ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

Thalys

ตาลิส (ฝรั่งเศส: Thalys) เป็นขบวนรถไฟความเร็วสูงระหว่างประเทศ วิ่งระหว่างกรุงปารีสกับกรุงบรัสเซลส์ ใช้ระบบรางร่วมกับรถไฟยูโรสตาร์และรถไฟเตเฌเว (TGV) รถไฟตาลิสให้บริการถึงอัมสเตอร์ดัมและโคโลญด้วย รถไฟตาลิสบริหารงานโดยตาลิสแอ็งแตร์นาซียอนาล (Thalys International) ซึ่งเป็นการร่วมทุนกันของบริษัทระหว่างประเทศ 4 ประเทศคือ ฝรั่งเศส เบลเยียม เนเธอร์แลนด์ และเยอรมนี

การตัดสินใจก่อสร้างระบบรถไฟความเร็วสูงระหว่างปารีส บรัสเซลส์ โคโลญ และอัมสเตอร์ดัม เกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1993 เมื่อบริษัททางรถไฟแห่งชาติฝรั่งเศส (SNCF), การรถไฟแห่งชาติเบลเยียม (NMBS/SNCB), การรถไฟเนเธอร์แลนด์ (Nederlandse Spoorwegen) และบริษัทรถไฟแห่งชาติเยอรมนี (Deutsche Bahn) ได้ทำข้อตกลงที่จะให้บริการรถไฟความเร็วสูงร่วมกันในชื่อ ตาลิส ปี ค.ศ. 1995 ได้มีการจัดตั้งบริษัท Westrail International โดยบริษัททางรถไฟแห่งชาติฝรั่งเศสร่วมกันกับการรถไฟแห่งชาติเบลเยียมให้เป็นผู้ดูแลและให้บริการรถไฟตาลิส และเริ่มให้บริการครั้งแรกเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2539 ขบวนรถขบวนแรกวิ่งออกจากปารีสโดยใช้รางสายความเร็วสูงตอนเหนือ (LGV Nord) ของฝรั่งเศสไปถึงกรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม ใช้เวลาเดินทาง 2 ชั่วโมง 7 นาที และถึงสถานีอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ ใช้เวลา 4 ชั่วโมง 47 นาที

ปี ค.ศ. 1997 เส้นทางรถไฟความเร็วสูง สาย 1 (Hight-Speed line 1) ของเบลเยียม ซึ่งเป็นระบบรางที่เชื่อมต่อระหว่างบรัสเซลส์กับเส้นทางรถไฟความเร็วสูงตอนเหนือของฝรั่งเศสได้เปิดให้บริการด้วยระบบของรางเส้นทางรถไฟความเร็วสูง สาย 1 ที่อนุญาตให้รถไฟวิ่งได้ 300 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ทำให้ย่นระยะเวลาการเดินทางจากปารีสถึงบรัสเซลส์เหลือ 1 ชั่วโมง 25 นาที ในช่วงเวลาใกล้เคียงกันนั่นก็ได้เปิดให้บริการไปยังโคโลญ ในเยอรมนี, บรูช, ชาร์เลอรัว, เกนต์, มงส์, นามูร์ และออสเทนด์ในเบลเยียม

ปี ค.ศ. 1999 ได้เปิดให้บริการจากท่าอากาศยานนานาชาติปารีส-ชาร์ล เดอ โกล ตรงไปยังบรัสเซลส์ รวมถึงได้มีการทำ Code sharing กับสายการบินแอร์ฟรานซ์, อเมริกัน แอร์ไลน์ และสายการบินนอร์ทเวสต์แอร์ไลน์ และในปีเดียวกันนั้นได้เปลี่ยนชื่อเป็น ตาลิสแอ็งแตร์นาซียอนาล

ปี ค.ศ. 2002 ได้ขยายการให้บริการไปถึงเมืองมาร์แซย์และอาวีญงในประเทศฝรั่งเศส ในเดือนธันวาคมปีเดียวกันนั้น เส้นทางรถไฟความเร็วสูง สาย 2 ของเบลเยียมได้ก่อสร้างแล้วเสร็จ ทำให้ขบวนรถระหว่างบรัสเซลส์กับโคโลญได้เปลี่ยนไปใช้เส้นทางนี้แทน

ปี ค.ศ 2007 การก่อสร้างเส้นทางรถไฟความเร็วสูง สาย 3 ช่วงระหว่างเมืองลีแยฌในเบลเยียมกับเมืองอาเคินในเยอรมนีแล้วเสร็จ แต่ขบวนรถตาลิสยังไม่รองรับกับระบบให้สัญญาณ ETCS (European Train Control System)

ปี ค.ศ. 2009 หลังจากปรับปรุงระบบรับสัญญานและทดสอบระบบให้เข้ากับ ETCS แล้ว ขบวนรถไฟตาลิสก็วิ่งอย่างสมบูรณ์แบบบนรางรถไฟความเร็วสูง สาย 3 ทำให้ขบวนรถระหว่างบรัสเซลส์กับโคโลญย่นระยะเวลาเดินทางอีก 19 นาที และในปีเดียวกันนี้รถไฟตาลิส ก็ได้เริ่มให้บริการบนรางรถไฟความเร็วสูง สาย 4 หรือรถไฟความเร็วสูง สายใต้ ซึ่งเป็นรางระหว่างเมืองแอนต์เวิร์ปกับอัมสเตอร์ดัม ตั้งแต่วันที่ 29 สิงหาคม ค.ศ. 2011 เป็นต้นมาขบวนรถเดิมที่วิ่งระหว่างบรัสเซลส์กับโคโลญ ได้วิ่งไปถึงเมืองดุยส์บูร์กและเอสเซินในเยอรมนีและวิ่งถึงท่าอากาศยานนานาชาติบรัสเซลส์ในเบลเยียม ปี ค.ศ. 2013 เริ่มให้บริการที่สถานีท่าอากาศยานดึสเซลดอร์ฟ

นอกจากบรัสเซลส์แล้ว เมืองใหญ่ที่ตาลิสให้บริการคือ แอนต์เวิร์ป รอตเทอร์ดัม อัมสเตอร์ดัม ลีแยฌ บรูช เกนต์ ชาเลอรัว อาเคิน และโคโลญ รถไฟตาลิสวิ่งบนระบบรางสำหรับรถไฟความเร็วสูงโดยเฉพาะด้วยความเร็ว 300 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แต่ก็มีบางช่วงที่วิ่งบนกับรางรถไฟเดิมร่วมกับรถไฟธรรมดาด้วยความเร็ว 160-200 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เส้นทางรถไฟหลักที่ตาลิสใช้คือ

ได้มีแผนการให้บริการจากโคโลญถึงแฟรงก์เฟิร์ต แต่ก็ล้มเลิกไปเนื่องจากรถไฟตาลิสไม่มีประสิทธิภาพพอสำหรับระบบไฟฟ้า 15 กิโลโวลต์ (kV) ของเยอรมนี ดังนั้นจึงทำให้รถไฟตาลิสไม่สามารถวิ่งบนเส้นทางนี้

สำหรับการเดินทางจากปารีสถึงบรัสเซลส์ ระยะทางประมาณ 300 กม. ใช้เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง 22 นาที ด้วยความเร็วสูงสุด 300 กิโลเมตรต่อชั่วโมง บนรางสำหรับรถไฟความเร็วสูงโดยเฉพาะ

การเชื่อมต่อกับระบบรางของฝรั่งเศสไปยังท่าอากาศยานนานาชาติปารีส-ชาร์ล เดอ โกล ทำให้สายการบินแอร์ฟรานซ์ เปลี่ยนการให้บริการการบินระหว่างปารีสกับบรัสเซลส์ มาร่วมให้บริการกับรถไฟตาลิสแทน รถไฟตาลิสได้รับรหัสสายการบิน (IATA) คือ 2H นอกจากนี้ยังให้บริการร่วมกับสายการบินอเมริกัน แอร์ไลน์ และเดลต้า แอร์ไลน์ สายการบินอเมริกัน แอร์ไลน์ได้ร่วมทำสัญญา Code sharing กับรถไฟตาลิสในการให้บริการทางรางจากท่าอากาศยานนานาชาติปารีส-ชาร์ล เดอ โกล สู่สถานีบรัสเซลส์เซาท์ (Brussels-South) กลุ่มพันธมิตรสายการบินสกายทีม ยังได้ร่วมทำสัญญา Code sharing กับรถไฟตาลิสในการบริการทางรางจากศูนย์กลางการบิน (Hub) คือท่าอากาศยานอัมสเตอร์ดัมสคิพฮ็อล ไปสถานีแอนต์เวิร์ปเซ็นทรัล และสถานีบรัสเซลส์ และล่าสุดคือสายการบินเจ็ตแอร์เวย์ของอินเดียได้ทำ Code sharing กับรถไฟตาลิสในการให้บริการระหว่างปารีสกับรัสเซลส์

รถไฟตาลิสให้บริการสำหรับผู้ที่ใช้วีลแชร์ โดยจะมีเจ้าหน้าที่ของรถไฟตาลิสคอยช่วยเหลือ รถไฟตาลิสไม่อนุญาตให้นำจักรยานขึ้นบนรถไฟ ยกเว้นจะถอดแยกชิ้นส่วนหรือห่อให้เรียบร้อยก่อน จักรยานที่ทำการห่อเรียบร้อยแล้วสามารถนำขึ้นรถได้

รถไฟตาลิสใช้รถไฟ 2 แบบ ทั้งสองแบบเป็นชนิดเดียวกับรถไฟเตเฌเว ผลิตโดยบริษัทอาลสตอม (Alstom) ในฝรั่งเศส

วันที่ 9 พฤษภาคม ค.ศ. 1998 ได้มีรถบรรทุกขวางทางขบวนรถไฟตาลิส PBKA บนทางข้ามที่ไม่มีที่กั้น รถบรรทุกพยายามที่จะข้ามรางรถไฟตอนที่รถไฟมาถึง คนขับรถบรรทุกเสียชีวิตจากการชน อุปกรณ์แปลงไฟของรถ 1 ใน 2 อันได้รับความเสียหาย ขบวนรถไฟได้รับความเสียหายอย่างหนัก ผู้โดยสาร 6 คนได้รับบาดเจ็บ รางและระบบส่งไฟได้รับความเสียหาย รถพ่วง R1 และ R2 เสียหายและไม่สามารถซ่อมได้จึงต้องทิ้งไป ส่วนที่เหลือได้รับการซ่อมแซม และนำขบวนรถพ่วง R1 และ R2 จากรถไฟ TGV มาพ่วงต่อ

วันที่ 8 ตุลาคม ค.ศ. 2008 ขบวนรถไฟตาลิส PBA ที่มุ่งหน้าไปอัมสเตอร์ดัม ได้ชนกับขบวนรถท้องถิ่น ICM ที่สถานีเกาดา (Gouda Railway station) ในเนเธอร์แลนด์ เนื่องจากรถไฟตาลิสได้ถูกสับรางที่สถานีเกาด้าเพราะการซ่อมรางหลัก ไม่มีผู้โดยสารได้รับบาดเจ็บรุนแรง แต่ขบวนรถไฟทั้งสองขบวนเสียหายอย่างหนัก ภายหลังการสืบสวนสรุปว่า เจ้าหน้าที่ของขบวนรถท้องถิ่น ICM ผิดเพราะวิ่งออกจากชานชาลาในขณะที่ยังไม่ได้สัญญาณไฟเขียว


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

แรง (ฟิสิกส์) ความยาว การเคลื่อนที่ ทฤษฎีเคออส กลศาสตร์แบบลากรางช์ เอนริโก แฟร์มี สมมาตรยิ่งยวด CERN Large Hadron Collider ไอน์สไตน์ ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป กาลิเลโอ ฟิสิกส์อนุภาค วิศวกรรมวัสดุ เซมิคอนดักเตอร์ นาโนเมตร วัสดุนาโน วัสดุฉลาด วัสดุเชิงก้าวหน้า วัสดุชีวภาพ พอลิเมอร์ เซรามิก สเปกโตรสโกปี อุณหเคมี ไฟฟ้าเคมี เคมีเชิงฟิสิกส์ โลหะอินทรีย์เคมี เคมีพอลิเมอร์ เคมีนิวเคลียร์ ชีววิทยาโมเลกุล เคมีเวชภัณฑ์ เคมีดาราศาสตร์ เคมีไคเนติกส์ สารประกอบอนินทรีย์ สารประกอบเคมี สารประกอบ John Dalton ทฤษฎีโฟลจิสตัน อ็องตวน ลาวัวซีเย Robert Boyle ปฏิกิริยาเคมี รายชื่อคณะวิทยาศาสตร์ในประเทศไทย เคมีสิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม Social psychology วิทยาศาสตร์สังคม เทคนิคการแพทย์ เวชศาสตร์ พยาธิวิทยา เนื้องอกวิทยา ทัศนมาตรศาสตร์ Pharmacy บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ วิทยาศาสตร์พุทธิปัญญา สารสนเทศศาสตร์ วิทยาการสารสนเทศ สัตววิทยา วิทยาไวรัส ประสาทวิทยาศาสตร์ อณูชีววิทยา จุลชีววิทยา วิทยาภูมิคุ้มกัน มีนวิทยา มิญชวิทยา กีฏวิทยา Developmental biology วิทยาเซลล์ ชีววิทยาของเซลล์ วิทยาแผ่นดินไหว ชลธารวิทยา สมุทรศาสตร์ เคมีความร้อน เคมีไฟฟ้า เคมีการคำนวณ เคมีวิเคราะห์ Particle physics พลศาสตร์ของไหล พลศาสตร์ สวนศาสตร์ ฟิสิกส์เชิงทฤษฎี โป๊ป ความเรียง เรอเน เดส์การตส์ การสังเกต การทดลอง ฟรานซิส เบคอน กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ความรู้เชิงประจักษ์ คณิตตรรกศาสตร์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย ไม้บรรทัด กระดูกนาเปียร์ ลูกคิด การแข่งขันคณิตศาสตร์ รางวัลอาเบล เหรียญฟิลด์ส ปัญหาของฮิลแบร์ท กลุ่มความซับซ้อน พี และ เอ็นพี ข้อความคาดการณ์ของปวงกาเร สมมติฐานความต่อเนื่อง

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
235
236
237
238
239
240
241
242
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 24187