ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

เรดอน

เรดอน (อังกฤษ: Radon) คือธาตุเคมีที่มีหมายเลขอะตอม 86 และสัญลักษณ์คือ Rn เรดอนเป็นธาตุกัมมันตรังสีที่เป็นก๊าซเฉื่อย (radioactive noble gas) ได้จากการแยกสลายธาตุเรเดียม เรดอนเป็นก๊าซที่หนักที่สุดและเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ไอโซโทปของเรดอนคือ Rn-222 ใช้ในงานรักษาผู้ป่วยแบบเรดิโอเธอราปี (radiotherapy) ก๊าซเรดอนที่สะสมในบ้านเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งปอดและทำให้ผู้ป่วยในสหภาพยุโรปเสียชีวิตปีละ 20,000 คน

เรดอนถูกสร้างขึ้นโดยผ่านกระบวนการอีกขั้นหนึ่งของการย่อยสลายธาตุกัมมันตรังสีทั่วไป โดยที่ธอเรียมและยูเรเนียมซึ่งเป็นธาตุกัมมันตภาพดึกดำบรรพ์ที่มีอยู่ตั้งแต่ครั้งที่โลกเริ่มก่อตัวขึ้น ได้เกิดการสลายตัวของธาตุและให้ผลเป็นธาตุเรเดียม และการสลายตัวของเรเดียมจึงทำให้เกิดธาตุเรดอน ซึ่งเมื่อเรดอนสลายตัว ก็ทำให้เกิดธาตุ radon  daughter อันเป็นชื่อเรียกของธาตุกัมมันตรังสีใหม่ที่ได้มา ซึ่งต่างจากเรดอนที่มีสถานะเป็นแก๊ซตรงที่มีสถานะเป็นของแข็งและเกาะติดกับพื้นผิว

เรดอนจัดเป็นก๊าซเฉื่อยที่ไร้รส สี และกลิ่น ไม่สามารถตรวจจับได้ด้วยผัสสะสัมผัสของมนุษย์ ในอุณหภูมิและความดันมาตรฐาน เรดอนจะมีสภาพเป็นก๊าซอะตอมเดี่ยวที่มีความหนาแน่นเท่ากับ 9.73 กิโลกรัม/เมตร3, มากกว่าความหนาแน่นของชั้นบรรยากาศโลกที่ระดับน้ำทะเลประมาณ 8 เท่า

เรดอนจะสามารถสังเกตเห็นได้เมื่อนำไปแช่เย็นในอุณหภูมิที่ต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง ซึ่งจะเปล่งแสงเป็นสีเหลืองไปถึงแดงส้มแปรผันตามอุณหภูมิที่ลดลง ด้วยสาเหตุจากการแผ่รังสีที่เข้มข้นขึ้น

เรดอนสามารถละลายในน้ำได้ ซึ่งสามารถละลายได้มากกว่าเมื่อเทียบกับก๊าซมีตระกูลชนิดอื่น และละลายได้ดีกว่าในของเหลวชีวภาพเมื่อเทียบกับการละลายในน้ำ

เรดอนจัดเป็นสมาชิกของกลุ่มธาตุวาเลนซ์เป็นศูย์หรือถูกเรียกว่ากลุ่มก๊าซมีตระกูล ในการดึงอีเล็กตรอนหนึ่งๆออกจากเปลือกต้องใช้พลังงานไอออไนเซชัน 1037 กิโลจูล/โมล เรดอนมีอิเล็กโตรเนกาทิวิตีต่ำกว่าซีนอนอ้างอิงจากตารางธาตุ ดังนั้นจีงเกิดปฏิกิริยาได้มากกว่า

การทดลองเกี่ยวกับธาตุเรดอนนั้นมีน้อยเนื่องด้วยปัจจัยทางด้านค่าใช้จ่ายที่สูงกอปรกับเป็นธาตุกัมมันตรังสี เรดอนสามารถออกซิไดซ์ได้ด้วยตัวออกซิ ไดซ์ที่มีประสิทธิภาพอย่างฟลูออรีนซึ่งจะทำให้เกิดเรดอนไดฟลูออรีน อันสามารถแยกส่วนกลับไปสู่ธาตุเดิมได้ในอุณหภูมิที่มากกว่า 250 องศาเซลเซียส เรดอนมีระดับการระเหยเป็นไอที่ต่ำและถูกเชื่อว่าเป็น RnF2

เนื่องจากเรดอนมีครึ่งชีวิตที่สั้นและสารประกอบที่มีกัมมันตภาพรังสีจึงทำให้การตรวจสอบรายละเอียดของสารประกอบทำได้ยาก ทำให้มีเพียงข้อตั้งทางทฤษฎีที่คาดว่าเรดอนน่าจะมีระยะระหว่างพันธะ Rn-F เป็น 2.08 ? และสารประกอบมีอุณหพลศาสตร์ที่คงที่และผันผวนน้อยกว่าเมื่อเทียบกับ XeF2 .

เรดอนไม่มีไอโซโทปคงที่ โดยทั่วไปจะมีไอโซโทปกัมมันตรังสี 36 ตัว ที่มีมวลอะตอมตั้งแต่ 193 ถึง 228 ประกอบเข้าด้วยกัน ไอโซโทปตัวคงที่ที่สุดของเรดอนคือ 222Rn อันเป็นไอโซโทปที่ได้จากการสลายตัวของเรเดียม-226 หรือจากการสลายตัวของยูเรเนียม-238 มีไอโซโทป 3 ตัวที่มีครึ่งชีวิตเพียงหนึ่งชั่วโมงกว่าอันได้แก่ 211Rn, 210Rn และ 224Rn

ไอโซโทปตัวอื่นๆที่มีครึ่งชีวิตสั้นได้แก่ 220Rn เป็นไอโซโทปที่ได้จากการสลายตัวของธอเรียม-232 ซึ่งเป็นไอโซโทปตัวคงที่ที่สุดของธาตุธอเรียม เรียกโดยทั่วไปว่า"ธอรอน"อันมีครึ่งชีวิตอยู่ที่ 55.6 วินาทีและยังปล่อยรังสีอัลฟาออกมา เช่นเดียวกับ 219Rn ที่เป็นผลผลิตจากไอโซโทปของธาตุแอคติเนียมตัวที่ 227 ซึ่งเป็นไอโซโทปตัวคงที่ที่สุด เรียกโดยทั่วไปว่า"แอคตินอน"อันมีครึ่งชีวิตอยู่ที่ 3.96 วินาทีและปล่อยรังสีอัลฟาเช่นกัน

ในตอนแรกเรดอนมีหลายชื่อที่ใช้เรียก โดย "เอ็กซ์ราดิโอ"ถูกใช้เรียกในช่วงปีคริสต์ศักราช 1904 และต่อมาได้มีการเสนอชื่อให้ใช้"เรดอน"ในปีคริสต์ศักราช 1918 และ"เรดิออน"ในปีคริสต์ศักราช 1919 แต่ในท้ายที่สุดแล้ว เรดอนก็ถูกเลือกให้เป็นชื่อที่ใช้เรียกแก๊ซชนิดนี้ตั้งแต่ปีคริสต์ศักราช 1920 และในปีคริสต์ศักราช 1923 คณะกรรมการจาก IUPAC ได้คัดเลือกให้ใช้ชื่อเรดอนธาตุนี้

เรดอนจัดเป็นธาตุกัมมันตรังสีธาตุที่ 5  ที่มีการค้นพบถัดจากยูเรเนียม ธอเรียม เรเดียม และ โปโลเนียม ย้อนกลับไปในช่วงปีคริสต์ศักราช 1900  เฟเดอริช เอิร์นส์ ดอร์นได้ให้รายงานเกี่ยวกับการทดลองว่าด้วยเรื่องส่วนประกอบของธาตุเรเดียมได้ปล่อยแก๊ซกัมมันตภาพรังสีออกมา ซึ่งเขาเรียกมันว่า เรเดียม อีมาเนชัน(Ra Em) ซึ่งก่อนหน้าที่จะมีรายงานของดอร์ม ปิแอร์ คูรี และ มารี คูรี ได้สังเกตเห็นว่ามีมีก๊าซถูกปล่อยออกมาจากกระบวนการสลายตัวของเรเดียม และคงกัมมันตภาพรังสีเป็นเวลานานนับเดือน ในช่วงปีคริสต์ศักราช 1899

ในปีคริสต์ศักราช 1910 เซอร์ วิลเลียม แรมซี และ โรเบิร์ต วิทลอว์-เกรย์ แยกเรดอนได้สำเร็จ  และประมาณค่าความหนาแน่นและให้ประมาณค่าเรดอนว่าเป็นก๊าซที่หนักที่สุดเท่าที่เคยค้นพบ ซึ่งผลที่ได้นี้ได้รับการรับรองจาก CIAAW ในปีคริสต์ศักราช 1912

เรดอนก่อตัวขึ้นจากกระบวนการสลายตัวของเรเดียม-226 ซึ่งพบได้ในแร่ยูเรเนียม หินฟอสเฟต หินดินดาน หินอัคนี หินแปรบางชนิดอย่างหินแกรนิต หินไนส์ เป็นต้น และหินทั่วๆไปอย่างเช่นหินอ่อนเองบางทีก็มีเรเดียม-226 เป็นส่วนประกอบอยู่ แต่มักจะพบในปริมาณที่น้อย

ในบริเวณ1ตารางไมล์บนพื้นผิวของโลก ลึกลงไป 6-15 นิ้ว จะมีธาตุเรเดียมอยู่ประมาณ 1 กรัม ซึ่งจะปล่อยก๊าซเรดอนในปริมาณไม่มากออกมาสู่ชั้นบรรยากาศของโลก

ด้วยเหตุนี้ทำให้สามารถพบเรดอนได้ในหลายๆที่ด้วยกันบนภาคพื้นดินในปริมาณตั้งแต่ 1 ถึง 100 แบ็กแรล/เมตร3 และเหนือผิวมหาสมุทรประมาณ 0.1 แบ็กแรล/เมตร3 แต่จะสามารถตรวจพบได้ในปริมาณที่มากในเขตเหมืองและถ้ำ โดยปริมาณที่ตรวจพบมีประมาณตั้งแต่ 20 ไปจนถึง 2,000 แบ็กแรล/เมตร3.


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

แรง (ฟิสิกส์) ความยาว การเคลื่อนที่ ทฤษฎีเคออส กลศาสตร์แบบลากรางช์ เอนริโก แฟร์มี สมมาตรยิ่งยวด CERN Large Hadron Collider ไอน์สไตน์ ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป กาลิเลโอ ฟิสิกส์อนุภาค วิศวกรรมวัสดุ เซมิคอนดักเตอร์ นาโนเมตร วัสดุนาโน วัสดุฉลาด วัสดุเชิงก้าวหน้า วัสดุชีวภาพ พอลิเมอร์ เซรามิก สเปกโตรสโกปี อุณหเคมี ไฟฟ้าเคมี เคมีเชิงฟิสิกส์ โลหะอินทรีย์เคมี เคมีพอลิเมอร์ เคมีนิวเคลียร์ ชีววิทยาโมเลกุล เคมีเวชภัณฑ์ เคมีดาราศาสตร์ เคมีไคเนติกส์ สารประกอบอนินทรีย์ สารประกอบเคมี สารประกอบ John Dalton ทฤษฎีโฟลจิสตัน อ็องตวน ลาวัวซีเย Robert Boyle ปฏิกิริยาเคมี รายชื่อคณะวิทยาศาสตร์ในประเทศไทย เคมีสิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม Social psychology วิทยาศาสตร์สังคม เทคนิคการแพทย์ เวชศาสตร์ พยาธิวิทยา เนื้องอกวิทยา ทัศนมาตรศาสตร์ Pharmacy บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ วิทยาศาสตร์พุทธิปัญญา สารสนเทศศาสตร์ วิทยาการสารสนเทศ สัตววิทยา วิทยาไวรัส ประสาทวิทยาศาสตร์ อณูชีววิทยา จุลชีววิทยา วิทยาภูมิคุ้มกัน มีนวิทยา มิญชวิทยา กีฏวิทยา Developmental biology วิทยาเซลล์ ชีววิทยาของเซลล์ วิทยาแผ่นดินไหว ชลธารวิทยา สมุทรศาสตร์ เคมีความร้อน เคมีไฟฟ้า เคมีการคำนวณ เคมีวิเคราะห์ Particle physics พลศาสตร์ของไหล พลศาสตร์ สวนศาสตร์ ฟิสิกส์เชิงทฤษฎี โป๊ป ความเรียง เรอเน เดส์การตส์ การสังเกต การทดลอง ฟรานซิส เบคอน กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ความรู้เชิงประจักษ์ คณิตตรรกศาสตร์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย ไม้บรรทัด กระดูกนาเปียร์ ลูกคิด การแข่งขันคณิตศาสตร์ รางวัลอาเบล เหรียญฟิลด์ส ปัญหาของฮิลแบร์ท กลุ่มความซับซ้อน พี และ เอ็นพี ข้อความคาดการณ์ของปวงกาเร สมมติฐานความต่อเนื่อง

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
235
236
237
238
239
240
241
242
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 24187