ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

พระยาธรรมลังกา

พระยาธรรมลังกา หรือพระญาธัมมลังกา (คำเมือง: ) (พ.ศ. 2289- พ.ศ. 2365) หรือ พระยาเชียงใหม่ช้างเผือก เป็นพระยาเชียงใหม่องค์ที่ 2 ในราชวงศ์ทิพย์จักร และเป็นราชบุตรในเจ้าฟ้าสิงหราชธานี เจ้าฟ้าหลวงชายแก้ว โดยพระองค์ได้ร่วมกับพระเชษฐา และพระอนุชาในการต่อสู้อริราชศัตรูจนได้รับสมัญญานามว่า "เจ้าเจ็ดตน"

พระยาธรรมลังกาเป็นเจ้าราชโอรสองค์ที่ 3 ในเจ้าฟ้าหลวงชายแก้ว เจ้าผู้ครองนครลำปาง กับแม่เจ้าจันทาราชเทวี และเป็นเจ้าราชนัดดา (หลานปู่) ในพระยาไชยสงคราม (ทิพย์ช้าง) (พระญาสุละวะฤๅไชยสงคราม) กับ แม่เจ้าพิมพาราชเทวี ซึ่งเป็นองค์ปฐมวงศ์ "ราชวงศ์ทิพย์จักร"

พระยาธรรมลังกา เป็นพระอนุชาของพระเจ้ากาวิละ มีพระเชษฏา พระอนุชาและพระขนิษฐา รวม 10 พระองค์ (หญิง 3 ชาย 7) (เจ้าชายทั้ง 7 พระองค์ได้ทรงช่วยกันต่อสู้อริราชศัตรูขยายขอบขัณฑสีมาล้านนาออกไปอย่างเกรียงไกร เป็นเหตุให้มีพระสมัญญาว่า "เจ้าเจ็ดตน") มีพระนามตามลำดับ ดังนี้

ในปี พ.ศ. 2317 เมื่อพระเจ้ากาวิละ ร่วมมือกับพระยาจ่าบ้าน และสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ปลดปล่อยล้านนาจากอำนาจของพม่าได้สำเร็จ พระเจ้ากรุงธนบุรีได้สถาปนาพระยาจ่าบ้านเป็น "พระยาวิเชียรปราการ (บุญมา)" เจ้าเมืองเชียงใหม่ เจ้ากาวิละเป็นพระยานครลำปาง และแต่งตั้งเจ้าธรรมลังกาเป็นพระยาราชวงศ์เมืองนครลำปาง และได้เลื่อนอิสริยยศเป็น "พระยาอุปราชเมืองเชียงใหม่" ในปี พ.ศ. 2348

ต่อมาในปี พ.ศ. 2359 พระเจ้ากาวิละถึงแก่พิราลัย พระยาอุปราช (ธรรมลังกา) จึงได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น "พระยาเชียงใหม่" เมื่อวันขึ้น 12 ค่ำ เดือน 9 เหนือ (ตรงกับวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2360) และอัญเชิญพระยาลำพูนคำฝั้น (พระอนุชา) มาเป็นพระยาอุปราช และให้พระยาอุปราชบุญมา เป็นพระเจ้าลำพูนไชยสืบแทน

พ.ศ. 2359 คราเสด็จไปเฝ้าพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เพื่อรับพระบรมราชโองการเป็นผู้ครองนครเชียงใหม่ ได้ถวายช้างเผือกแด่รัชกาลที่ 2 จึงได้รับสมัญญาว่า พระยาเชียงใหม่ช้างเผือก

พระยาธรรมลังกา ได้ทรงปกครองนครเชียงใหม่อย่างสงบสุข ตราบจนเมื่อวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 8 เหนือ พ.ศ. 2364 (ตรงกับวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2365) ได้ประชวร และได้ถึงแก่พิราลัยในวันรุ่งขึ้น รวมพระชนมายุ 77 พรรษา ทรงปกครองนครเชียงใหม่รวมทั้งสิ้น 6 ปี

พระยาธรรมลังกา มีเจ้าราชโอรสและราชธิดา รวม 17 พระองค์ อยู่ในราชวงศ์ทิพย์จักร มีพระนามตามลำดับ ดังนี้

ในรัชสมัยของพระเจ้ากาวิละ ได้ร่วมกับเจ้าน้อยธรรมลังกา และขุนนางไพร่ฟ้าในการสร้างวิหารในวัดอินทขีลที่เวียงป่าซาง และวิหารวัดอินทขีล ในกลางเมืองเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2337 ต่อมาในปี พ.ศ. 2360 เจ้าหลวงธรรมลังกา เห็นว่ากู่ลาย วัดพระสิงห์ ได้ทรุดโทรมลงไปมาก จึงดำรให้มีการซ่อมแซมและขุดแต่งพระเจดีย์ดังกล่าว และได้พบของมีค่าเป็นอันมาก ซึ่งก็ให้บรรจุไว้ในที่เดิมแล้วปฏิสังขรณ์พระเจดีย์นั้นต่อจนเสร็จแล้วจึงมีการฉลองใหญ่ และในปีเดียวกันก็ได้สร้างวิหารจตุรมุขของวัดพระธาตุศรีจอมทองขึ้นใหม่ โดยทำการยกเสาเมื่อเดือนหกเหนือ ขึ้น 13 ค่ำ ตรงกับวันพฤหัสบดี พร้อมกันนั้นได้สร้างมณฑปของเสาอินทขีล ที่บริเวณวัดเจดีย์หลวง และยังเริ่มก่อสร้างสถูปในที่ท่ามกลางอุโบสถภิกขุนีในวัดพระสิงห์ และได้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุในเดือนแปดเหนือ ขึ้น 10 ค่ำ ปี พ.ศ. 2361

ในปี พ.ศ. 2362 เจ้าหลวงได้ดำริให้มีการฉลองใหญ่ในวัดอุโมงค์ วัดดวงดี วัดสะเพา และวัดพันเท่า ในงานนี้มีการฉลองกันอย่างยิ่งใหญ่ และในเดือนแปดเหนือ ได้ดำริให้ยกเสาวิหารวัดป้านพิง วัดดอกคำ วัดเชียงยืน และวัดบุพผาราม อีกทั้งได้มีการก่อสร้างกำแพงวัดพระธาตุศรีจอมทองด้วย

ในปี พ.ศ. 2363 เจ้าหลวงธรรมลังกา ได้ไปนมัสการพระพุทธบาทสี่รอยและได้สร้างวิหารคร่อมรอยพระพุทธบาทนั้น ในเดือนหกเหนือแรม 8 ค่ำ และจากนั้นจึงได้ไปนมัสการพระบาทเจ้าข่วงเพา และสร้างพระพุทรูปขนาดใหญ่ในวัดพระสิงห์

ในปี พ.ศ. 2365 ได้ทำบุญฉลองพระอุโบสถวัดเจดีย์หลวง และในปีเดียวกันนี้เจ้าหลวงธรรมลังกา ได้ทรงผนวชที่วัดเชียงมั่นด้วย ในปีถัดมาได้ทรงดำริให้อัญเชิญพระพุทธรูปสำคัญที่อยู่ในวัดร้างนอกเขตกำแพงเมือง เข้ามาไว้ในตัวเมือง เช่น พระเจ้าแฅ่งฅม ไว้ที่วัดศรีเกิด

เมื่อปี พ.ศ. 2360 ได้ทรงดำริให้เสนาข้าราชการและประชาชนขุดเหมือง 3 สาย โดยเริ่มที่จุดรับน้ำจากแจ่งหัวลินไปทางแจ่งสรีภูมิ แล้ววนไปทางแจ่งคะท้ำ สายที่สองไปตามถนนหลวงหน้าวัดดับภัยและวัดพระสิงห์ลงไป สายที่สามเลียบตามเชิงเทินทิศตะวันตกไปทางใต้ ผ่านด้านเหนือของ "หอคำ" แล้วเลี้ยวออกท่อที่แจ่งคะท้ำหน้าวัดซานมูน (วัดทรายมูลพม่า ในปัจจุบัน) โดยให้ก่ออิฐทั้งสองข้างของลำเหมืองทุกสาย ประชาชนในตัวเมืองได้ใช้ประโยชน์จากลำเหมืองทั้งสามสาย

ในยุคของเจ้าหลวงธรรมลังกา ได้มีการบูรณะซ่อมแซมกำแพงเมืองเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2361 ซึ่งกำแพงดังกล่าวถูกสร้างขึ้นในรัชสมัยพระเจ้ากาวิละ (พ.ศ. 2339) โดยบูรณะกำแพงเมือง เริ่มการขุดลอกคูเมืองตั้งแต่แจ่งกูเรืองไปจนถึงประตูไหยา มีความยาว 606 วา จนถึงปี พ.ศ. 2363 ได้เริ่มก่อสร้างกำแพงเมือง โดยเริ่มก่อสร้างในเวลารุ่งเช้า มีการยิงปืนใหญ่สามนัด นิมนต์ครูบาสมเด็จวัดผ้าขาว ครูบาจันทรังสี วัดพระสิงห์ และพระสงฆ์อีก 19 รูป สวดมนตรี์ โปรยน้ำโปรยทราย และเริ่มก่อสร้างจากแจ่งสรีภูมิเวียนไปทางซ้าย


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

แรง (ฟิสิกส์) ความยาว การเคลื่อนที่ ทฤษฎีเคออส กลศาสตร์แบบลากรางช์ เอนริโก แฟร์มี สมมาตรยิ่งยวด CERN Large Hadron Collider ไอน์สไตน์ ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป กาลิเลโอ ฟิสิกส์อนุภาค วิศวกรรมวัสดุ เซมิคอนดักเตอร์ นาโนเมตร วัสดุนาโน วัสดุฉลาด วัสดุเชิงก้าวหน้า วัสดุชีวภาพ พอลิเมอร์ เซรามิก สเปกโตรสโกปี อุณหเคมี ไฟฟ้าเคมี เคมีเชิงฟิสิกส์ โลหะอินทรีย์เคมี เคมีพอลิเมอร์ เคมีนิวเคลียร์ ชีววิทยาโมเลกุล เคมีเวชภัณฑ์ เคมีดาราศาสตร์ เคมีไคเนติกส์ สารประกอบอนินทรีย์ สารประกอบเคมี สารประกอบ John Dalton ทฤษฎีโฟลจิสตัน อ็องตวน ลาวัวซีเย Robert Boyle ปฏิกิริยาเคมี รายชื่อคณะวิทยาศาสตร์ในประเทศไทย เคมีสิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม Social psychology วิทยาศาสตร์สังคม เทคนิคการแพทย์ เวชศาสตร์ พยาธิวิทยา เนื้องอกวิทยา ทัศนมาตรศาสตร์ Pharmacy บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ วิทยาศาสตร์พุทธิปัญญา สารสนเทศศาสตร์ วิทยาการสารสนเทศ สัตววิทยา วิทยาไวรัส ประสาทวิทยาศาสตร์ อณูชีววิทยา จุลชีววิทยา วิทยาภูมิคุ้มกัน มีนวิทยา มิญชวิทยา กีฏวิทยา Developmental biology วิทยาเซลล์ ชีววิทยาของเซลล์ วิทยาแผ่นดินไหว ชลธารวิทยา สมุทรศาสตร์ เคมีความร้อน เคมีไฟฟ้า เคมีการคำนวณ เคมีวิเคราะห์ Particle physics พลศาสตร์ของไหล พลศาสตร์ สวนศาสตร์ ฟิสิกส์เชิงทฤษฎี โป๊ป ความเรียง เรอเน เดส์การตส์ การสังเกต การทดลอง ฟรานซิส เบคอน กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ความรู้เชิงประจักษ์ คณิตตรรกศาสตร์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย ไม้บรรทัด กระดูกนาเปียร์ ลูกคิด การแข่งขันคณิตศาสตร์ รางวัลอาเบล เหรียญฟิลด์ส ปัญหาของฮิลแบร์ท กลุ่มความซับซ้อน พี และ เอ็นพี ข้อความคาดการณ์ของปวงกาเร สมมติฐานความต่อเนื่อง

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
235
236
237
238
239
240
241
242
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 24187