ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

ประวัติเภสัชกรรม

ประวัติศาสตร์เภสัชกรรม มีวิวัฒนาการไปพร้อมกับประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ เนื่องจากยาเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ และเภสัชกรรมเป็นส่วนหนึ่งของวิวัฒนาการทางการแพทย์ ทั้งแผนตะวันตกและตะวันออกมาช้านาน โดย "การแพทย์" สามารถแบ่งออกเป็นหลายสาขา ได้แก่ เวชกรรม เภสัชกรรม พยาบาล ทันตกรรม เป็นต้น โดยในระยะเริ่มแรก การแพทย์ของทั้งฝั่งตะวันตกและตะวันออกจะอยู่ในรูปองค์รวม โดยมี "แพทย์" เป็นผู้รับผิดชอบทั้งการรักษา การปรุงยา การดูแล จนกระทั่งเมื่อวิทยาการทางการแพทย์มีความก้าวหน้า ได้มีการจำแนกวิชาชีพออกตามความชำนาญมากขึ้น เพื่อฝึกหัดให้เกิดความชำนาญเฉพาะด้านแต่ละสาขา

ระบบการแพทย์ในสมัยโบราณมักผูกพันกับอำนาจลี้ลับ เทพเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ผสมผสานกับการสังเกต ทดลอง วิเคราะห์ และหาความเชื่อมโยง รวมถึงการสังเกตพฤติกรรมสัตว์ในการบริบาลตนเองเมื่อเจ็บป่วย และได้นำมาดัดแปลงตามความเหมาะสม เกิดแนวคิดและถ่ายทอดสู่รุ่นลูกหลาน และพัฒนาขึ้นเป็นระบบ และเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นในแต่ละภูมิภาค

ในสมัยโบราณ การจัดทำเภสัชตำรับขึ้นครั้งแรกเกิดขึ้นในดินแดนเมโสโปเตเมีย ซึ่งมีการบันทึกโดยใช้อักษรคูนิฟอร์ม นับเป็นเภสัชตำรับฉบับแรกของโลก และเริ่มมีการแบ่งสายวิชาชีพเภสัชกรรมออกจากวิชาชีพเวชกรรมในสมัยพระเจ้าฮัมมูราบี ส่วนในจีน การแพทย์มักมีความผูกพันกับธรรมชาติ และใช้ปรัชญาของจีนร่วมในการรักษา ในอียิปต์เริ่มมีการจดบันทึกเภสัชตำรับเมื่อประมาณ 1500 ปีก่อนคริสต์ศักราช หรือที่รู้จักกันในชื่อว่า "ปาปิรุสอีเบอร์" ตลอดจนบูชาเทพเจ้าในการบำบัดโรคกว่า 10 องค์

ในสมัยกรีกโบราณ ชาวกรีกได้บูชาเทพแอสคลีปิอุส ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นเทพแห่งการแพทย์ เช่นเดียวกับพระธิดา คือ เทพีไฮเจีย เทพีแห่งสุขอนามัย โดยพระองค์จะถือถ้วยยาและงูไว้ งูเป็นสัญลักษณ์ในการดูดพิษของชาวกรีกโบราณ จนกระทั่งเป็นสัญลักษณ์ของวิชาชีพเภสัชกรรมในปัจจุบัน กรีกมีนักปราชญ์มากมาย จึงใช้ปรัชญาและทฤษฎีในการบำบัดรักษาโรคทั่วไป ส่วนในยุคโรมัน ซึ่งได้รับวิทยาการถ่ายทอดจากกรีก ได้ใช้ปรัชญาจากนักปราชญ์ในการบริบาลผู้ป่วยสืบต่อมา สมัยจักรวรรดิโรมัน กาเลนนับเป็นบุคคลสำคัญในการบริบาลผู้ป่วย โดยกาเลนจะปรุงยาด้วยตนเองเสมอจนถือว่ากาเลนเป็น "บิดาแห่งเภสัชกรรม"

ในสมัยกลาง เมื่อโรมันเสื่อมอำนาจลง วิทยาการด้านการแพทย์เสื่อมถอยลง แต่วิทยาการทางการแพทย์ตะวันตกยังคงได้รับการถ่ายทอดจากชาวอาหรับที่มาค้าขายด้วย ในสมัยสมเด็จพระจักรพรรดิฟรีดริชที่ 2 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ พระองค์ทรงประกาศกฎหมายเกี่ยวกับวิชาชีพเภสัชกรรม (Magna Charta of the Profession of Pharmacy) เมื่อ ค.ศ. 1240 ห้ามมิให้ดำเนินการตั้งร้านยาหรือธุรกิจเกี่ยวกับการขายยา ยกเว้นแต่ได้รับใบอนุญาตจากรัฐ และให้แยกวิชาชีพเภสัชกรรมออกจากวิชาชีพเวชกรรมอย่างเด็ดขาดเป็นครั้งแรก

เมื่อโคลัมบัสค้นพบทวีปอเมริกา วิทยาการทางการแพทย์ได้เกิดขึ้นอย่างมากมายในดินแดนทวีปแห่งนี้ ประกอบกับเป็นช่วงที่มีการปฏิวัติอุตสาหกรรม ทำให้มีการค้นพบตัวยาใหม่ ๆ และการนำยาเข้าสู่ระบบอุตสาหกรรม เกิดการเปลี่ยนแปลงบทบาทและหน้าที่ของเภสัชกร จากเดิมคือผู้ปรุงยา แต่ปัจจุบันเป็นผู้บริหารและควบคุมระบบยา พร้อมกันนั้นยังมีหน้าที่ให้ความรู้แก่ประชาชนในการใช้ยา ตลอดจนคุ้มครองสิทธิผู้ป่วย

สำหรับประเทศไทย เภสัชกรรมเป็นส่วนหนึ่งของระบบการแพทย์แผนไทยมาโดยตลอด อาทิ การใช้สมุนไพรและเภสัชวัตถุต่าง ๆ เข้าร่วมการรักษา การศึกษาทางด้านเภสัชศาสตร์ได้สถาปนาขึ้นอย่างเป็นทางการโดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร ในฐานะโรงเรียนแพทย์ปรุงยา (ปัจจุบันคือ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ภายหลังการก่อตั้งกองโอสถศาลาขึ้น ต่อมาได้มีการจัดตั้งโรงงานเภสัชกรรมโดย เภสัชกร ดร. ตั้ว ลพานุกรม ซึ่งภายหลังได้รวมกับกองโอสถศาลาจัดตั้งเป็นองค์การเภสัชกรรม

คำว่า เภสัชกรรม ในภาษาไทย มาจากการประสมระหว่างคำว่า "เภสัช" (เภสชฺช) ซึ่งแปลว่า "ยา" และ "กรรม" ซึ่งแปลว่า การงาน, การกระทำ จึงหมายรวมว่า การกระทำเกี่ยวกับยา หรือตามความหมายของราชบัณฑิตยสถานคือวิทยาศาสตร์แขนงที่ว่าด้วยการเตรียมเครื่องยา ตัวยาจากธรรมชาติหรือการสังเคราะห์ให้เป็นยาสำเร็จรูป เดิมในสยามประเทศได้ใช้คำว่า "ปรุงยา" หรือ "ผสมยา" จนกระทั่งใน พ.ศ. 2475 ปทานุกรมไทยได้บัญญัติให้ใช้คำว่า "เภสัชกรรม" แทน ส่วนในภาษาอังกฤษ Pharmacy มีที่มาจากภาษากรีกคือ φάρμακον /'pharmakon'/ โดยมีรากศัพท์ภาษาตั้งแต่สมัยบาบิโลน pharmakon หมายถึง พืชที่มีอำนาจวิเศษ โดยในกรีกมีความหมายว่า "ยา" ทั้งนี้ มีความหมายรวมถึง ยาที่ใช้ในการรักษาโรคและยาพิษ ซึ่งมีความหมายกว้างกว่าเภสัชกรรมในปัจจุบัน ซึ่งหมายถึงยาในการบำบัดรักษาโรคเพียงอย่างเดียว

จุดเริ่มต้นขององค์ความรู้ด้านเภสัชกรรมนั้น เกิดคู่ขนานกับมนุษยชาติมาอย่างยาวนานตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ มนุษย์ในสมัยนั้นอาศัยสัญชาตญาณ เรียนรู้ และสังเกตจากธรรมชาติและสัตว์ป่า รู้จักการประยุกต์นำน้ำเย็น ใบไม้ หรือโคลนมาช่วยในการบริบาลตนเองในเบื้องต้น หลังจากนั้นทำให้พวกเขาได้สั่งสมองค์ความรู้จากการลองผิดลองถูกแล้วถ่ายทอดความรู้ดังกล่าวสู่ลูกหลานจากรุ่นสู่รุ่น ความรู้ในการบำบัดรักษาโรคในสมัยในยังอยู่ในวงจำกัด ขึ้นอยู่กับธรรมชาติและอำนาจลี้ลับเหนือธรรมชาติ การบริบาลรักษาเป็นไปโดยใช้เวทมนตร์คาถาและไสยศาสตร์ควบคู่กับการใช้ยาและสุมนไพร

การบำบัดรักษาในสมัยเมโสโปเตเมียมีพื้นฐานเกี่ยวกับความเชื่อของศาสนาและไสยศาสตร์ควบคู่กับการบำบัดโรคและให้ยาในรูปแบบต่าง ๆ ในสมัยนี้ยังมีการค้นพบตัวยาใหม่ ๆ หลายชนิด อาทิ ตัวยาที่สกัดจากพืช เช่น องุ่น ฝิ่น กัญชา มหาหิงคุ์ เป็นต้น ตัวยาที่ได้จากสัตว์ เช่น ไขผึ้ง น้ำนมและไขมันสัตว์ และตัวยาที่ได้จากแร่ธาตุ เช่น สารหนูและกำมะถัน นอกจากนี้ในสมัยของชาวสุเมเรียนยังมีการประดิษฐ์ตัวอักษรคูนิฟอร์มขึ้น และได้มีการจารึกเภสัชตำรับไว้ลงบนก้อนดินเหนียว ซึ่งถือเป็นเภสัชตำรับฉบับแรกของโลก (Earliest Pharmacopoeia) ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา

เภสัชกรรมในจีนมีหลักฐานบันทึกในตำนานของของกษัตริย์เสินหนง (ช่วง 2000 ปีก่อนคริสต์ศักราช) พระองค์ทรงตรวจสอบหาคุณสมบัติของสมุนไพรในจีน และทดลองคุณสมบัติของสมุนไพรเหล่านั้นโดยพระองค์เอง มีการบันทึกตัวยาประมาณ 365 ขนาน ซึ่งพระองค์ยังเป็นที่สักการะของชาวจีนพื้นเมืองจวบจนปัจจุบัน

ในช่วง 770–476 ก่อนคริสต์ศักราช พระเจ้าหวังตี้เน่ยจิง (Yellow Emperor) มีพระราชดำริที่จะเรียบเรียงตำราเกี่ยวกับการบำบัดโรคในจีน ซึ่งจัดทำเป็นตำราถาม-ตอบ โดยผู้ถามคือกษัตริย์และผู้ตอบคืออำมาตย์ฉีเปาะ ทั้งนี้จีนมีความผูกพันกับปรัชญาและลัทธิปรัชญาเกี่ยวกับธรรมชาติเป็นอันมาก จึงได้มีทฤษฎีต่าง ๆ ที่เข้ามามาอิทธิพลต่อกระบวนการรักษาในจีน ได้แก่ ทฤษฎีหยินหยาง ทฤษฎีปัญจธาตุ และทฤษฎีอวัยวะภายใน การแพทย์ของจีนมีการพัฒนาอย่างเป็นระบบและมีเอกลักษณ์ โดยใช้วิธีการฝังเข็มและยาจีนมาใช้ในการรักษาในฐานะวิถีเอเชียที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลก และมีการแยกการแพทย์ออกเป็นเวชกรรมและเภสัชกรรมในสมัยราชวงศ์สุย

พบหลักฐานเกี่ยวกับวิทยาการทางการแพทย์ของอียิปต์มาตั้งแต่ช่วงประมาณ 2900 ปีก่อนคริสต์ศักราชแล้ว ชาวอียิปต์มักนิยมบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ ของตนไว้โดยอักษรฮีโรกลิฟฟิก ในสุสานของมั่มมี่นั้น มีหลักฐานเกี่ยวกับล่มยา อันประกอบไปด้วยช้อนตักยา ภาชนะใส่ยา และยาแห้ง อีกทั้งยังมีหลักฐานการรักษาโรคแสดงเหตุการณ์ต่าง ๆ อาทิ การคลอดบุตร และการผ่าตัด ในช่วง 1700 ปีก่อนคริสต์ศักราช และมีการตรวจรักษาโรคอย่างเป็นระบบแยกผู้เชี่ยวชาญด้านจักษุแพทย์ ทันตแพทย์ ศัลยแพทย์เป็นต้น หลักฐานชิ้นสำคัญและมีชื่อเสียงทางด้านเภสัชกรรมของอียิปต์คือ "ปาปิรุสอีเบอร์" (Papyrus Ebers) ซึ่งบันทึกไว้ในช่วง 1500 ปีก่อนคริสต์ศักราช เป็นเอกสารรวบรวมตำรับยากว่า 800 ตำรับ ซึ่งเกี่ยวข้องกับยากว่า 700 ขนาน เภสัชกรรมในอียิปต์โบราณถูกจัดระดับไว้ตั้งแต่ 2 ระดับขึ้นไป ตั้งแต่การจัดหาเภสัชวัตถุและการเตรียมยา และหัวหน้าฝ่ายคิดค้นหรือหัวหน้าเภสัชกร สถานที่ทำงานของพวกเขาเรียกว่า "บ้านแห่งชีวิต" (House of Life) ระหว่างการบำบัดรักษากระทำควบคู่กับการอ้อนวอนพระเจ้าและคาถาสำหรับคนไข้ นอกจากนี้อียิปต์โบราณยังมีวิวัฒนาการทางการแพทย์อย่างมาก อาทิ การรักษาด้วยการเข้าเฝือก การนำสมุนไพรเป็นยาและมีหน่วยวัด "โร" (Bushel) เป็นหน่วยวัดมาตรฐาน และมีการใช้เครื่องสำอางตามหลักฐานภาพบันทึกในช่วง 1200 ปีก่อนคริสต์ศักราช ทำให้ชาวอียิปต์นับได้ว่าเป็นตำรับแห่งวิทยาการเครื่องสำอาง

ในดินแดนเอเชียใต้ ชาวอารยันได้บุกยึกครองดินแดนตอนเหนือได้ เมื่อประมาณพันปีก่อนพุทธศักราช วัฒนธรรมชาวอารยันได้นำมาถ่ายทอดสู่ภูมิภาคนี้ ซึ่งหนึ่งในศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพและอนามัยคืออายุรเวท โดยพราหมณ์จะเป็นผู้ถ่ายทอดคัมภีร์เหล่านี้จากรุ่นสู่รุ่น นอกจากนี้วิชาการการแพทย์ได้บรรจุลงในคัมภีร์ฤคเวทเกี่ยวกับการบำบัดโรคและสมุนไพรที่ใช้เป็นยาอีกด้วย ต่อมาในสมัยสูตรยุคเมื่อ 300 ปีก่อนพุทธศักราช มีอาจารย์ปานิมีขัตยาญาณและอาจารย์ปตัญชลีเป็นผู้ตรวจสอบและรวบรวมวิชาการแพทย์หรือวิชาอายุรเวทให้อยู่ในหมวดหมู่เดียวกัน

ต่อมาในสมัยพุทธกาล วิชาการแพทย์ได้เจริญเต็มที่ เป็นที่สนใจของชาวอินเดียและบุคคลต่างประเทศ บุคคลสำคัญได้แก่ อาจารย์ชีวกโกมารภัจจ์ ได้ศึกษาสำเร็จเป็นผู้เชี่ยวชาญทางเวชปฏิบัติและเภสัชวัตถุ จนได้รับสมัญญานามว่า "เภสัชราชา" เป็นแพทย์ประจำพระเจ้าพิมพิสารและพระพุทธเจ้า พร้อมกันนั้น ก็ได้ถ่ายทอดองค์ความรู้มายังสุวรรณภูมิผ่านทางพระพุทธศาสนา ท่านจึงได้รับการนับถือเป็นครูหมอแผนไทยในประเทศไทยจวบจนปัจจุบัน

ชาวกรีกมีความเชื่อเรื่องความสมบูรณ์ในร่างกายมนุษย์เป็นอย่างมาก ทำให้ชาวกรีกบูชาเทพเจ้าที่เกี่ยวข้องกับการรักษาอันพบได้ในบทกวีของโฮเมอร์ (Homer) สรรเสริญบทบาทเทพเจ้าแห่งการบำบัดสุขภาพ อาทิ เปออน (Paeon) อะพอลโล (Apollo) และแอสคลีปิอุส (Asclepios) โดยนิยมบูชาเทพเจ้าแอสคลีปิอุสมาก ในเรื่องการบำบัดรักษาโรค นิยมสร้างวิหารผู้ป่วยและมีรูปแกะสลักภายในวิหารคือเทพเจ้าแอสคลีปิอุส มีหนึ่งถือไม้เท้า อีกมือหนึ่งจับหางงูไว้ และมีสุนัขหมอบอยู่ใกล้ ๆ ร่วมกับเทพธิดาไฮเจีย บุตรสาวซึ่งจะถือถ้วยยาและงูไว้ ภาพสลักดังกล่าวถือเป็นสัญลักษณ์ของการบำบัดรักษาโรค

ในสมัยกรีกยังมีนักปราชญ์สำคัญ ๆ อีกมาก บุคคลที่สำคัญทางการรักษาและบำบัดโรคได้แก่ ฮิปโปเครตีส (Hippocrates) ซึ่งถือเป็นบิดาการแพทย์ยุโรป และเป็นต้นแบบของแพทย์ในการจัดระเบียบการรักษาผู้ป่วยในลักษณะวิทยาศาสตร์ โดยใช้ยาสมุนไพรร่วมในการบำบัดรักษา และเขียนตำราทางการแพทย์ร่วมกับแพทย์ชาวกรีกกว่าอีก 60 เรื่อง โดยฮิปโปเครตีสเชื่อว่าร่างกายประกอบไปด้วยธาตุ 4 อย่าง คือโลหิต เสมหะ น้ำดีสีเหลือง และน้ำดีสีดำ และการเจ็บป่วยเก็บจากของเหลวทั้งสี่ไม่สมดุล

ภายหลังกรีกเสื่อมอำนาจลง โรมันได้รับการถ่ายทอดศิลปะวิทยาการจากกรีก รวมทั้งองค์ความรู้ทางการแพทย์และเภสัชกรรมด้วย ทำให้การบำบัดรักษามีความคล้ายคลึงและอาศัยรากฐานจากกรีก มีนักปราชญ์คนสำคัญทางการแพทย์ได้แก่ ไดออสเครติส (Dioscorides) แต่งตำราทางการแพทย์เป็น 5 เล่ม ตำราของไดออสเครดิสถือเป็นตำราเภสัชวัตถุมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 17 เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร สรรพคุณและการจัดหมวดหมู่ และกาเลน แพทย์ชาวกรีก เกิดที่เมืองเปอกามอน (Pergamon) เขาได้เข้าทำงานกรุงโรมและประสบความสำเร็จเป็นแพทย์ประจำราชสำนัก ผลงานสำคัญคือการตั้งระบบพื้นฐาน (Fundamental System) ซึ่งถือเป็นเกณฑ์ในการแพทย์ตะวันตกอีกต่อมาถึง 1,500 ปี โดยกาเลนจะใช้ตัวยาและสรรพคุณจากตำราของไดออสเครติส เขาแบ่งตำรับยาตามคุณสมบัติทั้ง 4 ประการคือ ความอบอุ่น (warm) ความเย็น (Cold) ความชุ่มชื้น (moist) และความแห้ง (dry) ซึ่งเขามักเตรียมยาด้วยตนเองสเมอจนได้ชื่อว่าเป็น "บิดาแห่งเภสัชกรรม" นอกจากนี้เข้ายังศึกษากายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาโดยอาศัยโครงกระดูกและผ่าตัดสัตว์ จนภายหลังมีผู้ตีพิมพ์ผลงานความรู้ของเขากว่า 22 เล่ม ครอบคลุมศาสตร์ทางศัลยกรรม พยาธิสภาพศาสตร์ และเภสัชกรรม

การล่มสลายของจักรวรรดิโรมันตะวันตก ทำให้องค์ความรู้ที่ได้สั่งสมมาบางส่วนสูญหายไป หากแต่ในจักรวรรดิโรมันตะวันตกนั้นปกครองโดยอนารยชนเผ่าเยอรมัน ทำให้ความรู้ได้ส่งทอดไปยังชาวอาหรับ และได้กลับมาถ่ายทอดยังยุโรปตะวันตกอีกครั้งในปลายสมัยกลาง

ชาวอาหรับนิยมการแปลบทความของอารยธรรมกรีก-โรมันทำให้ความรู้ทางการแพทย์และเภสัชกรรมได้ส่งต่อแก่ชาวอาหรับ และเป็นสิ่งกระตุ้นให้ชาวอาหรับค้นคว้าความรู้ใหม่ ๆ เพิ่มเติม อาทิ อวิเซนนา นักปราชญ์ชาวเปอร์เซียซึ่งได้ทำการทดลองทางคลินิกและเภสัชวิทยาคลินิกในหนังสือ เดอะแคนอนออฟเมดิซีน (The Canon of Medicine) ซึ่งถือเป็นหนังสือที่ใช้ในการอ้างอิงด้านการศึกษาทางแพทย์จนกระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 17, Ibn Masawaih แพทย์ชาวอาหรับได้เขียนเรื่องราวเกี่ยวกับพืชสมุนไพรอะโรมาติก กล่าวถึงสมุนไพรสำคัญ 5 ชนิดได้แก่สารที่มีกลิ่นฉุน (musk), ไขลำไส้ปลาวาฬ (ambergis), ยาดำหรือว่านหางจระเข้ (aloe), การบูร (camphor) และหญ้าฝรั่น (saffron) ความนิยมในการเขียนและแปลบทความของชาวอาหรับทำให้เกิดองค์ความรู้จำนวนมาก Sami K. Hamarneh จึงได้นำมาจัดแบ่งเป็น 4 ประเภทคือ สูตรตำรับ, สมุนไพรและวัตถุทางการแพทย์, พิษวิทยา และการบำบัดด้วยความสัมพันธ์อาหารและยากับนิเวศวิทยาของมนุษย์ นอกจากนี้ในสมัยอาหรับยังได้มีการตั้งโรงพยาบาลขึ้นและเริ่มมีการเปิดร้านยาทั่วไปในนครแบกแดด แต่ผู้ปฏิบัติงานในร้านยาทั่วไปขาดการฝึกปฏิบัติจึงทำให้เกิดการฝึกปฏิบัติเภสัชกรรมของบุคคลในสังคมชั้นสูง และมีการตรวจมาตรฐานร้านยาโดยบุคคลที่รัฐแต่งตั้งอีกด้วย

ในยุโรปสมัยกลางช่วงแรกเป็นลักษณะการแพทย์และเภสัชกรรมโดยนักบวช ทั้งนี้นักบวชต้องมีความรู้ตามกฎที่คาสสิโอโดรัสบัญญัติไว้ โดยส่วนใหญ่เป็นความรู้ดั้งเดิมในสมัยโรมัน ทำให้ไม่เกิดการค้นคว้าหาความรู้ใหม่ ๆ จนกระทั่งในคริสต์ศตวรรษที่ 11 คอนสแตนตินแห่งแอฟริกาได้เข้ามายังยุโรปตะวันตก และมีการแปลบทความอาหรับเป็นภาษาละตินหลายบทความ

เมื่อโคลัมบัสค้นพบทวีปอเมริกาแล้วนั้น ประชาชนส่วนหนึ่งและผู้แสวงบุญชาวตะวันตก ได้ย้ายเข้ามาพำนักอาศัย ณ ทวีปอเมริกา และได้นำวิทยาการทางการแพทย์และเภสัชกรรมเข้ามาพร้อม ๆ กัน ในระยะเริ่มแรกสหรัฐอเมริกาเป็นเพียงอาณานิคมของประเทศในตะวันตกเท่านั้น ในปี ค.ศ. 1751 ได้มีการจัดตั้งโรงพยาบาลเพนซิลวาเนีย โรงพยาบาลแห่งแรกในสหรัฐอเมริกา โดยเบนจามิน แฟรงคลิน และ ดร.โทมัส บอนด์ ในส่วนงานเภสัชกรรมได้เริ่มดำเนินการในปี ค.ศ. 1752 โดยใช้สถานที่คินซีย์เฮาส์เป็นที่ทำการในระยะเริ่มแรก โดยมีเภสัชกรโรงพยาบาลคนแรกคือโจนาธาน โรเบิร์ตส แต่เภสัชกรผู้มีบทบาทในการพัฒนาเภสัชกรรมในสหรัฐอเมริกาคือจอห์น มอร์แกน ศิษย์ของโจนาธาน เขามีบทบาทในการพัฒนาเภสัชกรรมและเวชกรรมในสหรัฐอเมริกาให้เจริญก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น ภายหลังที่เขาจบการศึกษาทางเภสัชศาสตร์แล้วนั้น เขาได้ศึกษาในสาขาเวชกรรมในเวลาต่อมา ในส่วนกองทัพของสหรัฐอเมริกาก็ได้มีการเพิ่มเติมเภสัชกรเป็นหนึ่งในกำลังพลของกองทัพอีกด้วย โดย แอนดรูว์ เครก เป็นเภสัชกรคนแรกที่ได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการร้านยาแห่งแมตซาซูเซตเข้าร่วมในสงคราม ณ บังเกอร์ฮิลล์ ในวันที่ 30 เมษายน ค.ศ. 1775 เขาทำหน้าที่บริบาลและรักษาทหารที่ได้รับบาดเจ็บ ต่อมาเมื่อสภาคองเกรสเห็นชอบในการบรรจุบุคลากรทางสาธารณสุขในกองทัพในแผนกการแพทย์ด้วยนั้น แอนดรูว์เป็นเภสัชกรคนแรกที่ได้รับการบรรจุในกองทัพ โดยมีหน้าที่ในการปฐมพยาบาล เก็บรักษา ผลิต และกระจายยาในกองทัพ นอกจากนี้เขายังพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรมยาในสหรัฐอเมริกาอีกด้วย

ในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1600 เภสัชอุตสาหกรรมหรืออุตสาหกรรมการผลิตยาไม่ได้รวมกับเภสัชกรรม ต่อมาในช่วงกลางคริตส์ทศวรรษที่ 1700 ได้มีการพัฒนาการผลิตยาในฐานะเป็นธุรกิจเชิงอุตสาหกรรมมากยิ่งขึ้น เริ่มต้นในประเทศเยอรมนี สหราชอาณาจักร และประเทศฝรั่งเศสตามลำดับ ในสหรัฐอเมริกา การปรับปรุงเรื่องเภสัชอุตสาหกรรมเกิดขึ้นในสมัยสงครามกลางเมือง โดยนำเทคนิตวิทยาศาสตร์สาขาต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้ในการผลิตยาและเภสัชภัณฑ์ให้ได้จำนวนมากและระยะเวลาอันสั้น การศึกษาเภสัชศาสตร์ในสหรัฐอเมริกาประสบปัญหาในเรื่องของการฝึกปฏิบัติวิชาชีพเภสัชกรรมที่ด้อยคุณภาพ และการแยกเภสัชศาสตร์ออกจากคณะแพทยศาสตร์ ในมหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย จึงทำให้มีการจัดประชุมเภสัชกรในฟิลาเดเฟีย ณ หอคาร์เพนเตอร์ ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1821 และการประชุมครั้งที่ 2 ในวันที่ 13 มีนาคม ปีเดียวกัน เภสัชกรมีมติลงคะแนนให้ตั้งวิทยาลัยเภสัชศาสตร์แห่งฟิลาเดเฟีย (The Philadelphia College of Pharmacy) โดยมีการบริหารงานอิสระด้วยตนเอง โดยเภสัชกร 68 คนลงนามในการจัดตั้งสมาคมทางเภสัชกรรมอเมริกันขึ้น ซึ่งถือเป็นการจัดการศึกษาทางเภสัชศาสตร์ครั้งแรกในสหรัฐอเมริกา

เภสัชกรรมสมัยใหม่ในแต่ละประเทศมีการควบคุมการประกอบโรคศิลปะโดยรัฐบาล ซึ่งต้องเป็นไปตามมาตรฐานที่แต่ละประเทศกำหนดควบคู่ไปกับจริยธรรมหรือจรรยาบรรณในวิชาชีพ อาทิ คำปฏิญญาณเภสัชกรของอเมริกัน, คำสาบานของอิปโปเครติส และจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพเภสัชกรรมของไทย การควบคุมมาตรฐานดังกล่าวเป็นไปเพื่อป้องกันความขาดความรับผิดชอบ หรือความไม่รู้ของประชาชนจากสื่อโฆษณาที่โฆษณาเกินจริงภายหลังการจัดทำเภสัชตำรับมาตรฐานของอิตาลีในเมืองฟลอนเรนส์แล้วนั้น ประเทศอื่น ๆ ก็ได้ริเริ่มการจัดทำเภสัชตำรับเช่นกัน อาทิ ประเทศเยอรมัน ในปี ค.ศ. 1546, สหราชอาณาจักรในปี ค.ศ. 1618 และสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 1820 โดยโจเซฟ เรมิงตัน

ปัจจุบันเภสัชกรรมได้ขยายไปยังภูมิภาคต่าง ๆ ของโลกกว่า 50 ประเทศ บทบาทของวิชาชีพมีการเปลี่ยนแปลงไปจากอดีตกล่าวคือจากการจ่ายยาตามใบสั่งยาได้มีการวิวัฒน์ขึ้นสู่การบริบาลทางเภสัชกรรม เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับประสิทธิผลจากวิชาชีพเภสัชกรรมสูงสุด โดยเป็นการพัฒนาวิเคราะห์และแก้ปัญหาการใช้ยาอย่างเป็นระบบ ซึ่งการบริบาลทางเภสัชกรรมในร้านยาหรือหออภิบาลผู้ป่วยในโรงพยาบาลได้เกิดขึ้นในปัจจุบัน จึงจำเป็นต้องมีการปรับปรุงข้อกฎหมายวิชาชีพเภสัชกรรมในอนาคต ในประเทศสหรัฐอเมริกาได้มีการริเริ่มการคิดค่าธรรมเนียมวิชาชีพเภสัชกรรม การฝึกปฏิบัติทางเภสัชกรรมในปัจจุบันเป็นการเรียนการสอนในโรงเรียนเภสัชกรรมทั่วโลก ซึ่งรวมไปถึงการบริการทางคลินิกที่เภสัชกรจะสามารถช่วยเหลือผู้ป่วยได้ อาทิ การวิเคราะห์การใช้ยา เช่น ใช้หรือไม่ใช้ หรือใช้สมุนไพร เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันในสหรัฐอเมริกามีการแยกอำนาจการจ่ายยาให้แก่เภสัชกรอย่างเด็ดขาด ซึ่งผลจากการปฏิบัติดังกล่าวจะช่วยให้ผลการรักษามีประสิทธิภาพมากขึ้นและค่าใช้จ่ายในระบบสุขภาพจะลดลง การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้เริ่มต้นในบางประเทศ เช่น เภสัชกรในออสเตรเลียซึ่งได้รับค่าตอบแทนจากรัฐบาลในการจัดการด้านยาครอบคลุมการตรวจสอบยาประจำบ้าน ในแคนาดา เภสัชกรในบางรัฐมีสิทธิการจ่ายยาที่จำกัดหรือได้รับการจ่ายค่าทดแทนเพิ่มเติมจากรัฐบาลท้องถิ่นสำหรับการขยายบริการทางสาธารณสุข ในสหราชอาณาจักรที่เภสัชกรมีสิทธิในการจ่ายยาก็ได้รับค่าตอบแทนจากรัฐบาลเช่นกัน ส่วนในสหรัฐอเมริกาในด้านการบริการทางเภสัชกรรมหรือเภสัชกรรมคลินิกมีวิวัฒนาการครอบคลุมในการฝึกปฏิบัติทางเภสัชกรรม ยิ่งไปกว่านั้นผู้เชี่ยวชาญด้านเภสัชกรรม (Doctor of Pharmacy) เป็นสิ่งที่สำคัญก่อนการปฏิบัติและเภสัชกรบางส่วนในปัจจุบันได้รับการศึกษาเทียบเท่าเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านเภสัชกรรม นอกจากนี้เภสัชกรผู้ให้คำปรึกษา (consultant pharmacist) ซึ่งแต่เดิมจะดูแลในด้านปฐมภูมิก็ได้ขยายสู่การให้คำปรึกษาแก่ผู้ป่วยภายใต้คำว่า "senior care pharmacy"

ในประเทศไทยปัจจุบันได้มีการประกาศใช้หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ซึ่งทำให้เกิดความแออัดของประชากรขึ้นในโรงพยาบาล ส่งผลต่องานของเภสัชกรโรงพยาบาลรวมถึงบุคลากรทางสาธารณสุขอื่น ๆ เสียงถูกฟ้องร้องค่าเสียหายทางการรักษา ร้านยาจึงเป็นอีกหนึ่งทางออกในการบริบาลผู้ป่วยเบื้องต้น ออกพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 และพระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551 ส่งผลให้ผู้บริโภคสามารถฟ้องร้องจากการบริการหรือการได้รับผลิตภัณฑ์มาตรฐานได้ ร้านยาจึงควรเพิ่มการพิจารณาด้านการใช้ยาแก่ผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิผลมากกว่าการแข่งขันด้านการบริการ ในสถาบันทางเภสัชศาสตร์ของไทยก็ได้มีการขยายหลักสูตรการศึกษาของเภสัชศาสตร์ออกเป็นสองหลักสูตรโดยแยกสายงานบริบาลทางเภสัชกรรมออกจำเพาะเพื่อเพิ่มบทบาทด้านการบริบาลทางเภสัชกรรมของเภสัชกร และมีการผลักดันการใช้พระราชบัญญัติยาฉบับใหม่ที่ให้สิทธิขาดแก่เภสัชกรในการจ่ายยา


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เทียนดำ ยี่หร่า อบเชย มะม่วงหัวแมงวัน ขึ้นฉ่าย อบเชยจีน กระวานไทย กระวานเทศ เทียนตากบ การบูร มหาหิงคุ์ โป๊ยกั้ก เทียนสัตตบุษย์ ออลสไปซ์ โรสแมรี ออริกาโน มินต์ (พืช) ผักแขยง ลาเวนเดอร์ คาวทอง ผักชีลาว เทียนแดง ผักชี กุยช่าย เชอร์วิล ใบกระวาน กะเพรา จันทน์เทศ กานพลู หอมต้นเดี่ยว ขัณฑสกร (ยา) โคแฟกเตอร์ อะดีโนซีนไตรฟอสเฟต เพปไทด์ สเตอรอยด์ พันธะคู่ กรดไขมันอิ่มตัว ไตรกลีเซอไรด์ เอสเทอร์ โอลิโกแซ็กคาไรด์ เซลลูโลส ซูโครส ไดแซ็กคาไรด์ กาแล็กโทส อัลดีไฮด์ ยางธรรมชาติ มอโนแซ็กคาไรด์ พันธะเพปไทด์ พอลิเพปไทด์ พันธะโควาเลนต์ พอลิเมอไรเซชัน ไกลโคลิพิด ฟอสโฟลิพิด โมเลกุลเล็ก พอลิแซคคาไรด์ ไมโอโกลบิน คณะเภสัชศาสตร์ ประวัติเภสัชกรรม เภสัชพลศาสตร์ เภสัชจลนศาสตร์ นิติเภสัชกรรม บริหารเภสัชกิจ เภสัชกรรมคลินิก เทคโนโลยีเภสัชกรรม เภสัชวิเคราะห์ เภสัชพฤกษศาสตร์ เภสัชเวท เภสัชอุตสาหกรรม เภสัชภัณฑ์ เภสัชเคมี พอลิแซ็กคาไรด์ ซิลิโคน รายชื่อสาขาวิชา สูตรเคมี น้ำหนักโมเลกุล ผลึกศาสตร์ ฟังก์ชันนัลกรุป อินโดล อิมิดาโซล อะซูลีน เบนโซไพรีน ฟีแนนทรีน แอนทราซีน แนฟทาลีน โทลูอีน เบนซีน แอลไคน์ แอลคีน อนินทรีย์เคมี พันธะโคเวเลนต์ ซัลเฟอร์ ธาตุคาร์บอน สเปกโทรสโกปี ลิพิด คีโตน อีเทอร์ เอสเตอร์ กรดคาร์บอกซิลิก แอลดีไฮด์ แอลกอฮอล์

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
235
236
237
238
239
240
241
242
243
244
245
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 24519