ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

อลาสก้า

รัฐอะแลสกา (อังกฤษ: State of Alaska, เสียงอ่านภาษาอังกฤษ: /??l?s k?/) รวมเข้าเป็นหนึ่งเดียวกับสหรัฐอเมริกา นับเป็นรัฐที่ 49 มีจำนวนประชากร 626,932 คน (พ.ศ. 2543) ชื่อ อะแลสกา นั้นน่าจะเพี้ยนมาจากคำในภาษาแอลิอุต ซึ่งเป็นภาษาท้องถิ่นว่า "Alyeska" แปลว่า "ดินแดนที่ไม่ใช่เกาะ"

18 ตุลาคม 1867 หรือเมื่อประมาณ 145 ปีที่แล้ว เป็นวันที่อะแลสกาของรัสเซียเข้ามาอยู่ภายใต้การปกครองของสหรัฐโดยสมบูรณ์ โดยในวันนั้น ที่เมือง โนวา - อาร์คานเกลสค์ เมืองหลวงอะแลสกาของรัสเซีย ที่ต่อมาถูกเปลี่ยนกลับมาใช้ชื่อเดิมคือ ซิทก้า ได้มีพิธีส่งมอบคาบสมุทรแห่งนี้ให้กับสหรัฐ

ตามประวัติเชื่อว่าคนเชื้อสายเอเชียอพยพข้ามช่องแคบแบริ่ง เข้ามาลงหลักปักฐานที่อะแลสการาวเมื่อ 1 หมื่น 2 พันปีก่อน การเข้าไปติดต่อกับคนที่นี่ของชาวยุโรป เกิดขึ้นครั้งแรกในปี 1741 เมื่อ วิตุส แบริ่ง เดินทางไปที่นั่นกับเรือเซ็นต์ปีเตอร์ เพื่อทำการสำรวจให้กับกองทัพเรือรัสเซีย และเมื่อคณะสำรวจกลับออกมา ขนสัตว์จากที่นั่นก็ได้รับการยกย่องว่ามีคุณภาพดีเยี่ยม คณะนักค้าขนสัตว์เล็กๆ จึงเริ่มมาที่อะแลสกา โดยหลักฐานการตั้งหลักฐานของชาวยุโรปที่นี่ว่าเกิดขึ้นในปี 1784

ตั้งแต่ช่วงต้นจนถึงช่วงกลางทศวรรษที่ 1800 รัสเซียและสหรัฐเริ่มเข้ามาสำรวจอะแลสกาเพื่อโครงการขยายอาณานิคม แต่รัสเซียไม่เคยผนวกอะแลสกาเป็นอาณานิคมโดยสมบูรณ์ และก็ไม่ได้หาประโยชน์จากดินแดนแห่งนี้มากนัก ผิดกับฝ่ายสหรัฐที่ได้แสดงความสนใจในดินแดนแห่งนี้

ข้อตกลงเรื่องการขายอะแลสกา ลงนามโดยนายวิลเลี่ยม เซวาร์ด รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐเมื่อ 30 มีนาคม 1867 งานนี้ฝ่ายอเมริกันต้องจ่ายเป็นค่าดินแดนขนาด 1 ล้าน 5 แสนตารางกิโลเมตรเพียง 7 ล้าน 2 แสนดอลล่าร์ หรือเทียบเท่ากับ 11 ล้านรูเบิ้ลทองคำ

ในยุคปัจจุบันนี้ นักประวัติศาสตร์หลายคนออกมาตำหนิการตัดสินพระทัยขายอะแลสกาของพระเจ้าซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 2 ว่ามองการณ์ใกล้ และไม่มีความรักชาติเอาเสียเลย ขายไปได้ยังไง คนรัสเซียที่อยู่ที่นั่นก็ตั้งมากมาย แต่นักประวัติศาสตร์หลายคนบอกว่าในยุคที่ขายนั้น คนรัสเซียในอะแลสกามีอยู่แค่ไม่กี่ร้อยคน ทรัพยากรธรรมชาติมีค่าอะไรก็ยังหาไม่พบ

ส่วนทางฝ่ายสหรัฐฯ หลายคนในยุคนั้น มองไม่เห็นประโยชน์ของการซื้ออะแลสกา ดินแดนที่ทั้งไกลก็ไกล ร้างผู้คนก็ร้าง สื่อมวลชนในยุคนั้นก็ล้อเลียนรัฐบาลว่าเสียเงินไปมากมายเพื่อซื้อก้อนน้ำแข็ง ถึงขั้นมีข่าวลือว่านักการทูตรัสเซียยัดเงินใต้โต๊ะให้ข้าราชการสหรัฐเดินเรื่องเพื่อให้มีการซื้อขาย เพิ่งจะปลายศตวรรษที่ 19 เท่านั้นที่เริ่มมีการค้นพบทองคำ ต่อมาก็ยังพบน้ำมันและก๊าซธรรมชาติอีกมากมายมหาศาล

ตอนแรกเมื่อมาอยู่กับสหรัฐนั้น อะแลสกาอยู่ในการดูแลของกระทรวงการทหาร ต่อมาก็ถูกยกระดับสถานะเรื่อยมา จนได้เป็นรัฐที่ 49 ของสหรัฐ เมื่อ 1959

รัฐอะแลสกามีพื้นที่ทางตะวันออกติดต่อกับดินแดนยูคอนเทร์ริทอรีและรัฐบริติชโคลัมเบียของแคนาดา ทางใต้ติดต่อกับอ่าวอะแลสกาและมหาสมุทรแปซิฟิก ทางตะวันตกติดกับทะเลเบริง ช่องแคบเบริง และทะเลชุคชี ส่วนทางเหนือติดกับทะเลโบฟอร์ตและมหาสมุทรอาร์กติก อะแลสกาเป็นรัฐที่มีพื้นที่กว้างใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา

คล้ายกับรัฐอื่น ๆ ของสหรัฐอเมริกา รัฐอะแลสกาปกครองแบบสาธารณรัฐ ด้านการปกครองแบ่งเป็นสามส่วน คือ ด้านการบริหารประกอบด้วยผู้ว่าการรัฐและเจ้าหน้าที่ที่มาจากการเลือกตั้ง ด้านกฎหมายประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา และด้านศาลปกครองประกอบด้วยศาลสูงและศาลล่าง

รายได้หลักของอะแลสกามาจากน้ำมันและเงินอุดหนุนของรัฐ ทำให้รัฐกำหนดให้รัฐอะแลสกามีฐานภาษีรายได้ต่ำมากที่สุดรัฐหนึ่งของสหรัฐอเมริกา ในขณะที่อะแลสกาไม่มีการคิดภาษีจากการขายสินค้า แต่เมือง 89 เมืองของรัฐมีการเก็บภาษีสินค้าในอัตรา 1-7.5% ซึ่งเมืองในรัฐอื่นเก็บภาษีที่ 3-5% สินค้าที่มีการเก็บภาษี ได้แก่ ปลาสด โรงแรม ที่พัก ภาษีจากจำนวนเตียงของการบริการที่พักแบบ bed-and-breakfast ภาษีจากกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับพลังงานไม่หมุนเวียน (severance taxes) เครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ ยาสูบ เกม pull tab ยางรถยนต์ และการขนถ่ายน้ำมัน นอกจากนี้รายได้บางส่วนยังเก็บจากภาษีของรัฐและค่าลิขสิทธิ์รวมกันร่วมกับเมืองต่างๆ ในรัฐอะแลสกา

เมือง Fairbanks มีการเก็บภาษีที่ดินที่แพงที่สุดในรัฐอะแลสกา ขณะที่ไม่มีการเก็บภาษีจากการขายสินค้าหรือภาษีเงินได้

ในปี 2008 องค์กรด้านภาษี (Tax Foundation) ได้จัดอันดับรัฐอะแลสกาให้เป็นอันดับที่ 4 ของการมีนโยบายด้านภาษีที่ "เป็นมิตรต่อธุรกิจ" ส่วนรัฐอันดับอื่นๆ ที่มีความเป็นมิตร คือ รัฐไวโอมิ่ง รัฐเนวาดา และรัฐเซาธ์ดาโกต้า

ในปี 2007 ผลิตภัณฑ์มวลรวมของรัฐ (gross state product) เท่ากับ 44.9 พันล้านเหรียญสหรัฐนับเป็นอันดับที่ 45 ของประเทศ รายได้ส่วนบุคคลเป็น 40,042 เหรียญสหรัฐจัดเป็นอันดับที่ 15 ของประเทศ น้ำมันและก๊าซธรรมชาติเป็นอุตสาหกรรมหลักของรัฐอะแลสกา และมากกว่า 80% ของรายได้ของรัฐมาจากการกลั่นน้ำมัน ส่วนผลิตภัณฑ์การส่งออกอื่นๆ (นอกเหนือจากน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ) คือ อาหารทะเล แซลมอน ปลาคอด ปลา pollock และปู

การเกษตรมีผลต่อเศรษฐกิจถือเป็นอัตราส่วนที่น้อย การเกษตรกรรมส่วนใหญ่เพื่อการบริโภคภายในรัฐเอง รวมถึงการเลี้ยงสัตว์ ผลิตภัณฑ์จากนม ผัก และปศุสัตว์ ด้านโรงงานการผลิตสินค้ามีไม่มาก อาหารสัตว์ส่วนใหญ่และอาหารทั่วไปถูกนำเข้าจากที่อื่น

การจ้างงานโดยหลักแล้วอยู่ในองค์กรของรัฐและอุตสาหกรรรม ตัวอย่างเช่น การกลั่นน้ำมัน การเดินเรือ และการขนส่ง มีการตั้งเขตทหารในบริเวณ Fairbanks และ Anchorage นอกจากนี้ เงินอุดหนุนจากรัฐบาลถือเป็นส่วนสำคัญต่อเศรษฐกิจของอะแลสกา โดยมีกฎหมายของรัฐในระบบการจัดเก็บภาษีที่ต่ำ มีการเติบโตของด้านการบริการและการท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวบางส่วนได้มีการสร้างที่พักชุมชนเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจของรัฐ

ส่วนใหญ่จากมีการรวบรวมวัฒนธรรมของทุกรัฐในสหรัฐอเมริกากับวัฒนธรรมชาวพื้นเมืองอะแลสกา โดยมีงาน Alaska Native Heritage Center จัดทุกปีมีจุดประสงค์ของงานคือเพื่อเสริมสร้างความภาคภูมิใจในตนเองของชาวพื้นเมืองและเพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนข้ามวัฒนธรรมของคนทั้งหมด นอกจากนี้ ยังมีเทศกาล เป็นการแข็งความแข็งแรงของสุนัขในเมืองหนาว โดยเริ่มที่เมือง Achorage และสิ้นสุดที่เมือง Nome และยังมีการแข่งขัย World Ice Art Championships เป็นการแข่งขันทำศิลปะจากหิมะจากทั่วทุกมุมโลก


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

แรง (ฟิสิกส์) ความยาว การเคลื่อนที่ ทฤษฎีเคออส กลศาสตร์แบบลากรางช์ เอนริโก แฟร์มี สมมาตรยิ่งยวด CERN Large Hadron Collider ไอน์สไตน์ ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป กาลิเลโอ ฟิสิกส์อนุภาค วิศวกรรมวัสดุ เซมิคอนดักเตอร์ นาโนเมตร วัสดุนาโน วัสดุฉลาด วัสดุเชิงก้าวหน้า วัสดุชีวภาพ พอลิเมอร์ เซรามิก สเปกโตรสโกปี อุณหเคมี ไฟฟ้าเคมี เคมีเชิงฟิสิกส์ โลหะอินทรีย์เคมี เคมีพอลิเมอร์ เคมีนิวเคลียร์ ชีววิทยาโมเลกุล เคมีเวชภัณฑ์ เคมีดาราศาสตร์ เคมีไคเนติกส์ สารประกอบอนินทรีย์ สารประกอบเคมี สารประกอบ John Dalton ทฤษฎีโฟลจิสตัน อ็องตวน ลาวัวซีเย Robert Boyle ปฏิกิริยาเคมี รายชื่อคณะวิทยาศาสตร์ในประเทศไทย เคมีสิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม Social psychology วิทยาศาสตร์สังคม เทคนิคการแพทย์ เวชศาสตร์ พยาธิวิทยา เนื้องอกวิทยา ทัศนมาตรศาสตร์ Pharmacy บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ วิทยาศาสตร์พุทธิปัญญา สารสนเทศศาสตร์ วิทยาการสารสนเทศ สัตววิทยา วิทยาไวรัส ประสาทวิทยาศาสตร์ อณูชีววิทยา จุลชีววิทยา วิทยาภูมิคุ้มกัน มีนวิทยา มิญชวิทยา กีฏวิทยา Developmental biology วิทยาเซลล์ ชีววิทยาของเซลล์ วิทยาแผ่นดินไหว ชลธารวิทยา สมุทรศาสตร์ เคมีความร้อน เคมีไฟฟ้า เคมีการคำนวณ เคมีวิเคราะห์ Particle physics พลศาสตร์ของไหล พลศาสตร์ สวนศาสตร์ ฟิสิกส์เชิงทฤษฎี โป๊ป ความเรียง เรอเน เดส์การตส์ การสังเกต การทดลอง ฟรานซิส เบคอน กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ความรู้เชิงประจักษ์ คณิตตรรกศาสตร์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย ไม้บรรทัด กระดูกนาเปียร์ ลูกคิด การแข่งขันคณิตศาสตร์ รางวัลอาเบล เหรียญฟิลด์ส ปัญหาของฮิลแบร์ท กลุ่มความซับซ้อน พี และ เอ็นพี ข้อความคาดการณ์ของปวงกาเร สมมติฐานความต่อเนื่อง

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
235
236
237
238
239
240
241
242
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 24187