ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

ทำเนียบขาว

ทำเนียบขาว หรือ ไวท์เฮาส์ (อังกฤษ: White House) เป็นที่พำนักอย่างเป็นทางการและสถานที่ทำงานหลักของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 1600 ถนนเพนซิลเวเนีย เขตตะวันตกเฉียงเหนือ วอชิงตัน ดี.ซี. โดยเป็นสถานที่พำนักของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาทุกคนตั้งแต่ประธานาธิบดีจอห์น แอดัมส์ ในปี ค.ศ. 1800

ทำเนียบขาวถูกออกแบบโดยสถาปนิกชาวไอริช เจมส์ โฮบัน และก่อสร้างระหว่างปี ค.ศ. 1792 ถึง ค.ศ. 1800 ด้วยหินทรายอะเกียครีกสีขาวในรูปแบบสถาปัตยกรรมฟื้นฟูคลาสสิก เมื่อประธานาธิบดีทอมัส เจฟเฟอร์สัน ย้ายเข้ามาพำนักในปี ค.ศ. 1801 ได้ร่วมกับสถาปนิก เบนจามิน เฮนรี ลาทรอบ ขยายต่อเติมทำเนียบออกไปด้วยระเบียงเสาสองแห่งเพื่อเชื่อมคอกม้ากับโรงเก็บของ อย่างไรก็ตามในปี ค.ศ. 1814 ซึ่งเป็นช่วงของสงครามปี ค.ศ. 1812 ทำเนียบถูกเผาโดยกองทัพสหราชอาณาจักรในการเผากรุงวอชิงตัน ทำลายภายในอาคารและภายนอกอาคารส่วนมาก การบูรณะฟื้นฟูจึงเริ่มขึ้นแทบจะโดยทันทีหลังจากนั้น และประธานาธิบดีเจมส์ มอนโร ได้ย้ายเข้าไปในอาคารซึ่งบูรณะเสร็จบางส่วนในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1817 ส่วนการก่อสร้างยังคงดำเนินต่อไปโดยต่อเติมระเบียงทิศใต้ในปี ค.ศ. 1824 และทิศเหนือในปี ค.ศ. 1829

เนื่องจากความแออัดคับแคบในส่วนคฤหาสน์ ประธานาธิบดีธีโอดอร์ โรสเวลต์ จึงได้ย้ายส่วนที่ทำงานไปยังปีกตะวันตกที่ถูกสร้างขึ้นใหม่ในปี ค.ศ. 1901 แปดปีหลังจากนั้นประธานาธิบดีวิลเลียม ฮาวเวิร์ด แทฟต์ ได้ขยายปีกตะวันตกเพิ่มเติมและสร้างห้องทำงานรูปไข่ขึ้นมาครั้งแรก แต่ในท้ายที่สุดก็ย้ายออกไปจากการต่อเติมในภายหลัง คฤหาสน์หลัก ห้องใต้หลังคาชั้นสามถูกดัดแปลงเป็นส่วนที่อยู่อาศัยในปี ค.ศ. 1927 ด้วยหลังคาทรงปั้นหยาที่มีอยู่เดิมและเพิงหลังคาขนาดยาว ต่อมาจึงมีการต่อเติมปีกตะวันออกและใช้เป็นส่วนรับรองสำหรับงานสังคม โดยระเบียงเสาของประธานาธิบดีเจฟเฟอร์สันก็ได้เชื่อมกับปีกตะวันออกนี้ด้วย การดัดแปลงปีกตะวันตกเสร็จสิ้นลงในปี ค.ศ. 1946 ด้วยการขยายพื้นที่สำนักงาน จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1948 มีการตรวจพบว่ากำแพงรองรับโครงสร้างภายนอกและคานไม้รองรับโครงสร้างภายในจวนที่จะพังถล่มลงมา ประธานาธิบดีแฮร์รี เอส. ทรูแมน จึงดำเนินการรื้อถอนห้องในโครงสร้างภายในออกทั้งหมดและเสริมโครงเหล็กเข้าไปในกำแพงเพื่อรองรับโครงสร้างภายในอาคาร จากนั้นจึงดำเนินการสร้างห้องที่อยู่ภายในอาคารขึ้นมาใหม่

ในปัจจุบัน กลุ่มอาคารทำเนียบขาวประกอบไปด้วยส่วนคฤหาสน์ที่พำนัก ปีกตะวันตก ปีกตะวันออก อาคารสำนักงานบริหารไอเซนฮาวร์ (Eisenhower Executive Office Building; ที่ทำการเดิมของกระทรวงการต่างประเทศ แต่ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของสำนักงานเจ้าหน้าที่ของประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดี) และคฤหาสน์แบลร์ (Blair House) ซึ่งใช้เป็นที่พำนักรับรองอาคันตุกะ ส่วนคฤหาสน์ที่พำนักมีทั้งหมดหกชั้นประกอบไปด้วย ชั้นใต้ดิน 2 ชั้น ชั้นพื้นดิน ชั้นหนึ่ง ชั้นสอง และชั้นสาม

บริบทคำว่า ทำเนียบขาว มักถูกใช้เป็นนามนัยสำหรับสำนักบริหารงานประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา (Executive Office of the President of the United States) และสำหรับที่ทำการและที่ปรึกษาของประธานาธิบดีด้วยเช่นกัน ทำเนียบขาวยังถูกขึ้นทะเบียนเป็นมรดกของชาติซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอุทยานประธานาธิบดีที่ดูแลโดยสำนักงานอุทยานแห่งชาติสหรัฐอเมริกา ในปี ค.ศ. 2007 ทำเนียบขาวถูกจัดลำดับให้เป็นสถาปัตยกรรมที่เป็นที่ชื่นชอบมากที่สุดอันดับสองของอเมริกาโดยสถาบันสถาปนิกอเมริกันอีกด้วย

ทำเนียบขาวมีพื้นที่ใช้สอยรวม 55,000 ตารางฟุต (5,100 ตร.ม.) มีห้องทั้งหมด 132 ห้อง และสระว่ายน้ำ 1 สระ ทำเนียบขาวเป็นอาคารหลังแรกในวอชิงตัน ดี.ซี. ที่ทำทางลาดสำหรับรถเข็น ซึ่งปรับปรุงสำหรับประธานาธิบดีแฟรงกลิน ดี. รูสเวลต์ ที่นั่งรถเข็นเนื่องจากอาการเจ็บป่วย

สำนักงานเดิมมีความแออัดคับแคบ จึงมีการต่อเติมอาคารเพิ่มอีก 2 ปีกเชื่อมกับอาคารกลาง โดยปีกตะวันตกเป็นสำนักงานของประธานาธิบดี (ห้องทำงานรูปไข่) และทีมงานระดับสูงอีกประมาณ 50 คน รวมถึงห้องประชุมของคณะรัฐมนตรี

ปีกตะวันออกถูกสร้างขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1942 ในลักษณะอาคารอเนกประสงค์ ต่อมาในปี ค.ศ. 1977 โรสลิน คาร์เตอร์ สุภาพสตรีหมายเลขหนึ่ง ได้ใช้ปีกตะวันออกเป็นสำนักงานและตั้งชื่อว่า "สำนักงานสุภาพสตรีหมายเลขหนึ่ง" ซึ่งใช้สืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

แรง (ฟิสิกส์) ความยาว การเคลื่อนที่ ทฤษฎีเคออส กลศาสตร์แบบลากรางช์ เอนริโก แฟร์มี สมมาตรยิ่งยวด CERN Large Hadron Collider ไอน์สไตน์ ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป กาลิเลโอ ฟิสิกส์อนุภาค วิศวกรรมวัสดุ เซมิคอนดักเตอร์ นาโนเมตร วัสดุนาโน วัสดุฉลาด วัสดุเชิงก้าวหน้า วัสดุชีวภาพ พอลิเมอร์ เซรามิก สเปกโตรสโกปี อุณหเคมี ไฟฟ้าเคมี เคมีเชิงฟิสิกส์ โลหะอินทรีย์เคมี เคมีพอลิเมอร์ เคมีนิวเคลียร์ ชีววิทยาโมเลกุล เคมีเวชภัณฑ์ เคมีดาราศาสตร์ เคมีไคเนติกส์ สารประกอบอนินทรีย์ สารประกอบเคมี สารประกอบ John Dalton ทฤษฎีโฟลจิสตัน อ็องตวน ลาวัวซีเย Robert Boyle ปฏิกิริยาเคมี รายชื่อคณะวิทยาศาสตร์ในประเทศไทย เคมีสิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม Social psychology วิทยาศาสตร์สังคม เทคนิคการแพทย์ เวชศาสตร์ พยาธิวิทยา เนื้องอกวิทยา ทัศนมาตรศาสตร์ Pharmacy บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ วิทยาศาสตร์พุทธิปัญญา สารสนเทศศาสตร์ วิทยาการสารสนเทศ สัตววิทยา วิทยาไวรัส ประสาทวิทยาศาสตร์ อณูชีววิทยา จุลชีววิทยา วิทยาภูมิคุ้มกัน มีนวิทยา มิญชวิทยา กีฏวิทยา Developmental biology วิทยาเซลล์ ชีววิทยาของเซลล์ วิทยาแผ่นดินไหว ชลธารวิทยา สมุทรศาสตร์ เคมีความร้อน เคมีไฟฟ้า เคมีการคำนวณ เคมีวิเคราะห์ Particle physics พลศาสตร์ของไหล พลศาสตร์ สวนศาสตร์ ฟิสิกส์เชิงทฤษฎี โป๊ป ความเรียง เรอเน เดส์การตส์ การสังเกต การทดลอง ฟรานซิส เบคอน กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ความรู้เชิงประจักษ์ คณิตตรรกศาสตร์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย ไม้บรรทัด กระดูกนาเปียร์ ลูกคิด การแข่งขันคณิตศาสตร์ รางวัลอาเบล เหรียญฟิลด์ส ปัญหาของฮิลแบร์ท กลุ่มความซับซ้อน พี และ เอ็นพี ข้อความคาดการณ์ของปวงกาเร สมมติฐานความต่อเนื่อง

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
235
236
237
238
239
240
241
242
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 24187