ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

กระวานไทย

กระวานไทย หรือ กระวาน (ชื่อวิทยาศาสตร์: Amomum testaceum) เป็นพืชล้มลุกชนิดหนึ่ง ชื่ออื่น ๆ ได้แก่ กระวานขาว (ภาคกลาง ภาคตะวันออก) ข่าโคม ข่าโคก หมากเนิ้ง (ตะวันออกเฉียงเหนือ) ปล้าก้อ (ปัตตานี) มะอี้ (เหนือ) กระวานดำ กระวานแดง กระวานโพธิสัตว์ กระวานจันท์

เป็นพืชล้มลุก มีเหง้า สูงประมาณ 2 เมตร กาบใบหุ้มซ้อนกันทำให้ดูคล้ายลำต้น ใบเดี่ยว แคบยาว รูปขอบขนาน ยาว 15–25 เซนติเมตร ปลายแหลม ช่อดอกออกจากเหง้าชูขึ้นมาเหนือพื้นดิน รูปทรงกระบอก ยาว 6–15 เซนติเมตร ก้านช่อดอกยาว 5–15 ซม. ใบประดับสีเหลืองนวล มีขนคาย เรียงซ้อนสลับกันตลอดช่อ กลีบดอกสีเหลือง เป็นหลอดแคบ ช่อดอกกระวานจะโผล่ขึ้นมาจากพื้นดินเล็กน้อย และเจริญเติบโตเป็นผลลักษณะเป็นพวง เกสรเพศผู้ไม่สมบูรณ์แปรสภาพเป็นกลีบขนาดใหญ่ สีขาว มีแถบสีเหลืองตรงกลาง ผลกลมเปลือกเกลี้ยงเป็นพู ผลมีสีขาวนวล ในผลมีเมล็ดขนาดเล็กสีน้ำตาลแก่จำนวนมาก เมล็ดอ่อนสีขาวมีเยื่อหุ้ม เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีดำ ทั้งผลและเมล็ดมีกลิ่นหอมคล้ายการบูร

เมล็ดกระวานตัดขวางจะพบชั้นอีพิเดอร์มิสของเปลือกหุ้มเมล็ด ถัดเข้ามาเป็นชั้นเซลล์ที่มีรงควัตถุ เซลล์ที่มีน้ำมันและพาเรงไคมา พบสเคลอเรนไคมาแถวเดียวโดยมีซิลิกาสะสม ชั้นเพอริสเปิร์มมีเม็ดแป้งขนาดเล็กปนอยู่กับผลึกแคลเซียมออกซาเลต

ในประเทศไทย พบกระวานขึ้นอยู่ตามป่าที่มีความชื้นสูงและมีไม้ใหญ่ปกคลุม เช่น แถบเขาสอยดาว จังหวัดจันทบุรี ในที่อื่น ๆ เช่น บ้านปากทวาร อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

ชาวยุโรปรู้จักกระวานไทยมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 ในนามของ Amomum มีรายงานว่ากรุงเทพมหานครเป็นแหล่งใหญ่ของกระวาน มีการส่งกระวานเป็นสินค้าส่งออกทางเรือจากกรุงเทพมหานครไปยังอังกฤษ จีน และญี่ปุ่น และในปี ค.ศ. 1857 ได้มีการซื้อขายกระวานที่ตลาดที่กรุงลอนดอน ในปี ค.ศ. 1871 มีการส่งกระวานจากไทยไปยังจีนและสิงคโปร์ น้ำหนักถึง 623,733 ปอนด์ กระวานไทยได้เข้าไปอยู่ในตำรายา French Codex และ Dublin Pharmacopeia นอกจากนี้มีรายงานว่ากระวานที่ส่งออกไปจากประเทศไทยใช้ชื่อ 2 ชื่อ คือ Bastard Cardamoms (เร่ว) และ Best Cardamoms (กระวาน) ผลผลิตในชื่อหลังได้จากต้นกระวานที่ปลูกที่ภูเขาของจังหวัดจันทบุรีและตราด คือ A. testaceum การตัดไม้ทำลายป่าทำให้ความชื้นลดลง การเพาะปลูกกระวานก็ลดลงด้วย

ผลแก่ รสเผ็ดร้อน กลิ่นหอม ตำรายาไทยใช้แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยขับลม และแก้แน่นจุกเสียด มีฤทธิ์ขับลมและบำรุงธาตุ แก้ธาตุไม่ปกติ บำรุงกำลัง ขับโลหิต แก้ลมในอกให้ปิดธาตุ แก้ลมเสมหะให้ปิดธาตุ แก้ลมในลำไส้ เจริญอาหาร รักษาโรครำมะนาด แก้ลมสันนิบาต แก้สะอึก แก้อัมพาต รักษาอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน เมล็ด แก้ธาตุพิการ อุจจาระพิการ บำรุงธาตุ ขับเสมหะ แก้ปวดท้อง ขับลม นอกจากนี้ยังใช้ผสมกับยาถ่ายเพื่อบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียน กระวานไทยเป็นส่วนประกอบในพิกัดยาไทย คือ พิกัดตรีธาตุ เป็นยาแก้ธาตุพิการ แก้ลม แก้เสมหะ แก้ไข้ พิกัดตรีทุราวสา เป็นยาแก้เสมหะ แก้ลม บำรุงน้ำดี แก้พิษตานซาง

ผลกระวานไทยมีกลิ่นหอมคล้ายการบูรและพิมเสน เมื่อกลั่นด้วยไอน้ำจะให้น้ำมันหอมระเหยร้อยละ 4.5 ประกอบด้วย Camphor, α-Pinene, Myrcene, Limonene, Linalool, Borneol และ α-Terpineol Limonene, Myrcene เป็นองค์ประกอบในปริมาณสูงกว่าชนิดอื่น น้ำมันหอมระเหยที่สกัดด้วยน้ำและแอลกอฮอล์ 1:1 สารสกัดด้วยน้ำ สารสกัดด้วยเอทานอล มีผลลดการบีบตัวของลำไส้เล็ก ซึ่งพบว่าสารสำคัญในการออกฤทธิ์คือ cineole น้ำมันหอมระเหย มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย Pseudomonas aeruginosa สารกลุ่มเทอร์พีน และ diterpene peroxide ที่แยกบริสุทธิ์จากสารสกัดเฮกเซน มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อมาลาเรีย Plasmodium falciparum

ผลกระวานไทยใช้แต่งกลิ่นอาหารได้หลายชนิด โดยใช้เป็นเครื่องเทศในน้ำพริกแกงเผ็ด แกงกะหรี่ มัสมั่น ใช้แต่งกลิ่นเหล้า ทางจังหวัดจันทบุรีใส่หน่อและใบลงในแกงป่า เพิ่มรสซ่า เผ็ดร้อน และกลิ่นหอม หั่นหน่อใส่ผัดเผ็ดหมูป่า ผัดเผ็ดกบ สารสกัดน้ำ-เอทานอลมีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด โดยมีผลกระตุ้นการดูดกลับของกลูโคส และเสริมฤทธิ์ของอินซูลิน สารสกัดจากผลและเมล็ดที่สกัดด้วยเอทานอลให้ยับยั้งการเจริญและการงอกของถั่วเขียวผิวดำได้


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เทียนดำ ยี่หร่า อบเชย มะม่วงหัวแมงวัน ขึ้นฉ่าย อบเชยจีน กระวานไทย กระวานเทศ เทียนตากบ การบูร มหาหิงคุ์ โป๊ยกั้ก เทียนสัตตบุษย์ ออลสไปซ์ โรสแมรี ออริกาโน มินต์ (พืช) ผักแขยง ลาเวนเดอร์ คาวทอง ผักชีลาว เทียนแดง ผักชี กุยช่าย เชอร์วิล ใบกระวาน กะเพรา จันทน์เทศ กานพลู หอมต้นเดี่ยว ขัณฑสกร (ยา) โคแฟกเตอร์ อะดีโนซีนไตรฟอสเฟต เพปไทด์ สเตอรอยด์ พันธะคู่ กรดไขมันอิ่มตัว ไตรกลีเซอไรด์ เอสเทอร์ โอลิโกแซ็กคาไรด์ เซลลูโลส ซูโครส ไดแซ็กคาไรด์ กาแล็กโทส อัลดีไฮด์ ยางธรรมชาติ มอโนแซ็กคาไรด์ พันธะเพปไทด์ พอลิเพปไทด์ พันธะโควาเลนต์ พอลิเมอไรเซชัน ไกลโคลิพิด ฟอสโฟลิพิด โมเลกุลเล็ก พอลิแซคคาไรด์ ไมโอโกลบิน คณะเภสัชศาสตร์ ประวัติเภสัชกรรม เภสัชพลศาสตร์ เภสัชจลนศาสตร์ นิติเภสัชกรรม บริหารเภสัชกิจ เภสัชกรรมคลินิก เทคโนโลยีเภสัชกรรม เภสัชวิเคราะห์ เภสัชพฤกษศาสตร์ เภสัชเวท เภสัชอุตสาหกรรม เภสัชภัณฑ์ เภสัชเคมี พอลิแซ็กคาไรด์ ซิลิโคน รายชื่อสาขาวิชา สูตรเคมี น้ำหนักโมเลกุล ผลึกศาสตร์ ฟังก์ชันนัลกรุป อินโดล อิมิดาโซล อะซูลีน เบนโซไพรีน ฟีแนนทรีน แอนทราซีน แนฟทาลีน โทลูอีน เบนซีน แอลไคน์ แอลคีน อนินทรีย์เคมี พันธะโคเวเลนต์ ซัลเฟอร์ ธาตุคาร์บอน สเปกโทรสโกปี ลิพิด คีโตน อีเทอร์ เอสเตอร์ กรดคาร์บอกซิลิก แอลดีไฮด์ แอลกอฮอล์

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
235
236
237
238
239
240
241
242
243
244
245
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 24519