ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

ประวัติศาสตร์แอลเบเนีย

แอลเบเนียเป็นประเทศในยุโรปที่มีวัฒนธรรมแบบมุสลิม ประวัติศาสตร์ของประเทศเริ่มจากเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิโรมันและจักรวรรดิไบแซนไทน์จากนั้นจึงถูกยึดครองโดยจักรวรรดิออตโตมัน เมื่อจักรวรรดิออตโตมันเสื่อมลงจึงแยกเป็นประเทศเอกราช แต่ก็ประสบความวุ่นวายและไร้เสถียรภาพทางการเมืองจนกลายเป็นประเทศคอมมิวนิสต์หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ปัจจุบันได้มีการปฏิรูปการเมืองเพื่อเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตยและระบบเศรษฐกิจเสรี

เดิมประเทศแอลเบเนียเป็นที่อยู่ของชาวอิลลิเรียอยู่ภายใต้การปกครองของจักรวรรดิโรมันและจักรวรรดิไบแซนไทน์ตามลำดับ คำว่าแอลเบเนีย เริ่มใช้ในสมัยจักรพรรดิอะเล็กซีอุสที่ 1 คอมนีนุส ซึ่งหมายถึงดินแดนที่อยู่ห่างไกล

เมื่ออำนาจจักรวรรดิไบแซนไทน์เสื่อมลง ชาวเซิร์บเข้ามาปกครองแอลเบเนีย เกิดการรบพุ่งแย่งชิงอำนาจกันเอง ชาวเซิร์บกลุ่มหนึ่งขอให้ชาวเติร์กมาช่วยฝ่ายตน ชาวเติร์กจึงถือโอกาสนั้นเข้ายยึดครองแอลเบเนียใน พ.ศ. 1973 แอลเบเนียสามารถขับไล่ชาวเติร์กออกไปได้ในช่วงสั้นๆ ระหว่าง พ.ศ. 1987 - 2021 ภายใต้การนำของเกออร์กี คาสตรีออกี สกินเดอร์เบก แต่เมื่อสกินเดอร์เบกสิ้นพระชนม์ แอลเบเนียตกอยู่ใต้การปกครองชองชาวเติร์กอีกจนถึงยุคจักรวรรดิออตโตมัน แอลเบเนียเป็นอิสระจากการปกครองของจักรวรรดิออตโตมันเมื่อ พ.ศ. 2455

ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 24 จักรวรรดิออตโตมันผ่อนคลายความเข้มงวดในการปกครองคาบสมุทรบอลข่าน แอลเบเนียได้สิทธิปกครองตนเองในฐานะเป็นรัฐอิสระ ช่วงนี้ปัญญาชนในแอลเบเนียเริ่มเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชและจัดตั้งสันนิบาตแห่งพริซเรนเมื่อ พ.ศ. 2421 จนกระทั่งเกิดสงครามบอลข่านในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2454 กลุ่มประเทศพันธมิตรบอลข่าน ได้แก่ บัลแกเรีย เซอร์เบีย กรีซ และมอนเตเนโกรทำสงครามกับจักรวรรดิออตโตมัน แอลเบเนียจึงชิงประกาศเอกราชของตนเมื่อ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2455 และได้รับการรับรองเมื่อสงครามบอลข่านสิ้นสุดลงในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2456

เมื่อได้รับเอกราช เจ้าชายวิลเฮล์มแห่งราชวงศ์วีดได้เป็นกษัตริย์ปกครองแอลเบเนีย แต่เกิดปัญหาทางการเมืองจนต้องลี้ภัยออกนอกประเทศเมื่อ 7 กันยายน พ.ศ. 2457 ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 อิตาลี กรีซ ยูโกสลาเวีย ต่างอ้างสิทธิเหนือแอลเบเนีย แต่เมื่อสงครามสิ้นสุดลง ประเทศมหาอำนาจในขณะนั้นยังคงรับรอใความเป็นเอกราชของแอลเบเนีย อย่างไรก็ตาม การเมืองภายในแอลเบเนียยังไม่สงบ มีการแย่งชิงกันเป็นรัฐบาลจนกระทั่งเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2464 ประเทศมหาอำนาจจึงตั้งคณะผู้สำเร็จราชการบริหารราชการแผ่นดินปกครองแอลเบเนียจนถึง พ.ศ. 2467 ต่อมาใน พ.ศ. 2468 อาห์เม็ด เบย์โซกูเข้ายึดอำนาจเปลี่ยนการปกครองเป็นระบอบสาธารณรัฐและโซกูเป็นประธานาธิบดี จน พ.ศ. 2471 โซกูจึงตั้งตัวเป็นกษัตริย์ในนามพระเจ้าซ็อกที่ 1 แห่งแอลเบเนีย ปกครองประเทศจนถึง พ.ศ. 2482

พระเจ้าซ็อกที่ 1 ปกครองประเทศโดยใช้อำนาจเด็ดขาดและดำเนินนโยบายต่างประเทศเป็นมิตรกับอิตาลี เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 เริ่มต้นขึ้น อิตาลีในยุคของเบนิโต มุสโสลินี เข้ายึดครองแอลเบเนียเป็นส่วนหนึ่งของอิตาลีเมื่อ 7 เมษายน พ.ศ. 2482 ปลดพระเจ้าซ็อกที่ 1ออกจากราชบัลลังก์

เมื่อเยอรมันส่งกองทัพเข้ายึดครองคาบสมุทรบอลข่านเมื่อ พ.ศ. 2484 ได้เข้ามาปกครองแอลเบเนียด้วย ในช่วงนี้มีการจัดตั้งขบวนการใต้ดินเพื่อต่อต้านเยอรมัน ขบวนการที่สำคัญคือแนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติที่มีเอนเวอร์ โฮซา ผู้ร่วมก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์แอลเบเนียเป็นผู้นำ เมื่อเยอรมันเริ่มเป็นผู้แพ้สงคราม และถอนกำลังออกจากแอลเบเนียเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2487 พรรคคอมมิวนิสต์จึงเข้ายึดครองประเทศ และจัดการเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกหลังจากสงครามยุติเมื่อ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2488 ผลปรากฏว่าพรรคคอมมิวนิสต์ได้รับชัยชนะอย่างท่วมท้น รัฐสภาได้ประกาศชื่อประเทศเป็นสาธารณรัฐประชาชนแอลเบเนียเมื่อ 11 มกราคม พ.ศ. 2489 และประกาศใช้รัฐธรรมนูญที่ใช้รัฐธรรมนูญของสหภาพโซเวียตและยูโกสลาเวียเป็นแม่แบบเมื่อ 14 มีนาคม พ.ศ. 2489

หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 แอลเบเนียดำเนินนโบบายใกล้ชิดกับยูโกสลาเวียมาก จนถึงกับมีนโยบายที่จะรวมแอลเบเนียเข้ากับยูโกสลาเวีย จนกระทั่งยูโกสลาเวียถูกขับออกจากองค์กรโคมินฟอร์มเมื่อ พ.ศ. 2491 สหภาพโซเวียตเรียกร้องให้ประเทศบริวารตัดความสัมพันธ์กับยูโกสลาเวีย สมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์แอลเบเนียส่วนใหญ่ที่ไม่พอใจนโยบายใกล้ชิดกับยูโกสลาเวียจึงหันไปสร้างความสัมพันธ์กับโซเวียตโดยตรง ตัดความสัมพันธ์กับยูโกสลาเวีย และพยายามกวาดล้างฝ่ายที่นิยมยูโกสลาเวียออกจากพรรค

ต่อมาเมื่อนีกีตา ครุชชอฟขึ้นมามีอำนาจใน พ.ศ. 2499 และมีนโยบายผูกมิตรกับยูโกสลาเวียอีกครั้ง และปรับเปลี่ยนนโยบายไปจากยุคของสตาลิน ทำให้ผู้นำแอลเบเนียที่นิยมสตาลินไม่พอใจหันไปสร้างความสัมพันธ์กับสาธารณรัฐประชาชนจีนแทน สหภาพโซเวียตประณามแอลเบเนียที่ไม่ร่วมล้มล้างอิทธิพลของสตาลิน แอลเบเนียจึงโต้ตอบด้วยการปิดฐานทัพเรือดำน้ำของโซเวียตที่เมืองวโลเรอร์

เมื่อเหมา เจ๋อตงถึงแก่กรรมเมื่อ พ.ศ. 2519 และจีนเริ่มดำเนินนโยบายผ่อนปรน ผูกมิตรกับสหรัฐอเมริกามากขึ้น โซซา ผู้นำพรรคอมมิวนิสต์แอลเบเนียไม่พอใจ ตัดความสัมพันธ์กับประเทศจีนเมื่อ พ.ศ. 2520 จากนั้น แอลเบเนียดำเนินนโยบายอยู่อย่างโดดเดี่ยว

ในขณะเดียวกัน การเมืองภายในแอลเบเนียมีความขัดแย้งมากขึ้น เมห์เมต เซฮู ไม่พอใจนโยบายตัดความสัมพันธ์กับจีน พยายามก่อรัฐประหารแต่ไม่สำเร็จ เซฮูถูกประหารชีวิต โซซาปกครองประเทศแบบเผด็จการจนถึงแก่อสัญกรรมเมื่อ 11 เมษายน พ.ศ. 2528 รามิซ อาเลีย ผู้สืบทอดอำนาจต่อจากโซซาดำเนินนโยบายที่ผ่อนปรนมากขึ้น ในที่สุดได้มีการปฏิรูปการเมืองจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อ เดือนมีนาคม พ.ศ. 2534 ผลปรากฏว่าพรรคแรงงานแอลเบเนียได้เสียงส่วนใหญ่ รามิซ อาเลียได้เป็นประธานาธิบดี มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และเปลี่ยนชื่อประเทศเป็นสาธารณรัฐแอลเบเนีย

รัฐบาลของอาเลียปกครองประเทศได้เพียงช่วงสั้นๆ เกิดการชุมนุมประท้วงของกรรมกรที่ต้องการค่าแรงเพิ่ม รัฐบาลใช้กำลังเข้าปราบปรามทำให้เกิดการเคลื่อนไหวต่อต้านไปทั้งประเทศ จนรัฐบาลต้องลาออก หลังการเลือกตั้งครั้งใหม่ เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2535 พรรคประชาธิปไตยชนะการเลือกตั้ง ซาลี เบรีชาได้เป็นประธานาธิบดี เบรีชาปรับระบบเศรษฐกิจของประเทศเป็นแบบเสรี เปิดรับความช่วยเหลือจากต่างชาติมากขึ้น

ในปัจจุบัน แอลเบเนียมีบทบาทสำคัญในการช่วยแก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างชนชาติต่างๆในคาบสมุทรบอลข่าน และเข้าร่วมกิจกรรมระหว่างประเทศต่างๆ แอลเบเนียเป็นสมาชิกสหประชาชาติ ตั้งแต่ พ.ศ. 2498 นอกจากนั้นยังเป็นสมาชิกนาโตในฐานะภาคีสันติภาพ และร่วมจัดตั้งกลุ่มกฎบัตรเอเดรียติกกับโครเอเชีย มาซีโดเนีย และสหรัฐเมื่อ พ.ศ. 2546


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

แรง (ฟิสิกส์) ความยาว การเคลื่อนที่ ทฤษฎีเคออส กลศาสตร์แบบลากรางช์ เอนริโก แฟร์มี สมมาตรยิ่งยวด CERN Large Hadron Collider ไอน์สไตน์ ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป กาลิเลโอ ฟิสิกส์อนุภาค วิศวกรรมวัสดุ เซมิคอนดักเตอร์ นาโนเมตร วัสดุนาโน วัสดุฉลาด วัสดุเชิงก้าวหน้า วัสดุชีวภาพ พอลิเมอร์ เซรามิก สเปกโตรสโกปี อุณหเคมี ไฟฟ้าเคมี เคมีเชิงฟิสิกส์ โลหะอินทรีย์เคมี เคมีพอลิเมอร์ เคมีนิวเคลียร์ ชีววิทยาโมเลกุล เคมีเวชภัณฑ์ เคมีดาราศาสตร์ เคมีไคเนติกส์ สารประกอบอนินทรีย์ สารประกอบเคมี สารประกอบ John Dalton ทฤษฎีโฟลจิสตัน อ็องตวน ลาวัวซีเย Robert Boyle ปฏิกิริยาเคมี รายชื่อคณะวิทยาศาสตร์ในประเทศไทย เคมีสิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม Social psychology วิทยาศาสตร์สังคม เทคนิคการแพทย์ เวชศาสตร์ พยาธิวิทยา เนื้องอกวิทยา ทัศนมาตรศาสตร์ Pharmacy บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ วิทยาศาสตร์พุทธิปัญญา สารสนเทศศาสตร์ วิทยาการสารสนเทศ สัตววิทยา วิทยาไวรัส ประสาทวิทยาศาสตร์ อณูชีววิทยา จุลชีววิทยา วิทยาภูมิคุ้มกัน มีนวิทยา มิญชวิทยา กีฏวิทยา Developmental biology วิทยาเซลล์ ชีววิทยาของเซลล์ วิทยาแผ่นดินไหว ชลธารวิทยา สมุทรศาสตร์ เคมีความร้อน เคมีไฟฟ้า เคมีการคำนวณ เคมีวิเคราะห์ Particle physics พลศาสตร์ของไหล พลศาสตร์ สวนศาสตร์ ฟิสิกส์เชิงทฤษฎี โป๊ป ความเรียง เรอเน เดส์การตส์ การสังเกต การทดลอง ฟรานซิส เบคอน กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ความรู้เชิงประจักษ์ คณิตตรรกศาสตร์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย ไม้บรรทัด กระดูกนาเปียร์ ลูกคิด การแข่งขันคณิตศาสตร์ รางวัลอาเบล เหรียญฟิลด์ส ปัญหาของฮิลแบร์ท กลุ่มความซับซ้อน พี และ เอ็นพี ข้อความคาดการณ์ของปวงกาเร สมมติฐานความต่อเนื่อง

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
235
236
237
238
239
240
241
242
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 24187