ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

ระบบสืบพันธุ์ของมนุษย์

บทความนี้ว่าด้วยเพศสภาพของมนุษย์ ซึ่งเกี่ยวกับอวัยวะเพศ กิจกรรมทางเพศ รสนิยมทางเพศ ฯลฯ เพื่อจุดประสงค์เชิงสารานุกรม

อวัยวะสำคัญของระบบสืบพันธุ์ของมนุษย์ อาทิ อวัยวะเพศภายนอก (องคชาตและช่องสังวาส) และอวัยวะภายในจำนวนมากได้แก่ต่อมเพศซึ่งผลิตเซลล์สืบพันธุ์ (อัณฑะและรังไข่) โรคในระบบสืบพันธุ์ของมนุษย์ซึ่งมักจะเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์นั้นพบได้บ่อยและแพร่กระจายอย่างกว้างขวาง

โดยทั่วไป สัตว์มีแกนสันหลังชนิดอื่นๆ มีระบบสืบพันธุ์ที่ประกอบด้วยต่อมเพศ ท่อและรูเปิดคล้ายคลึงกับมนุษย์ แต่ก็มีความหลากหลายทางกายภาพอันเกิดจากการปรับตัวในสัตว์มีแกนสันหลังทุกกลุ่ม

การสืบพันธุ์ของมนุษย์เกิดขึ้นแบบปฏิสนธิภายในโดยร่วมเพศ ในกระบวนการดังกล่าวองคชาตของเพศชายจะสอดใส่ในช่องคลอดของเพศหญิงจนกระทั่งเพศชายหลั่งน้ำอสุจิซึ่งประกอบด้วยอสุจิประมาณ 70 ล้านตัวเข้าไปในช่องคลอดของเพศหญิง อสุจิซึ่งเป็นเซลล์สืบพันธุ์เพศชายจำนวนมากจะเคลื่อนที่ผ่านช่องคลอดและปากมดลูกเข้าไปในมดลูกหรือท่อนำไข่เพื่อปฏิสนธิกับไข่ หลังการปฏิสนธิและฝังตัวจะเกิดการตั้งครรภ์ของทารกในครรภ์ขึ้นภายในมดลูกของเพศหญิงซึ่งใช้เวลาประมาณ 9 เดือน การตั้งครรภ์จะสิ้นสุดลงเมื่อทารกคลอด การคลอดนั้นต้องอาศัยการบีบตัวของกล้ามเนื้อมดลูก การเปิดออกของปากมดลูก แล้วทารกจึงจะผ่านออกมาทางช่องคลอดได้ ทารกนั้นจะไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้และต้องอาศัยการดูแลจากผู้ปกครองเป็นเวลาหลายปี หนึ่งในการดูแลดังกล่าวคือการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ซึ่งต้องอาศัยต่อมน้ำนมที่อยู่ภายในเต้านมของเพศหญิง

ในมนุษย์มีการเจริญและพัฒนาของระบบสืบพันธุ์อย่างมากมาย นอกเหนือจากการเปลี่ยนแปลงในเกือบทุกอวัยวะในระบบสืบพันธุ์แล้วนั้น ยังพบการเปลี่ยนแปลงอีกในลักษณะเฉพาะทางเพศขั้นทุติยภูมิ (secondary sexual characteristics)

ระบบสืบพันธุ์เพศชายประกอบด้วยอวัยวะที่อยู่ภายนอกร่างกายและรอบๆ บริเวณเชิงกรานซึ่งทำหน้าที่ในกระบวนการสืบพันธุ์ หน้าที่หลักโดยตรงของระบบสืบพันธุ์เพศชายคือการสร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศชายหรือสเปอร์มาโทซัว (spermatozoa) เพื่อใช้ผสมพันธุ์กับไข่

อวัยวะสืบพันธุ์เพศชายแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม กลุ่มแรกคือการสร้างและเก็บตัวอสุจิ การสร้างตัวอสุจิเกิดขึ้นภายในอัณฑะที่อยู่ภายในถุงอัณฑะซึ่งช่วยควบคุมอุณหภูมิให้เหมาะสม อสุจิที่ยังไม่เจริญเต็มที่จะเคลื่อนที่ไปยังเอพิดิไดมิส (epididymis) เพื่อพัฒนาและกักเก็บ อวัยวะในกลุ่มที่สองคือต่อมสร้างของเหลวในการหลั่งน้ำอสุจิซึ่งได้แก่ถุงน้ำอสุจิ (seminal vesicles), ต่อมลูกหมาก (prostate) และหลอดนำอสุจิ (vas deferens) และในกลุ่มสุดท้ายคืออวัยวะที่ใช้ในการร่วมเพศและหลั่งน้ำอสุจิในเพศหญิงได้แก่องคชาต ท่อปัสสาวะ หลอดนำอสุจิ และต่อมคาวเปอร์

ลักษณะเฉพาะทางเพศขั้นทุติยภูมิในเพศชายได้แก่ การมีร่างกายสูงใหญ่ โครงร่างกายมีกล้ามเนื้อมากขึ้น เสียงห้าวทุ้ม มีขนตามใบหน้าและลำตัว ไหล่กว้างขึ้น การเจริญของลูกกระเดือกฮอร์โมนที่สำคัญในเพศชายคือแอนโดรเจนและโดยเฉพาะอย่างยิ่งเทสโทสเตอโรน

ระบบสืบพันธุ์เพศหญิงประกอบด้วยอวัยวะซึ่งส่วนใหญ่อยู่ภายในร่างกายและรอบๆ บริเวณเชิงกรานซึ่งทำหน้าที่ในกระบวนการสืบพันธุ์ ระบบสืบพันธุ์เพศหญิงประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก ได้แก่ ช่องคลอดทำหน้าที่รองรับอสุจิจากเพศชาย, มดลูกซึ่งช่วยรองรับทารกในครรภ์ และรังไข่ทำหน้าที่ผลิตไข่ เต้านมก็เป็นอวัยวะสืบพันธุ์ที่สำคัญอย่างหนึ่งในระยะการดูแลทารก

ช่องคลอดจะเปิดออกภายนอกที่โยนีซึ่งประกอบด้วยแคม คลิตอริส และท่อปัสสาวะ ในระหว่างการมีเพศสัมพันธ์บริเวณเหล่านี้จะหล่อลื่นด้วยเมือกซึ่งคัดหลังจากต่อมบาร์โธลีน (Bartholin's glands) ช่องคลอดต่อเนื่องกับมดลูกโดยมีปากมดลูกอยู่ระหว่างกลาง ในขณะที่มดลูกต่อเนื่องกับรังไข่ผ่านทางท่อนำไข่ ในทุกๆ ช่วงรอบประมาณ 28 วันรังไข่จะปล่อยไข่ออกมาผ่านท่อนำไข่เข้าไปยังมดลูก เยื่อบุมดลูกซึ่งดาดอยู่ด้านในมดลูกและไข่ที่ไม่ได้รับการผสมกับอสุจิจะไหลออกและถูกกำจัดออกไปทุกรอบเดือน ซึ่งเราเรียกกระบวนการนี้ว่า การมีประจำเดือน (menstruation)

ลักษณะเฉพาะทางเพศขั้นทุติยภูมิในเพศหญิงได้แก่ การมีร่างกายเล็กกว่าเพศชาย ร่างกายมีร้อยละของไขมันสูง สะโพกกว้างขึ้น การเจริญของต่อมน้ำนมและเต้านมขยายขนาด ฮอร์โมนเพศที่สำคัญในเพศหญิงคือเอสโตรเจนและโพรเจสเตอโรน


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

แรง (ฟิสิกส์) ความยาว การเคลื่อนที่ ทฤษฎีเคออส กลศาสตร์แบบลากรางช์ เอนริโก แฟร์มี สมมาตรยิ่งยวด CERN Large Hadron Collider ไอน์สไตน์ ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป กาลิเลโอ ฟิสิกส์อนุภาค วิศวกรรมวัสดุ เซมิคอนดักเตอร์ นาโนเมตร วัสดุนาโน วัสดุฉลาด วัสดุเชิงก้าวหน้า วัสดุชีวภาพ พอลิเมอร์ เซรามิก สเปกโตรสโกปี อุณหเคมี ไฟฟ้าเคมี เคมีเชิงฟิสิกส์ โลหะอินทรีย์เคมี เคมีพอลิเมอร์ เคมีนิวเคลียร์ ชีววิทยาโมเลกุล เคมีเวชภัณฑ์ เคมีดาราศาสตร์ เคมีไคเนติกส์ สารประกอบอนินทรีย์ สารประกอบเคมี สารประกอบ John Dalton ทฤษฎีโฟลจิสตัน อ็องตวน ลาวัวซีเย Robert Boyle ปฏิกิริยาเคมี รายชื่อคณะวิทยาศาสตร์ในประเทศไทย เคมีสิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม Social psychology วิทยาศาสตร์สังคม เทคนิคการแพทย์ เวชศาสตร์ พยาธิวิทยา เนื้องอกวิทยา ทัศนมาตรศาสตร์ Pharmacy บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ วิทยาศาสตร์พุทธิปัญญา สารสนเทศศาสตร์ วิทยาการสารสนเทศ สัตววิทยา วิทยาไวรัส ประสาทวิทยาศาสตร์ อณูชีววิทยา จุลชีววิทยา วิทยาภูมิคุ้มกัน มีนวิทยา มิญชวิทยา กีฏวิทยา Developmental biology วิทยาเซลล์ ชีววิทยาของเซลล์ วิทยาแผ่นดินไหว ชลธารวิทยา สมุทรศาสตร์ เคมีความร้อน เคมีไฟฟ้า เคมีการคำนวณ เคมีวิเคราะห์ Particle physics พลศาสตร์ของไหล พลศาสตร์ สวนศาสตร์ ฟิสิกส์เชิงทฤษฎี โป๊ป ความเรียง เรอเน เดส์การตส์ การสังเกต การทดลอง ฟรานซิส เบคอน กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ความรู้เชิงประจักษ์ คณิตตรรกศาสตร์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย ไม้บรรทัด กระดูกนาเปียร์ ลูกคิด การแข่งขันคณิตศาสตร์ รางวัลอาเบล เหรียญฟิลด์ส ปัญหาของฮิลแบร์ท กลุ่มความซับซ้อน พี และ เอ็นพี ข้อความคาดการณ์ของปวงกาเร สมมติฐานความต่อเนื่อง

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
235
236
237
238
239
240
241
242
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 24187