ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

IMAX

อิมเมจ แมกซิมัม เรียกโดยย่อว่า ไอแมกซ์ (อังกฤษ: IMAX ย่อมาจาก Image MAXimum) เป็นชื่อของรูปแบบฟิล์มภาพยนตร์ อุปกรณ์การฉาย ตลอดจนโรงภาพยนตร์ ที่ใช้มาตรฐานของบริษัท IMAX Corporation ประเทศแคนาดา โดยภาพยนตร์ที่ฉายด้วยระบบไอแมกซ์จะมีภาพที่มีขนาดใหญ่ และมีความละเอียดสูงกว่าภาพยนตร์ทั่วไป จอภาพยนตร์ไอแมกซ์จะมีขนาดกว้างประมาณ 22 เมตร (72 ฟุต) สูง 16.1 เมตร (63 ฟุต)

ภาพยนตร์ที่ใช้ระบบไอแมกซ์ จะถ่ายทำด้วยฟิล์มขนาดใหญ่กว่าปกติ (70 มม.) ที่ความเร็ว 24 เฟรมต่อวินาที เนื้อฟิล์มที่ใช้จะมีความแข็งแรงมากกว่าฟิล์มภาพยนตร์ 35 มม. ทั่วไป เพื่อให้สามารถแสดงผลได้อย่างเที่ยงตรง

ภาพยนตร์ที่ฉายในโรงภาพยนตร์ไอแมกซ์ ส่วนมากเป็นภาพยนตร์สารคดี แต่ในระยะหลังมีการนำภาพยนตร์ 35 มม. มารีมาสเตอร์เพื่อฉายในโรงภาพยนตร์ไอแมกซ์ เรียกว่า IMAX DMR (Digital Remastering) โดยภาพยนตร์เรื่องแรกที่นำมารีมาสเตอร์เพื่อฉายในโรงภาพยนตร์ไอแมกซ์คือเรื่อง อะพอลโล 13 ในปี พ.ศ. 2545 นอกจากนี้ ในภาพยนตร์ระดับบล็อกบัสเตอร์บางเรื่อง เช่น แบทแมน อัศวินรัตติกาล อภิมหาสงครามแค้น และล่าสุด อวตารยังมีการถ่ายทำฉากพิเศษที่ใช้กล้องไอแมกซ์โดยเฉพาะอีกด้วย

เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2558 มีโรงภาพยนตร์จำนวน 1,008 โรงทั่วโลกใน 66 ประเทศ ที่ฉายในระบบไอแมกซ์ (65% อยู่ในอเมริกาเหนือ และประเทศจีน)

ปัจจุบันสิทธิ์การบริหารงานโรงภาพยนตร์ระบบไอแมกซ์ในประเทศไทยเป็นของ เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ๊ป เดิมตั้งอยู่ที่โรงภาพยนตร์เมเจอร์ซีนีเพล็กซ์ สาขารัชโยธิน โดยใช้ชื่อว่า กรุงไทย ไอแมกซ์ เธียเตอร์ (ทุนร่วมกับธนาคารกรุงไทย) และ พานาโซนิค ไอแมกซ์ เธียเตอร์ (ทุนร่วมกับ บริษัท พาซาโนนิค (ประเทศไทย) จำกัด) ตามลำดับ แต่ปัจจุบันเครื่องฉายดังกล่าวได้ถูกย้ายมาอยู่ที่โครงการพารากอนซีเนโพลิส หรือพารากอนซีนีเพล็กซ์ในปัจจุบัน โดยพารากอนซีนีเพล็กซ์ มีโรงฉายภาพยนตร์ระบบไอแมกซ์ 1 โรงภาพยนตร์ โดยใช้ชื่อว่า กรุงศรี ไอแมกซ์ เธียเตอร์ (ทุนร่วมกับธนาคารกรุงศรีอยุธยา) โดยมีความสูงของจอที่สูงเท่ากับตึก 8 ชั้น และระบบเสียง IMAX ขนาด 12,000 วัตต์ ฉายภาพยนตร์ระบบไอแม็กซ์ทั้งแบบฟิล์ม 35 มม. ไอแม็กซ์ DMR และ ระบบ 3 มิติ ในช่วงแรกที่เปิดทำการ

ต่อมาเมื่อไอแมกซ์พัฒนาระบบ ไอแมกซ์ ดิจิตอล 3 มิติ เสร็จแล้ว เมเจอร์ซีนีเพล็กซ์ได้เข้าเซ็นสัญญากับไอแมกซ์ คอร์ปเรชัน ในการที่จะเปิดโรงภาพยนตร์ไอแมกซ์แห่งใหม่ถึง 5 โรงภาพยนตร์ในปีเดียว ซึ่งจะใช้เงินในการลงทุนสูงถึง 500 ล้านบาท โดยในขั้นต้นมีการระบุว่าโรงไอแมกซ์แห่งใหม่ในขณะนั้น จะตั้งอยู่ที่ เมเจอร์ซีนีเพล็กซ์ รัชโยธิน และ เอสพลานาด งามวงศ์วาน-แคราย ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง แต่สุดท้ายเมเจอร์ซีนีเพล็กซ์ได้เลือกที่จะปรับปรุงโรงภาพยนตร์ไอแมกซ์เดิมที่สาขารัชโยธิน (ซึ่งในขณะนั้น ใช้ฉายภาพยนตร์ระบบดิจิตอล 2 มิติแบบธรรมดาอยู่) และได้เปลี่ยนโรงภาพยนตร์ที่เมเจอร์ซีนีเพล็กซ์ สาขาปิ่นเกล้า ให้มาฉายภาพยนตร์ระบบไอแมกซ์ ดิจิตอลแทน โดยใช้ชื่อว่ากรุงศรี ไอแมกซ์ ดิจิตอล เธียเตอร์ และต่อมาจึงมีการติดตั้งเครื่องฉายระบบไอแมกซ์ดิจิตอลที่ไอแมกซ์พารากอนซีนีเพล็กซ์เพื่อให้สามารถรองรับระบบไอแมกซ์ดิจิตอลได้เช่นกันโดยติดตั้งเสร็จสิ้นเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2555 รวมทั้งยังมีการเปลี่ยนจอภาพยนตร์และลำโพงรวมถึงระบบเสียงใหม่ที่มีความกระหึ่มเพิ่มขึ้นเป็น 32,000 วัตต์

ในปี พ.ศ. 2556 เมเจอร์ซีนีเพล็กซ์ได้เปิดตัวโรงภาพยนตร์ไอแมกซ์เพิ่มเติมในศูนย์การค้าเซ็นทรัลเฟสติวัลสองแห่ง คือ เซ็นทรัลเฟสติวัล เชียงใหม่ ซึ่งถือเป็นโรงภาพยนตร์ไอแมกซ์สาขาแรกนอกเขตกรุงเทพมหานคร และ เซ็นทรัลเฟสติวัล หาดใหญ่ โดยเปิดร่วมกับโรงภาพยนตร์หาดใหญ่ซีนีเพล็กซ์ ซึ่งจุดต่างของทั้งสองสาขาดังกล่าวคือไม่ได้ใช้ทุนร่วมกับธนาคารกรุงศรีอยุธยา ทำให้โรงภาพยนตร์สาขาใหม่ทั้งสองแห่งใช้ชื่อแค่ว่า "ไอแมกซ์ เธียเตอร์" ในช่วงแรกของการเปิดให้บริการ แต่ปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อโรงภาพยนตร์เป็น กรุงศรี ไอแมกซ์ ดิจิตอล เธียเตอร์ เนื่องจากมีการปรับทุนมาใช้ร่วมกับธนาคารกรุงศรีอยุธยาตามสาขาในกรุงเทพมหานคร ซึ่งการใช้ทุนร่วมกันแบบนี้เมเจอร์ซีนีเพล็กซ์เคยให้สัมภาษณ์ว่าจะทำให้แผนขยายสาขาใหม่ๆ ทำได้ไวขึ้น และทำให้การคืนทุนในแต่ละสาขาทำได้ดีมากขึ้น ประกอบกับปัจจุบันมีภาพยนตร์ฟอร์มยักษ์เข้าฉายที่โรงไอแมกซ์ตลอด ทำให้โรงไอแมกซ์สามารถคืนทุนได้ไวกว่าปกติที่ควรจะเป็น

ใน พ.ศ. 2558 เมเจอร์ซีนีเพล็กซ?์ยังคงเดินหน้าเปิดโรงภาพยนตร์ไอแมกซ์เพิ่มเติมสองแห่ง คือ โรงภาพยนตร์ควอเทียร์ ซีเนอาร์ต ศูนย์การค้าเอ็มควอเทียร์ และ โรงภาพยนตร์เวสต์เกต ซีนีเพล็กซ์ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา เวสต์เกต ซึ่งทั้งสองที่มีความแตกต่างกับโรงภาพยนตร์สาขาก่อนหน้าอยู่หลายประการ ไม่ว่าจะเป็นการแตกแบรนด์เพิ่มเติมของเมเจอร์ซีนีเพล็กซ์โดยชูโรงภาพยนตร์ไอแมกซ์เป็นจุดหลัก ปรับจอฉายภาพยนตร์เป็นรูปแบบใหม่ที่สว่างกว่าสาขาอื่นถึง 10 เท่า ออกแบบโครงสร้างเพื่อรองรับการอัปเกรดเครื่องฉายเป็นเครื่องเลเซอร์ และที่พิเศษกว่าคือที่สาขาเอ็มควอเทียร์ ได้เปลี่ยนไปใช้เก้าอี้รูปแบบใหม่ซึ่งเป็นเก้าอี้แบบเดียวกับที่ใช้ในห้องประชุมใหญ่ของทำเนียบขาว และออกแบบช่องว่างภายในโรงภาพยนตร์ รวมถึงตกแต่งโรงภาพยนตร์ด้วยแนวคิดใหม่ทั้งหมด และเปลี่ยนผู้สนับสนุนโรงภาพยนตร์หลักจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เป็น บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ผลิตรถยนต์ยี่ห้อ โตโยต้า ในประเทศไทยแทน และเรียกชื่อโรงภาพยนตร์ทั้งสองแห่งนี้ว่า "โตโยต้า ไอแมกซ์ เธียเตอร์"? ซึ่งจุดประสงค์ของโตโยต้า คือต้องการเจาะตลาดกลุ่มผู้ชมชาวญี่ปุ่น ซึ่งเป็นกลุ่มลูกค้าหลักของศูนย์การค้าเอ็มควอเทียร์ด้วย และในปีนี้ ยังเป็นปีที่เมเจอร์ซีนีเพล็กซ์ได้ปิดโรงภาพยนตร์ไอแมกซ์หนึ่งแห่ง คือสาขาปิ่นเกล้า โดยมีเหตุผลหลักคือเรื่องต้นทุนที่ไม่สามารถคืนทุนได้ตลอดระยะเวลาการเปิดให้บริการ ซึ่งปัจจุบันเครื่องฉายและลำโพง ได้ถูกย้ายมาติดตั้งที่สาขาเอ็มควอเทียร์แทน

ปัจจุบันเมเจอร์ซีนีเพล็กซ์ยังมีแผนขยายสาขาไอแมกซ์อย่างต่อเนื่อง โดยมีแผนการเปิดโรงภาพยนตร์ไอแมกซ์ในโรงภาพยนตร์ อีจีวี ซีเนม่า สาขาเดอะมอลล์ นครราชสีมา ที่อยู่ในระหว่างการปรับปรุงและก่อสร้างส่วนต่อขยาย ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จภายใน พ.ศ. 2559 และในโรงภาพยนตร์ภายในเครือฯ ที่แบงค็อก มอลล์ และที่ไอคอนสยาม ภายในปี พ.ศ. 2561 ตามลำดับ


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

แรง (ฟิสิกส์) ความยาว การเคลื่อนที่ ทฤษฎีเคออส กลศาสตร์แบบลากรางช์ เอนริโก แฟร์มี สมมาตรยิ่งยวด CERN Large Hadron Collider ไอน์สไตน์ ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป กาลิเลโอ ฟิสิกส์อนุภาค วิศวกรรมวัสดุ เซมิคอนดักเตอร์ นาโนเมตร วัสดุนาโน วัสดุฉลาด วัสดุเชิงก้าวหน้า วัสดุชีวภาพ พอลิเมอร์ เซรามิก สเปกโตรสโกปี อุณหเคมี ไฟฟ้าเคมี เคมีเชิงฟิสิกส์ โลหะอินทรีย์เคมี เคมีพอลิเมอร์ เคมีนิวเคลียร์ ชีววิทยาโมเลกุล เคมีเวชภัณฑ์ เคมีดาราศาสตร์ เคมีไคเนติกส์ สารประกอบอนินทรีย์ สารประกอบเคมี สารประกอบ John Dalton ทฤษฎีโฟลจิสตัน อ็องตวน ลาวัวซีเย Robert Boyle ปฏิกิริยาเคมี รายชื่อคณะวิทยาศาสตร์ในประเทศไทย เคมีสิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม Social psychology วิทยาศาสตร์สังคม เทคนิคการแพทย์ เวชศาสตร์ พยาธิวิทยา เนื้องอกวิทยา ทัศนมาตรศาสตร์ Pharmacy บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ วิทยาศาสตร์พุทธิปัญญา สารสนเทศศาสตร์ วิทยาการสารสนเทศ สัตววิทยา วิทยาไวรัส ประสาทวิทยาศาสตร์ อณูชีววิทยา จุลชีววิทยา วิทยาภูมิคุ้มกัน มีนวิทยา มิญชวิทยา กีฏวิทยา Developmental biology วิทยาเซลล์ ชีววิทยาของเซลล์ วิทยาแผ่นดินไหว ชลธารวิทยา สมุทรศาสตร์ เคมีความร้อน เคมีไฟฟ้า เคมีการคำนวณ เคมีวิเคราะห์ Particle physics พลศาสตร์ของไหล พลศาสตร์ สวนศาสตร์ ฟิสิกส์เชิงทฤษฎี โป๊ป ความเรียง เรอเน เดส์การตส์ การสังเกต การทดลอง ฟรานซิส เบคอน กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ความรู้เชิงประจักษ์ คณิตตรรกศาสตร์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย ไม้บรรทัด กระดูกนาเปียร์ ลูกคิด การแข่งขันคณิตศาสตร์ รางวัลอาเบล เหรียญฟิลด์ส ปัญหาของฮิลแบร์ท กลุ่มความซับซ้อน พี และ เอ็นพี ข้อความคาดการณ์ของปวงกาเร สมมติฐานความต่อเนื่อง

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
235
236
237
238
239
240
241
242
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 24187