรมนีตะวันออก

เยอรมนีตะวันออก (อังกฤษ: East Germany) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนี (เยอรมัน: Deutsche Demokratische Republik[g]; อังกฤษ: German Democratic Republic[h]) เป็นประเทศคอมมิวนิสต์ที่ดำรงอยู่ในช่วงปี 1949 ถึงปี 1990 โดยเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนเยอรมันที่ถูกปกครองโดยอดีตสหภาพโซเวียต หลังจากการยึดครองเยอรมนีของกองทัพโซเวียตสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง เยอรมนีตะวันออกเป็นประเทศหนึ่งที่เข้าร่วมสนธิสัญญาวอร์ซอ ในช่วงสงครามเย็น โดยเยอรมนีตะวันออกได้นิยามตัวเองว่าเป็นรัฐสังคมนิยม "ของคนงานและชาวนา" และเขตที่ถูกยึดครอง ได้รับการปกครองโดยกองกำลังโซเวียตในตอนท้ายของสงครามโลกครั้งที่สอง เขตยึดครองโซเวียตตามข้อตกลงพ็อทซ์ดัมซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกติดกับแนวโอเดอร์–ไนเซอ เขตยึดครองโซเวียตล้อมรอบเบอร์ลินตะวันตก แต่ไม่รวมถึง เป็นผลให้เบอร์ลินตะวันตกยังคงอยู่นอกเขตอำนาจของเยอรมนีตะวันออก

สาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนีก่อตั้งขึ้นในเขตโซเวียต ขณะที่สหพันธรัฐจัดตั้งขึ้นในสามเขตตะวันตก เยอรมนีตะวันออกเป็นรัฐบริวารของสหภาพโซเวียต เจ้าหน้าที่ยึดครองโซเวียตได้เริ่มถ่ายโอนความรับผิดชอบในการบริหารให้กับผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์เยอรมนีในปี 1948 และเริ่มมีบทบาทเป็นรัฐเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 1949 อย่างไรก็ตามกองทัพโซเวียตยังคงกำลังอยู่ในประเทศตลอดช่วงสงครามเย็น จนถึง 1989 เยอรมนีตะวันออกถูกปกครองโดยพรรคเอกภาพสังคมนิยมเยอรมนี แม้ว่าพรรคอื่น ๆ ในนามขององค์กรพันธมิตรแนวร่วมประชาธิปไตยแห่งชาติเยอรมนี พรรคเอกภาพสังคมนิยมยังได้บังคับให้ทุกโรงเรียนต้องสอนแนวคิดลัทธิมากซ์ - เลนิน และภาษารัสเซีย

เศรษฐกิจมีการวางแผนจากส่วนกลางและเป็นของรัฐมากขึ้น ราคาที่อยู่อาศัยสินค้าพื้นฐานและบริการถูกกำหนดโดยนักวางแผนของรัฐบาลกลางมากกว่าการเพิ่มขึ้นและลดลงตามอุปสงค์และอุปทาน และได้รับเงินอุดหนุนอย่างมาก แม้ว่าเยอรมนีตะวันออกจะต้องจ่ายค่าปฏิกรรมสงครามอย่างมหาศาลให้กับสหภาพโซเวียต แต่ก็กลายเป็นเศรษฐกิจที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในกลุ่มตะวันออก การอพยพไปทางเยอรมนีตะวันตกเป็นปัญหาสำคัญเนื่องจากผู้อพยพหลายคนเป็นเยาวชนที่มีการศึกษาดีทำให้เศรษฐกิจของประเทศอ่อนแอลง รัฐบาลเสริมสร้างพรมแดนด้านเยอรมนีตะวันตกและในปี 1961 รัฐบาลเยอรมนีตะวันออกได้สร้างกำแพงเบอร์ลินขึ้นมา หลายคนที่พยายามหลบหนีจะถูกสังหารโดยเจ้าหน้าที่ชายแดน หรือโดนกับดักหลุมพรางเช่นทุ่นระเบิดเป็นต้น

ในปี 1989 ปัญหาทางสังคม, เศรษฐกิจ และการเมืองที่มากขึ่นในเยอรมนีตะวันออกและต่างประเทศได้นำไปสู่การล่มสลายของกำแพงเบอร์ลินและการจัดตั้งรัฐบาลที่มุ่งมั่นในการเปิดเสรี ส่งผลให้เกิดการจัดการเลือกตั้งเสรีขึ้นเป็นครั้งแรกในเยอรมนีตะวันออกเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 1990 นำไปสู่การเจรจาระหว่างเยอรมนีทั้งสองประเทศ และ ชาติมหาอำนาจอีกสี่ชาติที่เคยยึดครองเยอรมนีในอดีต จึงก่อให้เกิดการลงนามในข้อตกลงของ สนธิสัญญาสองบวกสี่ (สนธิสัญญาว่าด้วยการตกลงขั้นสุดท้ายเกี่ยวกับดินแดนเยอรมนี) ณ กรุงมอสโก สหภาพโซเวียต เมื่อวันที่ 12 กันยายน ค.ศ. 1990 โดยให้อำนาจอธิปไตยอย่างสมบูรณ์แก่ประเทศเยอรมนีที่รวมกันใหม่ และเยอรมนีได้รวมตัวกันอีกครั้งเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 1990 และกลายเป็นรัฐอธิปไตยอย่างเต็มที่อีกครั้ง ผู้นำของพรรคคอมมิวนิสต์คนสุดท้ายของเยอรมนีตะวันออกคือ เอก็อน เคร็นทซ์ ได้ถูกดำเนินคดีในข้อหาก่ออาชญากรรมในช่วงสงครามเย็นหลังเยอรมนีรวมประเทศ

ด้านภูมิศาสตร์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนีติดกับทะเลบอลติกไปทางทิศเหนือ สาธารณรัฐประชาชนโปแลนด์ไปทางทิศตะวันออก, เชโกสโลวาเกียไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ และเยอรมนีตะวันตกไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้และตะวันตก ภายในเยอรมนีตะวันออกยังมีล้อมนอกรอบเขตโซเวียตของเบอร์ลินภายใต้การยึดครองของสัมพันธมิตร เรียกว่า เบอร์ลินตะวันออก ซึ่งได้กลายเป็นเมืองหลวงในทางพฤตินัย นอกจากนี้ยังมีล้อมรอบสามเขตที่ยึดครองโดยสหรัฐอเมริกา, สหราชอาณาจักร และฝรั่งเศสถูกเรียกว่า เบอร์ลินตะวันตก ทั้งสามเขตถูกครอบครองโดยประเทศตะวันตกถูกปิดผนึกออกจากส่วนที่เหลือของเยอรมนีตะวันออกโดยกำแพงเบอร์ลินจากการก่อสร้างในปี 1961 จนกระทั่งถูกทุบลงในปี 1989

ชื่ออย่างเป็นทางการว่า Deutsche Demokratische Republik (สาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนี) มักจะย่อด้วยคำว่า DDR ทั้งสองคำจะถูกใช้ในเยอรมนีตะวันออก ด้วยการใช้ที่เพิ่มมากขึ่นของรูปแบบย่อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตั้งแต่เยอรมนีตะวันออกได้ถือว่าชาวเยอรมันตะวันตกและชาวเบอร์ลินตะวันตกเป็นชาวต่างชาติหลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับที่สองในปี ค.ศ. 1968 ชาวเยอรมันตะวันตกและรัฐบุรุษต่างได้หลีกเลี่ยงการใช้ชื่ออย่างเป็นทางการและใช้คำย่อ แทนที่จะใช้คำอื่นๆ เช่น ออสโซน (โซนตะวันออก) Sowjetische Besatzungszone (เขตการยึดครองของโซเวียต; มักจะย่อด้วยคำว่า SBZ) และ sogenannte DDR (หรือ "เรียกว่า GDR")

ศูนย์กลางอำนาจทางการเมืองในเบอร์ลินตะวันออกที่ถูกเรียกว่า Pankow (ที่นั่งของกองบัญชาการแห่งกองทัพโซเวียตในเยอรมนีตะวันออกที่ถูกเรียกว่า Karlshorst) เมื่อเวลาผ่านไป, อย่างไรก็ตาม, คำย่อว่า DDR ยังถูกใช้มากขึ้นเรื่อยๆโดยชาวเยอรมันตะวันตกและสื่อเยอรมันตะวันตก

คำว่า Westdeutschland (เยอรมนีตะวันตก) เมื่อถูกใช้โดยชาวเยอรมันตะวันตกที่เกือบตลอดที่อ้างอิงไปยังพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ของภูมิภาคเยอรมนีตะวันตก และไม่ใช่พื้นที่ภายในเขตแดนของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี อย่างไรก็ตาม, การใช้คำนี้ยังไม่ถูกเสมอไป จากตัวอย่างเช่น ชาวเบอร์ลินตะวันตกมักใช้คำว่า Westdeutschland เพื่อกล่าวถึงสหพันธ์สาธารณรัฐ ก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง, Ostdeutschland (เยอรมนีตะวันออก) เป็นการใช้คำเพื่ออ้างอิงถึงดินแดนทั้งหมดทางตะวันออกของแม่น้ำเอ็ลเบอ (แม่น้ำเอ็ลเบอตะวันออก) เป็นผลสะท้อนให้เห็นในผลงานของนักสังคมนิยม มักซ์ เวเบอร์และนักทฤษฎีการเมือง คาร์ล ซมิตต์

การอธิบายถึงผลกระทบภายในของระบอบในเยอรมนีตะวันออก จากภาพรวมของประวัติศาสตร์เยอรมนีในระยะเวลาอันยาวนาน นักประวัติศาสตร์ เจอร์ฮาร์ด เอ. ริตเตอร์ (ค.ศ. 2002) ได้แย้งว่า รัฐเยอรมนีตะวันออกได้ถูกกำหนดโดยสองกองกำลังหลักคือ ฝ่ายคอมมิวนิสต์สายโซเวียตในมือข้างหนึ่งและขนบประเพณีเยอรมันได้ผ่านการคัดกรองผ่านประสบการณ์ระหว่างสงครามของคอมมิวนิสต์ในด้านอื่น ๆ มันได้ถูกจำกัดโดยตัวอย่างที่มีประสิทธิภาพของความเจริญรุ่งเรืองมากขึ้นของฝ่ายตะวันตก ซึ่งชาวเยอรมันตะวันออกได้เปรียบเทียบกับประเทศของตน การเปลี่ยนแปลงที่ได้กระทำโดยคอมมิวนสต์เป็นสิ่งที่เห็นได้ชัดมากที่สุดในการสิ้นสุดของทุนนิยมและการเปลี่ยนแปลงโรงงานอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม ในยุทธภิวัตน์ของสังคม และในแรงผลักดันทางการเมืองของระบบการศึกษาและสื่อ ในทางกลับกัน มีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ที่มีอิสระในด้านทางวิทยาศาสตร์ วิชาชีพวิศวกรรม คริสจักรนิกายโปรเตสแตนต์ และในวิถีชีวิตของชนชั้นกลางหลายคน นโยบายทางสังคม ได้กล่าวว่า Ritter กลายเป็นเครื่องมือสร้างความชอบธรรมที่สำคัญในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาและสังคมนิยมแบบผสมผสานและส่วนดั้งเดิมเกี่ยวกับความเท่าเทียม

ที่การประชุมยัลตาในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ฝ่ายสัมพันธมิตร (สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และสหภาพโซเวียต) ได้เห็นตกลงกันว่าจะแบ่งแยกประเทศของนาซีเยอรมนีที่ได้พ่ายแพ้ไปแล้วให้กลายเป็นเขตยึดครอง และแบ่งแยกกรุงเบอร์ลิน เมืองหลวงของเยอรมนี ท่ามกลางอำนาจฝ่ายสัมพันธมิตรเช่นกัน ในช่วงแรกการสร้างเขตยึดครองทั้งสาม ได้แก่ อเมริกัน อังกฤษ และโซเวียต ต่อมาเขตยึดครองของฝรั่งเศสได้ถูกแบ่งแยกออกมาจากเขตอเมริกันและอังกฤษ

การปกครองของพรรคคอมมิวสต์ เป็นที่รู้จักกันคือ พรรคเอกภาพสังคมนิยมเยอรมนี (SED) ถูกก่อตั้งในเดือนเมษายน ค.ศ. 1946 จากการรวมตัวกันระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์เยอรมนี (KPD) และพรรคประชาธิปไตยสังคมแห่งเยอรมนี (SPD) โดยอาณัติของโจเซฟ สตาลิน อดีตทั้งสองฝ่ายเป็นคู่แข่งที่มีชื่อเสียงโด่งดังเมื่อพวกเขาได้เคลื่อนไหวก่อนที่นาซีได้รวมรวมอำนาจไว้ทั้งหมดและได้ถูกประกาศว่าเป็นสิ่งผิดกฎหมายได้สร้างความวุ่นวายต่อพวกเขา การรวมตัวกันของทั้งสองฝ่ายกลายเป็นสัญลักษณ์ของความสัมพันธ์ใหม่ของนักสังคมนิยมเยอรมันในการเอาชนะศัตรูทั่วไปของพวกเขา อย่างไรก็ตาม ฝ่ายคอมมิวนิสต์ก็ได้ถือเสียงส่วนใหญ่ที่มีอำนาจควบคุมนโยบายทั้งหมด SED เป็นพรรคที่ปกครองจากตลอดระยะเวลาของรัฐเยอรมนีตะวันออก มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับสหภาพโซเวียต ซึ่งกองกำลังทหารยังคงรักษาการณ์ในเยอรมนีตะวันออกจนกระทั่งได้ถูกยุบลงในปี ค.ศ. 1991 (สหพันธรัฐรัสเซียยังคงให้กองกำลังทหารยังคงรักษาการณ์ในสิ่งที่เคยเป็นเยอรมนีตะวันออกจนถึง ค.ศ. 1994) ด้วยวัตถุประสงค์ที่ได้ระบุไว้ว่าเพื่อตอบโต้ฐานที่มั่นของนาโต้ในเยอรมนีตะวันตก นักประวัติศาสตร์ได้ถกเถียงกันว่า การตัดสินใจในการจัดตั้งประเทศที่แยกจากกันได้ถูกริเริ่มโดยสหภาพโซเวียตหรือ SED

ในขณะที่เยอรมนีตะวันตกได้ถูกก่อตั้งและได้รับเอกราชจากผู้ยึดคีอง สาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมันได้ถูกก่อตั้งในเยอรมนีตะวันออกในปี ค.ศ. 1949 การสร้างทั้งสองรัฐขึ้นในปี ค.ศ. 1945 ส่วนหนึ่งของเยอรมนี เมื่อวันที่ 10 มีนาคม ค.ศ. 1952 (ในสิ่งที่กลายเป็นที่รู้จักกันคือ โน้ตสตาลิน) สตาลินได้ยื่นข้อเสนอให้รวมประเทศเยอรมนีด้วยนโยบายความเป็นกลาง, ด้วยปราศจากเงื่อนไขใดๆเกี่ยวกับนโยบายทางเศรษฐกิจและด้วยการรับประกันสำหรับ"สิทธิมนุษย์และเสรีภาพขั้นพื้นฐาน รวมทั้งเสรีภาพในการพูด กดดัน การชักชวนทางศาสนา, ความเชื่อมั่นทางการเมือง และการชุมนุม" และเคลื่อนไหวอย่างเสรีของพรรคประชาธิปไตยและองค์กร ตอนนี้ได้ถูกปิดลง การรวมประเทศไม่ได้เป็นสิ่งสำคัญสำหรับความเป็นผู้นำของเยอรมนีตะวันตก และอำนาจของนาโต้ได้ปฏิเสธข้อเสนอโดยอ้างว่าเยอรมนีควรที่จะเข้าร่วมนาโต้และการเจรจาต่อรองกับสหภาพโซเวียตจะถูกมองว่าเป็นการยอมจำนน มีการอภิปรายหลายครั้งเกี่ยวกับมีโอกาสที่จะรวมตัวอีกครั้งหรือไม่ซึ่งพลาดในปี ค.ศ. 1952

ในปี ค.ศ. 1949 โซเวียตได้หันไปควบคุมเยอรมนีตะวันออกเหนือต่อพรรคเอกภาพสังคมนิยม ผู้นำโดย วิลเฮ็ล์ม พีค (ค.ศ. 1876-1960) ซึ่งเป็นประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนี และดำรงตำแหน่งจนกระทั่งถึงแก่อสัญกรรม ในขณะที่ผู้บริหารส่วนใหญ่ได้สมมุติโดยเลขาธิการใหญ่ วัลเทอร์ อุลบริชท์ ผู้นำสังคมนิยม อ็อทโท โกรเทอโวล (ค.ศ. 1894-1964) เป็นนายกรัฐมนตรีจนกระทั่งถึงแก่อสัญกรรม

รัฐบาลเยอรมนีตะวันออกได้ประณามความล้มเหลวของเยอรมนีตะวันตกในทำให้เกิดการขจัดและละทิ้งความเกี่ยวข้องกับอดีตนาซีที่จำคุกเป็นจำนวนมาก และขัดขวางไม่ให้พวกเขากลับมาสู่ตำแหน่งรัฐบาลอีก พรรคเอกภาพสังคมนิยมได้กำหนดเป้าหมายหลักของการกำจัดร่องรอยของระบอบฟาสซิสต์ทั้งหมดของเยอรมนีตะวันออก พรรคเอกภาพสังคมนิยมได้อ้างว่าจะสนับสนุนการเลือกตั้งแบบประชาธิปไตยและการปกป้องเสรีภาพส่วนบุคคลในการสร้างสังคมนิยม

ในการประชุมยัลตาและพ็อทซ์ดัม ฝ่ายสัมพันธมิตรได้จัดตั้งกองกำลังทหารยึดครองร่วมกันและบริหารประเทศเยอรมนีผ่านสภาควบคุมฝ่ายสัมพันธมิตร (ACC) สี่มหาอำนาจ (สหรัฐอเมริกา, อังกฤษ สหภาพโซเวียต และฝรั่งเศส) รัฐบาลทหารที่มีประสิทธิภาพจนถึงฟื้นฟูอธิปไตยของเยอรมัน ในเยอรมนีตะวันออก เขตยึดครองของโซเวียต (SBZ – Sowjetische Besatzungszone) ประกอบด้วยห้ารัฐ (Länder) เมคเลินบวร์ค-ฟอร์พ็อมเมิร์น บรันเดินบวร์ค แซกโซนี ซัคเซิน-อันฮัลท์ และทูรินเจีย

บทความประเทศ ดินแดน หรือเขตการปกครองนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยเพิ่มเติมข้อมูล


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เป็นต่อ ขั้นเทพ เป็นข่าว ซีรีส์ คณะนิเทศศาสตร์ ซิทคอม ยีนเด่น (ละครโทรทัศน์) เฮง เฮง เฮง เป็นต่อ นักเขียนบท เจ้าชายฌัก รัชทายาทแห่งโมนาโก กาญจน์เกล้า ด้วยเศียรเกล้า วอลเลย์บอลชายทีมชาติไทย ปิยะรัฐ ตุ้นทัพไทย อรรถพร ธีมากร ไมเคิล คลาร์ก ดันแคน เจ้าพงศ์แก้ว ณ ลำพูน ระบบทศนิยมดิวอี้ ตึกนิวยอร์กเวิลด์ เทพมารสะท้านภพ ไทเก็ก หมัดทะลุฟ้า สุภาพบุรุษตระกูลหยาง ตำนานเดชนางพญางูขาว เจิ้ง เจียอิ่ง อู๋ จัวซี กู่ เทียนเล่อ มังกรคู่สู้สิบทิศ แม่พระปฏิสนธินิรมล เจมส์ ฟิกก์ ธัญยกันต์ ธนกิตติ์ธนานนท์ โกะโร อินะงะกิ ฉัตรชัย ดุริยประณีต ธงไชย แมคอินไตย์ คิม เบซิงเงอร์ จิม มอร์ริสัน เดวิด คาร์ราดีน บ๊อบ อารัม สมเด็จพระราชินีนาถคริสตินาแห่งสวีเดน พรรคประชาชนบรูไน แอมโบรสแห่งมิลาน รังสี ทัศนพยัคฆ์ คิเคโร เจ้าหญิงคาทารีนา-อะมาเลีย เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์ บุษกร ตันติภนา จอห์น เทอร์รี เฟอร์นันโด วาร์กัส ช่วง มูลพินิจ พิศมัย วิไลศักดิ์ พระมเหสีจองซอง การโจมตีท่าเรือเพิร์ล กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น Grammy Awards Allmusic ซิงเกิล นักธุรกิจ แร็ปเปอร์ เลสลี นีลเซน มะสึโอะ บะโช นันทนัช โล่ห์สุวรรณ ผู้รักษาประตู สจวร์ต เทย์เลอร์ แดเนียล เฮนนีย์ แอนนา นิโคล สมิธ หลวงพ่อเกษม เขมโก ลี กวน ยู คริส โจนนาว ซิลเวอร์แชร์ เค.แมกซ์ ซินบี แตวุง เค-วัน นักมวยไทย อักษรฮันกุล นักบุญเดนิส ออสการ์ ชินด์เลอร์ เช เกบารา สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12 สมเด็จพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย หทัยภัทร สมรรถวิทยาเวช พชร ธรรมมล คนึงพิมพ์ พรมกร แบรนดอน เราธ์ แผ่นดินถล่ม สิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลก อนุสาวรีย์วอชิงตัน อำเภอเมืองสุพรรณบุรี ปริ๊นซ์ ออฟ เทนนิส แม่พระแห่งลูกประคำ เลย์ เซบัสเตียน โกอาเตส ตะวัน จารุจินดา แอรอน แอชมอร์ ชอว์น แอชมอร์ ชิลเบร์ตู ซิลวา ภาคภูมิ แจ้งโพธิ์นาค ซามี ฮูเปีย โทนี แบรกซ์ตัน ไซมอน โคเวลล์ วลาดิมีร์ ปูติน พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 1 แห่งเดนมาร์ก อาคารรัฐสภาไทย สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23406