ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

ดาวเทียมธีออส

ดาวเทียมไทยโชต (Thaichote) หรือ ดาวเทียมธีออส (THEOS: Thailand Earth Observation Satellite) เป็นดาวเทียมสำรวจข้อมูลระยะไกล (Remote Sensing) เพื่อใช้สำรวจทรัพยากรธรรมชาติของประเทศไทย

โดยความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลฝรั่งเศส ดำเนินงานโดย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (สทอภ. หรือ GISTDA) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับ บริษัท อี เอ ดี เอส แอสเตรียม (EADS Astrium) ประเทศฝรั่งเศส ด้วยงบประมาณ 6,000 ล้านบาท นับเป็นดาวเทียมสำรวจทรัพยากรดวงแรกของไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ชื่อ THEOS มาจากคำย่อภาษาอังกฤษว่า Thailand Earth Observation Satellite หมายถึง ระบบสำรวจพื้นผิวโลกโดยใช้เทคโนโลยีภาพถ่ายจากดาวเทียมของประเทศไทย โดยพ้องกับภาษากรีก แปลว่า พระเจ้า

วันที่ 20 มกราคม 2554 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้มีหนังสือไปยัง สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเพื่อขอพระราชทานชื่อใหม่ให้ดาวเทียม THEOS ต่อมา วันที่ 18 มกราคม 2555 สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ได้มีหนังสือตอบกลับความว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อดาวเทียมดังกล่าว ว่า ไทยโชต และให้ใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า Thaichote ตั้งแต่วันที่ 10 ธันวาคม 2554 สืบไป โดยมีความหมายว่า "ดาวเทียมที่ทำให้ประเทศไทยรุ่งเรือง"

ดาวเทียมไทยโชต เป็นดาวเทียมขนาดเล็ก มีน้ำหนัก 750 กิโลกรัม เป็นดาวเทียมวงโคจรต่ำ (Low Earth Orbit: LEO) โคจรสูงจากพื้นโลกประมาณ 820 กิโลเมตร โคจรรอบโลกซ้ำแนวโคจรเดิมทุก 26 วัน มีอายุทางเทคโนโลยีขั้นต่ำ 5 ปี แต่อายุการใช้งานจริงมากกว่านั้น มีกล้องถ่ายภาพ 2 กล้อง ใช้ระบบซีซีดี สามารถบันทึกภาพจากการสะท้อนแสงของพื้นโลก (ต้องการแสงอาทิตย์) ได้ทั้ง ภาพแบบขาวดำ (Panchromatic) ที่รายละเอียด 2 เมตร ความกว้างของภาพที่มุมตั้งฉากกับพื้นผิวโลก 22 กม. และภาพแบบหลายช่วงคลื่น (Multispectral) เพื่อนำมาแสดงร่วมกันให้เห็นเป็นภาพสี จำนวน 4 ช่วงคลื่น ที่รายละเอียด 15 เมตร ความกว้างของภาพที่มุมตั้งฉากกับพื้นผิวโลก 90 กิโลเมตร ได้แก่ 3 ช่วงคลื่นแสงที่ตามองเห็น (ช่วงคลื่นแสงสีแดง สีเขียว และสีน้ำเงิน) และ 1 ช่วงคลื่น ใกล้อินฟราเรด (Near IR)

ดาวเทียมธีออส ขึ้นสู่อวกาศ วันพุธที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2551 เวลาในประเทศไทย 13:37:16 น. หรือ 6:37:16 น. ตามเวลามาตรฐานสากล (UTC)

โดยจรวดนำส่ง เนปเปอร์ (Dnepr) ของบริษัท ISC Kosmotras ประเทศยูเครน จากฐานส่งจรวดเมืองยาสนี (Yasny) ประเทศรัสเซีย

เหตุการณ์การส่งดาวเทียมไม่สามารถถ่ายทอดสดได้ เนื่องจากฐานส่งจรวดที่เมืองยาสนีเป็นเขตทหาร จึงเป็นการรายงานสดทางโทรศัพท์มายังสถานีควบคุมและรับสัญญาณดาวเทียมธีออส อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี จรวดถูกยิงสู่ท้องฟ้าจากไซโลด้วยแรงขับเคลื่อนของจรวดท่อนที่ 1 ไปทางทิศใต้ตามแนวขั้วโลกมีมุมเอียงไปทางตะวันตก 8.9 องศา จรวดท่อนที่ 1 ขับเคลื่อนจากพื้นดินเป็นเวลา 110 วินาทีขึ้นไปที่ระดับสูง 60 กิโลเมตร แล้วแยกตัวออกและตกลงสู่พื้นโลกที่ประเทศคาซัคสถาน ต่อจากนั้นจรวดท่อนที่ 2 ขับเคลื่อนและนำดาวเทียมขึ้นต่อไปอีกเป็นเวลา 180 วินาที ได้ระดับความสูง 300 กิโลเมตร หรือเมื่อผ่านไป 290 วินาทีจาก Lift-off แล้วจรวดท่อนที่ 2 แยกตัวและตกลงในมหาสมุทรอินเดีย จรวดส่วนสุดท้ายพร้อมดาวเทียม เคลื่อนต่อไปตามวิถีการส่งจนถึงระดับความสูง 690 กิโลเมตร ดาวเทียมแยกตัวออกมาโคจรเป็นอิสระจากจรวดส่วนสุดท้าย ที่เวลาในประเทศไทย 15:09 น. สถานีควบคุมและรับสัญญาณดาวเทียมที่เมืองคิรูนา (Kiruna) ประเทศสวีเดน จะเป็นสถานีแรกที่ติดต่อกับดาวเทียมได้ (First Contact) ต่อจากนั้นดาวเทียมโคจรผ่านประเทศไทยครั้งแรก เวลา 21:16 น. ซึ่งสถานีควบคุมและรับสัญญาณดาวเทียมธีออส อ.ศรีราชา เริ่มปฏิบัติการควบคุมการโคจรดาวเทียมและตรวจสอบการทำงานต่างๆ เพื่อให้ดาวเทียม THEOS มีความสมบูรณ์พร้อมใช้งาน อันเป็นงานและภารกิจหลักในการให้บริการข้อมูลดาวเทียมแก่หน่วยงานทั้งในและต่างประเทศ

สถานีรับสัญญาณดาวเทียมอยู่ที่เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร และสถานีควบคุมดาวเทียม อยู่ที่ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี

นอกจากนี้ ผู้เชี่ยวชาญจากฝรั่งเศสจะเดินทางมาเพื่ออบรม และจัดสัมมนาให้แก่เจ้าหน้าที่ไทยทุกปี


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

แรง (ฟิสิกส์) ความยาว การเคลื่อนที่ ทฤษฎีเคออส กลศาสตร์แบบลากรางช์ เอนริโก แฟร์มี สมมาตรยิ่งยวด CERN Large Hadron Collider ไอน์สไตน์ ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป กาลิเลโอ ฟิสิกส์อนุภาค วิศวกรรมวัสดุ เซมิคอนดักเตอร์ นาโนเมตร วัสดุนาโน วัสดุฉลาด วัสดุเชิงก้าวหน้า วัสดุชีวภาพ พอลิเมอร์ เซรามิก สเปกโตรสโกปี อุณหเคมี ไฟฟ้าเคมี เคมีเชิงฟิสิกส์ โลหะอินทรีย์เคมี เคมีพอลิเมอร์ เคมีนิวเคลียร์ ชีววิทยาโมเลกุล เคมีเวชภัณฑ์ เคมีดาราศาสตร์ เคมีไคเนติกส์ สารประกอบอนินทรีย์ สารประกอบเคมี สารประกอบ John Dalton ทฤษฎีโฟลจิสตัน อ็องตวน ลาวัวซีเย Robert Boyle ปฏิกิริยาเคมี รายชื่อคณะวิทยาศาสตร์ในประเทศไทย เคมีสิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม Social psychology วิทยาศาสตร์สังคม เทคนิคการแพทย์ เวชศาสตร์ พยาธิวิทยา เนื้องอกวิทยา ทัศนมาตรศาสตร์ Pharmacy บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ วิทยาศาสตร์พุทธิปัญญา สารสนเทศศาสตร์ วิทยาการสารสนเทศ สัตววิทยา วิทยาไวรัส ประสาทวิทยาศาสตร์ อณูชีววิทยา จุลชีววิทยา วิทยาภูมิคุ้มกัน มีนวิทยา มิญชวิทยา กีฏวิทยา Developmental biology วิทยาเซลล์ ชีววิทยาของเซลล์ วิทยาแผ่นดินไหว ชลธารวิทยา สมุทรศาสตร์ เคมีความร้อน เคมีไฟฟ้า เคมีการคำนวณ เคมีวิเคราะห์ Particle physics พลศาสตร์ของไหล พลศาสตร์ สวนศาสตร์ ฟิสิกส์เชิงทฤษฎี โป๊ป ความเรียง เรอเน เดส์การตส์ การสังเกต การทดลอง ฟรานซิส เบคอน กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ความรู้เชิงประจักษ์ คณิตตรรกศาสตร์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย ไม้บรรทัด กระดูกนาเปียร์ ลูกคิด การแข่งขันคณิตศาสตร์ รางวัลอาเบล เหรียญฟิลด์ส ปัญหาของฮิลแบร์ท กลุ่มความซับซ้อน พี และ เอ็นพี ข้อความคาดการณ์ของปวงกาเร สมมติฐานความต่อเนื่อง

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
235
236
237
238
239
240
241
242
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 24187