ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

เศรษฐกิจไฮโดรเจน

เศรษฐกิจไฮโดรเจน เป็นระบบที่ถูกนำเสนอเพื่อนำไฮโดรเจนมาใช้เป็นพลังงานแทนพลังงานจากฟอสซิล มีผู้สนับสนุนในเรื่องนี้เป็นจำนวนมาก ในการใช้เป็นเชื้อเพลิงขับเคลื่อนยานพาหนะ เป็นพลังงานในอาคารและอุปกรณ์อิเล็คโทรนิคส์ต่างๆ แต่ไฮโดรเจนอิสระไม่ได้เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ต้องสกัดออกมาจากสารอื่น มีวิธีสกัดหลายวิธี ดังนั้น ความเป็นไปได้ในการนำมาใช้ ขึ้นอยู่กับกรรมวิธีในการผลิตนี่เองว่ามีแหล่งผลิตจากที่ใด ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างไร และเป็นการผลิตพลังงานที่ยั่งยืนหรือไม่

ไฮโดรเจนถูกนำเสนอเพื่อแก้ปัญหาผลกระทบทางด้านลบอันเนื่องมาจากการใช้เชื้อเพลิงที่เป็นไฮโดรคาร์บอน

ในสถาวะปัจจุบัน การขนส่งต้องใช้เชื้อเพลิงปิโตรเลียมเป็นหลัก ทำให้เกิดคาร์บอนไดอ๊อกไซด์และมลภาวะอื่นๆ ความต้องการเชื้อเพลิงไฮโดรคาร์บอนเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องจากประเทศจีน อินเดีย และประเทศที่กำลังพัฒนาทั้งหลาย

ผู้สนับสนุนในการนำไฮโดรเจนมาใช้ให้เหตุผลว่า จะช่วยลดผลกระทบจากมลพิษได้มากถ้าสามารถผลิตไฮโดรเจนได้ในจุดที่ใช้งานได้เลย

ไฮโดรเจนให้พลังงานต่อหน่วยสูง การนำไปใช้กับเครื่องสันดาปภายใน อาจให้ประสิทธิภาพสูงถึง 38% สูงกว่าการใช้แก๊สโซลีนกว่า 8% ถ้าใช้ทั้งเซลล์เชื้อเพลิงและมอเตอร์ไฟฟ้า จะได้ประสิทธิภาพสูงกว่าเครื่องสันดาปภายใน 2-3 เท่า แต่เซลล์เชื้อเพลิงมีราคาสูงมาก ประมาณ 165,000 บาทต่อกิโลวัตต์ (ราคาปี 2002) มีประสิทธิภาพในทางเทคนิคแต่ไม่มีประสิทธิภาพทางเศรษฐศาสตร์

ปัญหาอีกอย่างหนึ่งคือประเด็นทางด้านการเก็บรักษาและความบริสุทธ์ของไฮโดรเจนเมื่อนำมาใช้กับเซลล์เชื้อเพลิง ด้วยเทคโนโลยีปัจจุบัน เซลล์เชื้อเพลิงต้องการไฮโดรเจนบริสุทธ์ถึง 99.9999%

อุตสาหกรรมการผลิตไฮโดรเจนใหญ่และกำลังเจริญเติบโต ในปี 2004 มีการผลิตไฮโดรเจนถึง 57 ล้านตัน เทียบเท่ากับน้ำมันดิบ 170 ล้านตัน หรือพลังงาน 248.7 GW อัตราเพิ่ม 10% ต่อปี มูลค่าการผลิตไฮโดรเจน ในสหรัฐปี 2005 เท่ากับ 135 พันล้านเหรียญ

ไฮโดรเจนถูกนำไปใช้เป็นสองลักษณะใหญ่ๆคือ ใช้ผลิตแอมโมเนีย(NH3) เพื่อใช้ทำปุ๋ยเพื่อการเกษตรและอีกลักษณะคือใช้เปลี่ยนปิโตรเลียมหนักให้เบาลงเพื่อนำมาเป็นเชื้อเพลิง(hydrocracking) ยิ่งราคาน้ำมันมีราคาแพง ทำให้บริษัทน้ำมันหันมาผลิตน้ำมันจากสารคุณภาพต่ำเช่น ทรายน้ำมัน และ หินน้ำมัน ปัจจุบันมีผู้ผลิตรายย่อยเกิดขึ้นมาก เป็นการผลิตและจำหน่ายให้ผู้ใช้โดยตรง

ปัจจุบัน ไฮโดรเจนถูกผลิตจากแก๊สธรรมชาติ 40% จากน้ำมัน 30% จากถ่านหิน 18% จากการแยกน้ำเพียง 4% ใน 4 ขบวนการนี้ แสดงให้เห็นถึงข้อจำกัดทางด้านเทอร์โมไดนามิคส์ที่ทำให้การผลิตไฮโดรเจนโดยวิธีเผาแก๊สธรรมชาติบางส่วนให้ประสิทธิภาพสูงสุด

ไฮโดรเจนสามารถเป็นเชี้อเพลิงแทนเชื้อเพลิงจากฟอสซิลได้ ถึงแม้ว่าไฮโดรเจนสามารถใช้ในเครื่องสันดาปภายในได้แต่เซลล์เชื้อเพลิงในฐานะที่เป็นไฟฟ้าเคมี ในทางทฤษฏีแล้วมีข้อได้เปรียบเหนือเครื่องยนต์ความร้อน แต่เซลล์เชื้อเพลิงมีค่าใช้จ่ายในการผลิตสูงกว่าเครื่องสันดาปภายในมาก ถ้าเซลล์เชื้อเพลิงมีราคาใกล้เคียงกับเครื่องสันดาปภายในหรือกังหันแก๊ส โรงไฟฟ้าที่ใช้แก๊สคงหันมาใช้เทคโนโลยีนี้มากขึ้น

แก๊สไฮโดรเจนที่ใช้กับเซลล์เชื้อเพลิงต้องเป็นแบบเกรดสูง ซึ่งจะบริสุทธ์กว่าเกรดธรรมดาถึง 5 เท่า แต่แก๊สไฮโดรเจนเกรดธรรมดาถึงแม้จะมีคาร์บอนและซัลเฟอร์ผสม ก็สามารถผลิตจากขบวนการผลิตแบบ steam reforming ถูกๆได้ เซลล์เชื้อเพลิงต้องการความบริสุทธ์ของไฮโดรเจนสูงมาก เพราะสิ่งสกปรกจะทำให้อายุการทำงานของอุปกรณ์ภายในสั้นลงอย่างรวดเร็ว

ด้วยเทคโนโลบีปัจจุบัน การผลิตไฮโดรเจนด้วยวิธีการ steam reforming จะมีประสิทธิภาพราว 75-80% ทำให้บริสุทธ์และอัดความดันก็ต้องการพลังงานเพิ่มขึ้น การขนส่งไปสถานีจ่ายด้วยรถบรรทุกหรือมางท่อก็ต้องการพลังงานเพิ่มขึ้น ทั้งหมดนี้รวมแล้วประมาณ 50 MJ/kg ลบด้วยพลังงานของไฮโดรเจน 141 MJ/kg หารด้วยพลังงานมั้งหมด จะได้ประสิทธิภาพพลังงานเหลือเพียง 60% เท่านั้น เปรียบเทียบกับน้ำมันเบนซินที่ผ่านขบวนการผลิตจนถึงผู้บริโภค จะได้ประสิทธิภาพพลังงานถึง 80% แต่ถ้าผลิตเป็นกระแสไฟฟ้าส่งถึงผู้บริโภคจะมีประสิทธิภาพถึง 95% และเครื่องยนต์พลังไฟฟ้ามีประสิทธิภาพมากกว่าเครื่องยนต์พลังไฮโดรเจน 3-4 เท่า

ในการศึกษาประสิทธิภาพตั้งแต่โรงงานถึงผู้ใช้ของยานพาหนะใช้ไฮโดรเจน เปรียบเทียบกับพาหนะอื่นๆในนอร์เวย์พบว่าพาหนะที่ใช้เซลล์เชื้อเพลิงที่ใช้ไฮโดรเจนมีประสิทธิภาพเป็นที่สาม เท่ากับรถไฟฟ้าที่ใช้ electrolysis และพาหนะที่ใช้ไฮโดรเจนกับเครื่องสันดาปภายในมีประสิทธิภาพเป็นที่หก ถึงแม้ว่าจะใช้ไฮโดรเจนจาก reformation แทนที่จะเป็น electrolysis หรือได้รับจากโรงงานแก๊สธรรมชาติ รถไฟฟ้าก็ยังมีประสิทธิภาพราว 25-35% (13% ถ้าเป็นสันดาปภายใน) 14% สำหรับแก๊สโซลีนสันดาปภายใน 27% สำหรับ hybrid 17% สำหรับ ดีเซล

ไฮโดรเจนเป็นแก๊สติดไฟง่าย และไม่มีกลิ่น และสามารถระเบิดรุนแรงได้ ดูบทความความปลอดภัยของไฮโดรเจน

นักสิ่งแวดล้อมกล่าวว่า "ในการแก้ปัญหาแก๊สเรือนกระจก ไฮโดรเจนเป็นทางเลือกที่มีประสิทธิภาพต่ำที่สุด และมีราคาแพงที่สุด" และ "การนำพลังงานที่สกปรกมาฟอกให้สะอาด ไม่ได้แก้ปัญหามลภาวะแต่อย่างใด เพียงแต่ย้ายปัญหาไปรอบๆเท่านั้นเอง"

มีความกังวลหลายเรื่องเกี่ยวกับผลกระทบของการผลิตไฮโดรเจน การนำเชื้อเพลิงฟอสซิลมาทำ reforming ทำให้เกิดคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ขึ้นไปบนชั้นบรรยากาศมากกว่าการนำไปใช้โดยตรงกับเครื่องสันดาปภายในเสียอีก ในทางเดียวกัน ถ้าใช้วิธี electrolysis แต่ใช้ไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงฟอสซิล ก็ทำให้เกิดคาร์บอนไดอ๊อกไซด์เหมือนกัน

การใช้ไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนในกระบวนการ electrolysis ต้องใช้พลังงานมากกว่านำไฟฟ้าไปให้พลังกับรถไฟฟ้า เพราะเกิดการสูญเสียในขบวนการผลิตมีหลายขั้นตอน

เครื่องสันดาปภายในที่ใช้เชื้อเพลิงไฮโดรเจนอาจทำให้เกิดไนตรัสอ๊อกไซด์และมลภาวะอื่นๆ อากาศที่ป้อนเข้าไปในกระบอกสูบมี ไนโตรเจนประมาณ 78% และ โเลกุลของ N2 มีพลังงานผูกมัดอยู่ 226 กิโลแคลอรี/mol ปฏิกิริยาของไฮโดรเจนมีพลังมากพอที่จะแยกการผูกมัดนี้ และทำให้เกิดส่วนประกอบที่ไม่ต้องการ เช่น กรดไนตริค (HNO3) และแก๊สไฮโดรเจนไซยาไนด์ (HCN) ซึ่งเป็นพิษทั้งสองตัว สารประกอบไนโตรเจนที่ออกมาจากเครื่องสันดาปภายในเป็นต้นเหตุของหมอกและควัน ไฮโดรเจนที่ใช้ในการขนส่งจะใช้เซลล์เชื้อเพลิง ซึ่งไม่ทำให้เกิดแก๊สเรือนกระจก ผลิตแต่น้ำ

ยังมีข้อกังวลในเรื่องความเป็นไปได้ของการรั่วไหลของแก๊สไฮโดรเจนที่อาจสร้างปัญหาได้ โมเลกุลของไฮโดรเจนรั่วออกจากภาชนะที่ใส่มันอยู่เสมอ สันนิษฐานว่าแก๊สไฮโดรเจนอาจเปลี่ยนรูปเป็นธาตุดั้งเดิมของมัน คือ H ในชั้นสตราโตสเฟีย และกลายเป็นตัวเร่งให้โอโซนหายไป อย่างไรก็ตามปัญหานี้ อาจไม่ส่งผลอย่างมีนัยสำคัญ ปริมาณของไฮโดรเจนที่รั่วไหล มีน้อยกว่าที่มีการคาดการณ์ไว้มาก ตัวอย่างเช่น ในเยอรมนี อัตราการรั่วมีประมาณ 0.1% เท่านั้น (น้อยกว่าแก๊สธรรมชาติรั่วที่ 0.7%) อย่างมากสุด ก็ไม่เกิน 1% ด้วยเทคโนโลยีปัจจุบัน

ไฮโดรเจนที่มีความบริสุทธ์สูง ต้องใช้พลังไฟฟ้ามากกว่า 35 kWh หรือ 35x9.36=327.6 Mega Joule เพื่อผลิตไฮโดรเจน 1 kg (141 MJ) แสดงว่า พลังงานที่ใช้ในการผลิตมากกว่าพลังงานที่ได้รับ

ท่อส่งไฮโดรเจนแพงกว่าสายส่งไฟฟ้า ไฮโดรเจนมีปริมาตรมากกว่าแก๊สธรรมชาติถึง 3 เท่าในปริมาณความร้อนที่ผลิตได้เท่าๆกัน ไฮโดรเจนทำให้เหล็กเปราะเร็ว ทำให้ค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงสูง อัตราการรั่วเพิ่ม และค่าวัสดุสูง

การจัดตั้งให้เป็นยุคไฮโดรเจน ต้องลงทุนสูงด้านโครงสร้างพื้นฐานในการเก็บรักษาและแจกจ่ายไปให้รถ ตรงข้ามกับรถไฟฟ้าที่ใช้แบตเตอรีซึ่งพร้อมใช้งานอยู่แล้ว ไม่ต้องขยายโครงสร้างพื้นฐานอะไรเพื่อทำสายส่งและจำหน่าย เพราะโรงไฟฟ้าปัจจุบันมีไฟฟ้าเหลือใช้ในเวลากลางคืนมาก อาจพอเพียงสำหรับการชาร๋จแบตเตอรีของรถทุกคันถ้าเปลี่ยนมาเป็นรถไฟฟ้า

ทางเลือกที่จะใช้ไฮโดรเจนในทางอื่นนอกจากเป็นเชื้อเพลิงคือนำไปผสมกับไนโตรเจนเพื่อผลิตแอมโมเนีย ทำให้ง่ายทำเป็นของเหลว ง่ายขนส่ง และง่ายนำไปใช้ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม โดยใช้เป็นเชื้อเพลิงสะอาดและหมุนเวียน

ตามยุทธศาสตร์ในการผลิตหลากหลาย สามารถผลิตเชื้อเพลิงได้หลายอย่างง่ายกว่าและอาจจะมีประสิทธภาพกว่าผลิตแต่ไฮโดรเจนเพียงอย่างเดียว ตัวเก็บพลังงานระยะสั้น (หมายถึงเก็บแล้วใช้เลย) อาจทำเป็นแบตเตอรีหรือตัวเก็บประจุยิ่งยวด ตัวเก็บพลังงานระยะยาว (หมายถึงเก็บไว้แต่ยังไม่ใช้) อาจทำด้วยมีเทนหรือแอลกอฮอล์สังเคราะห์ ใช้งานกับรถไฟฟ้า


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

แรง (ฟิสิกส์) ความยาว การเคลื่อนที่ ทฤษฎีเคออส กลศาสตร์แบบลากรางช์ เอนริโก แฟร์มี สมมาตรยิ่งยวด CERN Large Hadron Collider ไอน์สไตน์ ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป กาลิเลโอ ฟิสิกส์อนุภาค วิศวกรรมวัสดุ เซมิคอนดักเตอร์ นาโนเมตร วัสดุนาโน วัสดุฉลาด วัสดุเชิงก้าวหน้า วัสดุชีวภาพ พอลิเมอร์ เซรามิก สเปกโตรสโกปี อุณหเคมี ไฟฟ้าเคมี เคมีเชิงฟิสิกส์ โลหะอินทรีย์เคมี เคมีพอลิเมอร์ เคมีนิวเคลียร์ ชีววิทยาโมเลกุล เคมีเวชภัณฑ์ เคมีดาราศาสตร์ เคมีไคเนติกส์ สารประกอบอนินทรีย์ สารประกอบเคมี สารประกอบ John Dalton ทฤษฎีโฟลจิสตัน อ็องตวน ลาวัวซีเย Robert Boyle ปฏิกิริยาเคมี รายชื่อคณะวิทยาศาสตร์ในประเทศไทย เคมีสิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม Social psychology วิทยาศาสตร์สังคม เทคนิคการแพทย์ เวชศาสตร์ พยาธิวิทยา เนื้องอกวิทยา ทัศนมาตรศาสตร์ Pharmacy บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ วิทยาศาสตร์พุทธิปัญญา สารสนเทศศาสตร์ วิทยาการสารสนเทศ สัตววิทยา วิทยาไวรัส ประสาทวิทยาศาสตร์ อณูชีววิทยา จุลชีววิทยา วิทยาภูมิคุ้มกัน มีนวิทยา มิญชวิทยา กีฏวิทยา Developmental biology วิทยาเซลล์ ชีววิทยาของเซลล์ วิทยาแผ่นดินไหว ชลธารวิทยา สมุทรศาสตร์ เคมีความร้อน เคมีไฟฟ้า เคมีการคำนวณ เคมีวิเคราะห์ Particle physics พลศาสตร์ของไหล พลศาสตร์ สวนศาสตร์ ฟิสิกส์เชิงทฤษฎี โป๊ป ความเรียง เรอเน เดส์การตส์ การสังเกต การทดลอง ฟรานซิส เบคอน กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ความรู้เชิงประจักษ์ คณิตตรรกศาสตร์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย ไม้บรรทัด กระดูกนาเปียร์ ลูกคิด การแข่งขันคณิตศาสตร์ รางวัลอาเบล เหรียญฟิลด์ส ปัญหาของฮิลแบร์ท กลุ่มความซับซ้อน พี และ เอ็นพี ข้อความคาดการณ์ของปวงกาเร สมมติฐานความต่อเนื่อง

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
235
236
237
238
239
240
241
242
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 24187