ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

การแยกทัศนคติออกเป็นสองขั้ว

การแยกทัศนคติออกเป็นสองขั้ว (อังกฤษ: Attitude polarization, belief polarization, polarization effect) หรือ ทัศนคติที่สุดโต่งเพิ่มขึ้น เป็นปรากฏการณ์ที่เรื่องที่โต้แย้งกันสุดโต่งมากขึ้นเมื่อฝ่ายต่าง ๆ พิจารณาหลักฐานในประเด็น นี่เป็นผลอย่างหนึ่งของความเอนเอียงเพื่อยืนยัน (confirmation bias) ซึ่งเป็นความโน้มเอียงที่จะหาและตีความหลักฐานตามเลือกเพื่อจะเสริมความเชื่อหรือทัศนคติของตน และถ้าเป็นหลักฐานที่คลุมเครือ แต่ละฝ่ายอาจจะตีความว่าสนับสนุนทัศนคติของตน ทำให้จุดยืนในข้อขัดแย้งห่างกันมากขึ้นแทนที่จะลดลง

ปรากฏการณ์นี้พบในประเด็นปัญหาที่เร้าอารมณ์ เช่นประเด็นทางการเมือง แต่ประเด็นต่าง ๆ โดยมากจะไม่มีปัญหานี้ ในประเด็นที่เกิดปัญหานี้ เพียงแค่คิดถึงประเด็นโดยไม่ต้องพิจารณาหลักฐานใหม่ ก็ทำให้เกิดปรากฏการณ์นี้แล้ว มีกระบวนการเปรียบเทียบทางสังคมที่ใช้อธิบายปรากฏการณ์นี้ คือ ความเชื่อจะเพิ่มขึ้นเพราะคนรอบ ๆ ตัวกล่าวซ้ำคำพูดของแต่ละคน ยืนยันกันและกันเอง นี้เป็นประเด็นน่าสนใจในสาขาจิตวิทยา สังคมศาสตร์ และปรัชญา

เริ่มตั้งแต่ปลายคริสต์ทศวรรษ 1960 นักจิตวิทยาได้ทำงานศึกษาจำนวนหนึ่งเกี่ยวกับด้านต่าง ๆ ของปรากฏการณ์นี้

มีงานศึกษาที่สำคัญในเรื่องนี้ในปี ค.ศ. 1979 นักวิจัยเลือกกลุ่มชนสองกลุ่ม กลุ่มหนึ่งเห็นด้วยกับโทษประหารชีวิตในระดับสูง และอีกกลุ่มหนึ่งไม่เห็นด้วยในระดับสูง เบื้องต้น นักวิจัยวัดระดับความเห็นที่ผู้ร่วมการทดลองมี หลังจากนั้นก็จะแบ่งคนที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยออกเป็นกลุ่มเล็ก ๆ และให้ดูแผ่นกระดาษแผ่นหนึ่งใน 2 แผ่น แต่ละแผ่นแสดงผลงานวิจัยที่ไม่เหมือนกัน เช่น

โครเนอร์และฟิลลิปส์ (1977) เปรียบเทียบอัตราการฆ่าคนสำหรับปีก่อนและหลังจากการออกฎหมายโทษประหารชีวิตในมลรัฐ 14 รัฐ (ในประเทศสหรัฐอเมริกา) ในรัฐ 11 รัฐจาก 14 รัฐ อัตราการฆ่าคนลดลงหลังจากการออกฎหมาย งานวิจัยนี้สนับสนุนว่าโทษประหารชีวิตมีผลช่วยป้องกัน (การฆ่าคน)

ปาล์เมอร์และแครนดัลล์ (1977) เปรียบเทียบอัตราการฆ่าคนในมลรัฐติดกัน 10 คู่ที่มีกฎหมายโทษประหารชีวิตต่างกัน ในคู่ 8 จาก 10 คู่ อัตราการฆ่าคนสูงกว่าในรัฐที่ลงโทษประหารชีวิต งานวิจัยนี้คัดค้านโทษประหารชีวิตว่ามีผลช่วยป้องกัน (การฆ่าคน)

หลังจากนั้น นักวิจัยก็ถามผู้ร่วมการทดลองถึงระดับความเชื่อของตน เกี่ยวกับผลการป้องกันการฆ่าคนของการลงโทษประหารชีวิต และในตอนนี้ ก็จะถามถึงอิทธิพลที่ผลงานวิจัยที่อ่านมีต่อทัศนคติของตน

ในขั้นต่อไป ก็จะให้ข้อมูลเพิ่มเกี่ยวกับงานวิจัยที่อ่าน รวมทั้งรายละเอียด บทวิจารณ์ และการโต้ตอบบทวิจารณ์ของผู้ทำงานวิจัย จากนั้น ก็จะวัดจุดยืนทางทัศนคติของผู้ร่วมการทดลองอีก แล้วถามผู้ร่วมการทดลองถึงคุณภาพงานวิจัย และอิทธิพลของงานวิจัยต่อความเชื่อของตน แล้วในที่สุด ก็จะเริ่มการทดลองใหม่สำหรับทุกคน แต่จะใช้แผ่นกระดาษและข้อมูลรายละเอียดที่สนับสนุนจุดยืนตรงกันข้ามกับที่เห็นในตอนแรก

นักวิจัยพบว่า คนมักจะเชื่องานวิจัยที่สนับสนุนความเห็นเดิมของตนว่า ทำได้ดีกว่า และน่าเชื่อถือกว่า งานวิจัยที่ไม่สนับสนุน ไม่ว่าจะมีจุดยืนไหนในเบื้องต้น ก็จะยึดจุดยืนนั้นมั่นคงยิ่งขึ้นหลังจากที่อ่านงานวิจัยที่สนับสนุน นักวิจัยชี้ว่า มีเหตุผลอยู่ที่คนจะไม่จับผิดงานวิจัยที่สนับสนุนจุดยืนของตน แต่ดูจะไร้เหตุผลที่กำลังทัศนคติของตนเพิ่มขึ้นอีกอย่างมีนัยสำคัญ เมื่ออ่านหลักฐานที่สนับสนุน และเมื่ออ่านงานวิจัยทั้งที่สนับสนุนและไม่สนับสนุนความเห็นของตน คนมักจะยืดถือทัศนคติดั้งเดิมของตนนั่นแหละมั่นคงกว่าก่อนที่จะได้รับข้อมูลเพิ่ม แต่ว่า ผลงานนี้ควรจะเข้าใจในฐานะที่มีปัญหาหลายอย่างในการดำเนินงาน รวมทั้งความจริงว่า นักวิจัยเปลี่ยนการวัดค่าผลตัวแปร (เปลี่ยน scaling) ดังนั้น การวัดค่าทัศนคติที่เปลี่ยนไปจึงใช้ไม่ได้ และว่า การวัดการแยกออกเป็นสองขั้วใช้การระบุค่าทัศนคติเองของผู้ร่วมการทดลอง (subjective) คือเป็นการประเมินแบบอัตวิสัย ไม่ใช่เป็นการวัดความเปลี่ยนแปลงโดยตรง

นักจิตวิทยาสังคมได้ทำงานศึกษาเกี่ยวกับทัศนคติที่มีต่อตนเอง ต่อกลุ่ม และต่อจุดยืนที่กลุ่มนั้นยอมรับหรือปฏิเสธ เมื่อผู้ร่วมการทดลองเห็นตัวเองเป็นสมาชิกในกลุ่ม ซึ่งสาระสำคัญสั้น ๆ ก็คือ งานวิจัยเสนอว่า คนมักจะยอมรับจุดยืนที่ตนเชื่อว่าเป็นของกลุ่ม แม้ว่าตัวเองจะพึ่งเข้ากลุ่มและแม้ว่า ตนจะยังไม่ได้พบกับสมาชิกใด ๆ ในกลุ่มเลย


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

แรง (ฟิสิกส์) ความยาว การเคลื่อนที่ ทฤษฎีเคออส กลศาสตร์แบบลากรางช์ เอนริโก แฟร์มี สมมาตรยิ่งยวด CERN Large Hadron Collider ไอน์สไตน์ ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป กาลิเลโอ ฟิสิกส์อนุภาค วิศวกรรมวัสดุ เซมิคอนดักเตอร์ นาโนเมตร วัสดุนาโน วัสดุฉลาด วัสดุเชิงก้าวหน้า วัสดุชีวภาพ พอลิเมอร์ เซรามิก สเปกโตรสโกปี อุณหเคมี ไฟฟ้าเคมี เคมีเชิงฟิสิกส์ โลหะอินทรีย์เคมี เคมีพอลิเมอร์ เคมีนิวเคลียร์ ชีววิทยาโมเลกุล เคมีเวชภัณฑ์ เคมีดาราศาสตร์ เคมีไคเนติกส์ สารประกอบอนินทรีย์ สารประกอบเคมี สารประกอบ John Dalton ทฤษฎีโฟลจิสตัน อ็องตวน ลาวัวซีเย Robert Boyle ปฏิกิริยาเคมี รายชื่อคณะวิทยาศาสตร์ในประเทศไทย เคมีสิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม Social psychology วิทยาศาสตร์สังคม เทคนิคการแพทย์ เวชศาสตร์ พยาธิวิทยา เนื้องอกวิทยา ทัศนมาตรศาสตร์ Pharmacy บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ วิทยาศาสตร์พุทธิปัญญา สารสนเทศศาสตร์ วิทยาการสารสนเทศ สัตววิทยา วิทยาไวรัส ประสาทวิทยาศาสตร์ อณูชีววิทยา จุลชีววิทยา วิทยาภูมิคุ้มกัน มีนวิทยา มิญชวิทยา กีฏวิทยา Developmental biology วิทยาเซลล์ ชีววิทยาของเซลล์ วิทยาแผ่นดินไหว ชลธารวิทยา สมุทรศาสตร์ เคมีความร้อน เคมีไฟฟ้า เคมีการคำนวณ เคมีวิเคราะห์ Particle physics พลศาสตร์ของไหล พลศาสตร์ สวนศาสตร์ ฟิสิกส์เชิงทฤษฎี โป๊ป ความเรียง เรอเน เดส์การตส์ การสังเกต การทดลอง ฟรานซิส เบคอน กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ความรู้เชิงประจักษ์ คณิตตรรกศาสตร์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย ไม้บรรทัด กระดูกนาเปียร์ ลูกคิด การแข่งขันคณิตศาสตร์ รางวัลอาเบล เหรียญฟิลด์ส ปัญหาของฮิลแบร์ท กลุ่มความซับซ้อน พี และ เอ็นพี ข้อความคาดการณ์ของปวงกาเร สมมติฐานความต่อเนื่อง

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
235
236
237
238
239
240
241
242
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 24187