ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

กาเลน

เกเลน (อังกฤษ: Galen; กรีก: Γαληνός, Galēnos; ละติน: Claudius Galenus; ค.ศ. 129 - ประมาณ ค.ศ. 200 หรือ 216) แห่งเพอร์กามอน เป็นแพทย์ชาวโรมันเชื้อสายกรีกซึ่งเขามีอิทธิพลต่อวิทยาศาสตร์การแพทย์ของตะวันตกมาเป็นเวลานานกว่าพันปี ชื่อหน้า "Claudius" ซึ่งไม่ได้ระบุเอาไว้ในเอกสารภาษากรีก ปรากฏอยู่ในเอกสารในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา

เกเลนเกิดที่เมืองเพอร์กามอน (Pergamum), มีเชีย (Mysia) (ปัจจุบันคือเมืองเบอร์กามา (Bergama) ประเทศตุรกี) เป็นบุตรของสถาปนิกที่มีฐานะชื่อ อียูลิอุส นิคอน (Aeulius Nicon) เขามีความสนใจในหลายๆ ด้าน เช่น เกษตรกรรม สถาปัตยกรรม ดาราศาสตร์ โหราศาสตร์ ปรัชญา ก่อนที่สุดท้ายจะสนใจในวิชาการแพทย์

เมื่อเขาอายุ 20 ปี เขาได้ทำงานเป็นผู้ช่วยรักษาโรคของเทพเจ้าแอสคลีปิอุส (Asclepius) ในโบสถ์ท้องถิ่นเป็นเวลา 4 ปี แม้ว่าเกเลนจะสนใจศึกษาร่างกายมนุษย์ แต่การชำแหละร่างกายมนุษย์ในสมัยนั้นถือว่าขัดกับกฎหมายของโรมัน เขาจึงศึกษาในหมู เอป และสัตว์อื่นๆ แทน ข้อจำกัดทางกฎหมายที่ไม่อนุญาตให้ศึกษาร่างกายมนุษย์ทำให้เขาเข้าใจอวัยวะต่างๆ ของมนุษย์ผิดไป ตัวอย่างเช่นเขาคิดว่า rete mirabile ซึ่งเป็นกลุ่มหลอดเลือดที่อยู่ใกล้ด้านหลังของสมองนั้นพบได้ทั่วไปในมนุษย์ แต่ความเป็นจริงแล้วโครงสร้างนี้พบได้เฉพาะในสัตว์บางชนิดเท่านั้น หลังจากที่บิดาของเขาเสียชีวิตในปี ค.ศ. 148 หรือ ค.ศ. 149 เข้าได้ออกจากเมืองเพอร์กามอนเพื่อไปศึกษาในเมืองสเมอร์นา (Smyrna), โครินธ์ และอเล็กซานเดรีย เป็นเวลา 12 ปี ในปี ค.ศ. 157 เกเลนได้กลับมาที่เมืองเพอร์กามอน และทำงานเป็นแพทย์ในโรงเรียนสอนกลาดิอาตอร์เป็นเวลา 3-4 ปี ในช่วงเวลานี้เองที่เขาได้รับประสบการณ์มากมายในการรักษาอาการบาดเจ็บโดยเฉพาะบาดแผล ซึ่งในเวลาต่อมาเขาเรียกว่าเป็น หน้าต่างที่เปิดเข้าสู่ร่างกาย (windows into the body)

เกเลนเป็นผู้ที่กล้าผ่าตัดในบริเวณที่ไม่มีใครกล้าทำ เช่น การผ่าตัดสมองหรือดวงตา ซึ่งแม้กระทั่งหลังจากยุคเกเลนเป็นเวลากว่าสองพันปีก็ไม่มีใครกล้าทำเช่นเขา ในการผ่าตัดต้อกระจก เกเลนได้ใส่เครื่องมือลักษณะคล้ายเข็มเข้าไปในหลังเลนส์ตา แล้วจึงดึงเครื่องมือไปทางด้านหลังเล็กน้อยเพื่อเอาต้อกระจกออก การดึงเครื่องมือไถลไปแม้เพียงเล็กน้อยก็อาจทำให้ตาบอดถาวรได้

เกเลนย้ายไปที่โรมในปี ค.ศ. 162 ซึ่งเป็นที่ที่เขาบรรยาย มีงานเขียน และสาธิตความรู้ทางด้านกายวิภาคศาสตร์อย่างมาก เกเลนเริ่มมีชื่อเสียงมากขึ้นในฐานะที่เป็นแพทย์ที่มีประสบการณ์ ทำให้มีนักเรียนมาเรียนกับเขามากมาย ซึ่งในจำนวนนั้นก็มีกงสุลนามว่า ฟลาวิอุส โบเอธิอุส (Flavius Boethius) ซึ่งได้แนะนำเขาให้เข้าสู่อิมพีเรียล คอร์ท (imperial court) เกเลนได้เป็นแพทย์ประจำพระองค์ของจักรพรรดิมาร์คุส ออเรลิอุส (Marcus Aurelius) แม้เกเลนจะเป็นสมาชิกของอิมพีเรียล คอร์ท แต่เกเลนกลับเลี่ยงที่จะใช้ภาษาละติน แต่พูดและเขียนภาษากรีกซึ่งเป็นภาษาแม่ของเขา เกเลนเป็นแพทย์ที่ถวายการรักษาจักรพรรดิของโรมันหลายพระองค์ เช่น ลูซิอุส เวรุส (Lucius Verus) , คอมโมดุส (Commodus) , และเซพติมิอุส เซเวรุส (Septimius Severus) ในปี ค.ศ. 166 เกเลนได้เดินทางกลับเมืองเพอร์กามอน และอยู่ที่นั่น แล้วเดินกลับมาที่โรมครั้งสุดท้ายในปี ค.ศ. 169

เกเลนใช้เวลาที่เหลือของชีวิตในอิมพีเรียล คอร์ท และทำงานเขียนและการทดลอง เขาได้ทดลองชำแหละสัตว์ที่มีชีวิตอยู่หลายชนิดเพื่อศึกษาหน้าที่ของไตและไขสันหลัง

มีรายงานว่าเกเลนใช้เสมียนจำนวน 12 คนในการจดบันทึกงานของเขา ในปี ค.ศ. 191 เกิดเพลิงไหม้ในวิหารแห่งความสงบ (Temple of Peace) เพลิงทำลายงานเขียนของเขาบางส่วน จากเอกสารอ้างอิงในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 10 กล่าวว่าเกเลนน่าจะเสียชีวิตในราว ค.ศ. 200 แต่มีนักวิจัยบางคนแย้งว่ามีหลักฐานงานเขียนของเกเลนที่เขียนในราวปี ค.ศ. 207 ดังนั้นเกเลนน่าจะมีชีวิตหลังจากนี้ ปีที่เกเลนน่าจะเสียชีวิตที่มีการเสนอขึ้นคือในราวปี ค.ศ. 216

มีการแปลงานของเกเลนจำนวน 129 ชิ้นเป็นภาษาอาหรับในราวปี ค.ศ. 830 - ค.ศ. 870 โดยฮุไนน์ อิบน์ อิชาก (Hunayn ibn Ishaq) และผู้ช่วย และมีการก่อตั้งแบบแผนของการแพทย์อิสลามขึ้นตามแนวคิดของเกเลนที่ยึดมั่นในการหาความรู้ทางการแพทย์อย่างเป็นระบบที่มีเหตุและผล ซึ่งแบบแผนนี้ได้แพร่กระจายไปทั่วจักรวรรดิอาหรับ ชาวอาหรับนับถือเกเลนเป็นอย่างสูง แต่ก็ไม่มีการผ่าตัดอย่างที่เกเลนเคยทำ ส่วนในโลกคริสเตียนตะวันตกมีการห้ามผ่าตัดเนื่องจากถือว่าเป็นบาปและเป็นพวกนอกศาสนา หนังสือของมุฮัมมัด อิบน์ ซะกะรียะ ราซิ (Muhammad ibn Zakarīya Rāzi, เสียชีวิต ค.ศ. 925) ที่ชื่อ "Doubts on Galen" (ข้อสงสัยเกี่ยวกับเกเลน) รวมทั้งงานเขียนของ อิบน์ อัล-นะฟิส (Ibn al-Nafis) แสดงให้เห็นว่างานของเกเลนนั้นไม่ใช่งานที่ปราศจากข้อสงสัย แต่เป็นพื้นฐานที่น่าท้าทายสำหรับการศึกษาเพิ่มเติมในอนาคต ทำให้มีการศึกษาจากการทดลองและประสบการณ์เกิดเป็นความรู้และข้อสังเกตใหม่ๆ ซึ่งมีทั้งที่ต่างไปจากของเกเลนและเพิ่มเติมเนื้อหาของเกเลนให้สมบูรณ์โดยแพทย์ชาวอาหรับ เช่น ราซี (Razi) , อาลี อิบน์ อับบัส อัล-มะจุซิ (Ali ibn Abbas al-Majusi, Haly Abbas) , อาบู อัล-กาซิม อัล-เซาะห์ระวิ (Abu al-Qasim al-Zahrawi, Abulasis) , แอวิเซนนา (Avicenna) , อิบน์ ซุห์ร (Ibn Zuhr, Avenzoar) และ อิบน์ อัล-นะฟิส (Ibn al-Nafis)

คอนสแตนตินชาวแอฟริกา (Constantine the African) เป็นผู้หนึ่งที่ช่วยนำการแพทย์สมัยกรีกกลับไปยังยุโรป ผลงานการแปลงานของฮิปโปกราเตสและเกเลนของเขา ทำให้ชาวตะวันตกเห็นมุมมองการแพทย์ของกรีกทั้งหมดเป็นครั้งแรก

ต่อมาในยุโรปยุคกลาง งานเขียนของเกเลนเกี่ยวกับกายวิภาคศาสตร์กลายมาเป็นตำราหลักของหลักสูตรการเรียนแพทย์ในมหาวิทยาลัย แต่ก็มีอุปสรรคเนื่องจากการหยุดชะงักและความซบเซาของการศึกษา ในทศวรรษที่ 1530 นักกายวิภาคและแพทย์ชาวเบลเยียมชื่อว่า แอนเดรียส เวซาเลียส (Andreas Vesalius) ได้แปลตำราของเกเลนจากภาษากรีกเป็นภาษาละติน งานของเวซาเลียสอันมีชื่อเสียงชื่อว่า De humani corporis fabrica ได้รับอิทธิพลอย่างมากจากงานเขียนของเกเลน เนื่องจากเวซาเลียสต้องการจะรื้อฟื้นวิธีการและทัศนคติการศึกษาของเกเลน เขาจึงทำการชำแหละร่างกายมนุษย์ถือเป็นการปฏิวัติปรัชญาธรรมชาติของเกเลน เวซาเลียสถือเป็นผู้รือฟื้นงานเขียนของเกเลนและทำให้เกเลนเป็นที่รู้จักมากขึ้นผ่านทางหนังสือและงานสอน ตั้งแต่มีการแปลตำราส่วนใหญ่ของเกเลนเป็นภาษาอาหรับทำให้ชาวตะวันออกกลางรู้จักและเรียกเขาว่า "Jalinos" (จาลินอส) เกเลนเป็นผู้ที่สามารถจำแนกหลอดเลือดดำ (สีแดงเข้ม) ออกจากหลอดเลือดแดง (สีจางกว่าและเล็กกว่า) ซึ่งทำหน้าที่แตกต่างกัน โดยเชื่อว่าเลือดดำมีต้นกำเนิดมาจากตับ และเลือดแดงมีต้นกำเนิดจากหัวใจ เลือดจะไหลจากอวัยวะเหล่านี้ไปให้ส่วนต่างๆ ของร่างกายได้นำไปใช้

การรักษาโรคเกือบทุกโรคของเกเลนโดยผ่าเอาเลือดออก (bloodletting) มีอิทธิพลอย่างมากและมีการปฏิบัติจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 19


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

ATC รหัส D ไบล์แอซิดซีเควสแตรนต์ สแตติน ยาลดไขมันในเส้นเลือด แองกิโอเทนซินรีเซพเตอร์บล๊อคเกอร์ เอซีอีอินฮิบิเตอร์ แคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์ เบต้า บล็อกเกอร์ ยาขับปัสสาวะ ยาลดความดัน ATC รหัส C ATC รหัส B เกลือแร่ ยาระบาย เอช2 รีเซพเตอร์แอนตาโกนิสต์ ยาลดกรด ATC รหัส A ทางเดินอาหาร ระบบจำแนกประเภทยาตามการรักษาทางกายวิภาคศาสตร์ การบำบัด ชีวเภสัชศาสตร์ เภสัชวินิจฉัย ร้านยา กากบาทเขียว คทางูไขว้ ถ้วยยาไฮเกีย ถ้วยตวงยา เรซิพี โกร่งบดยา เฉลว คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ค.ศ. 1617 ค.ศ. 1240 สมเด็จพระจักรพรรดิฟรีดริชที่ 2 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ กาเลน ฮิปโปเครตีส ไฮเจีย Folate วิตามินบี 12 Blood film Erythrocyte sedimentation rate Complete blood count Complete blood count นักเทคนิคการแพทย์ นักเทคนิคการแพทย์ โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว โรคโลหิตจาง โรคธาลัสซีเมีย เท้า ขา นิ้วนาง นิ้วกลาง นิ้วชี้ นิ้วหัวแม่มือ นิ้วมือ มือ ปลายแขน ข้อศอก ไหล่ แขน อวัยวะเพศ ทรวงอก สะดือ ลำตัว ลูกกระเดือก คอ แก้ม ใบหน้า ศีรษะ ชีวกลศาสตร์ ประวัติวิชากายวิภาคศาสตร์ กายวิภาคเปรียบเทียบ ศัลยแพทย์ พยาบาล นักกายภาพบำบัด กายสัณฐานวิทยา จุลพยาธิวิทยา กายวิภาคศาสตร์เปรียบเทียบ กายวิภาคศาสตร์พืช Anatomy แพทยศาสตรบัณฑิต การแพทย์แผนไทย เวชพันธุศาสตร์ ห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ เวชศาสตร์การกีฬา ศัลยศาสตร์ออร์โทพีดิกส์ เวชศาสตร์ฉุกเฉิน พยาธิวิทยาคลินิก นรีเวชศาสตร์ ศัลยศาสตร์ตกแต่งและเสริมสร้าง ประสาทศัลยศาสตร์ วิทยามะเร็ง วิทยาทางเดินอาหาร โรคภูมิแพ้ หทัยวิทยา การแพทย์เฉพาะทาง รายชื่อคณะแพทยศาสตร์ในประเทศไทย คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานคร

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
235
236
237
238
239
240
241
242
243
244
245
246
247
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 24653