ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

เฮลิคอปเตอร์

เฮลิคอปเตอร์ จัดเป็น อากาศยาน ปีกหมุน (Rotor Craft) มีใบพัดขนาดใหญ่ติดตั้งเหนือลำตัว ใบพัดหมุนรอบตัวในแนวนอน ทำหน้าที่ช่วยพยุงตัวและบังคับให้บินไปตามทิศทางที่ต้องการได้ ใช้เครื่องยนต์ขับเคลื่อนและบินขึ้นลงในแนวดิ่งได้ สามารถเคลื่อนที่ได้อย่างสะดวกแม้แต่ในที่แคบก็ขึ้นลงได้อย่างสบาย

เฮลิคอปเตอร์ลำแรกของโลกพัฒนาขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2482 โดยชาวอเมริกันเชื้อสายรัสเซีย ชื่ออิกอร์ ซิคอร์สกี ( Igor Sikorsky) โดยใช้ชื่อว่า VS-300 ใช้เครื่องยนต์ 4 สูบ ประกอบด้วยเหล็กท่ออย่างหนา ไม่มีผนังลำตัวปกปิด และไม่มีเครื่องวัดใด ๆ โรเตอร์หลักประกอบด้วยใบพัดสามใบ และมีโรเตอร์ท้ายเพื่อต้านแรงหมุนที่เกิดขึ้น

จากหลักฐานอ้างอิงที่เก่าแก่ที่สุดสำหรับบันทึกของการบินในแนวดิ่งนั้นได้มาจากประเทศจีน ตั้งแต่เมื่อประมาณราว 400 ปีก่อนคริสตกาล เด็ก ๆ ชาวจีนได้เล่นกับของเล่นบินได้ทำจากไม้ไผ่ (bamboo flying toys) คอปเตอร์ไม้ไผ่จะถูกปั่นหมุนโดยกลิ้งไถลแท่งไม้กลมที่ยึดติดอยู่กับใบพัดด้วยมือสองข้าง และในศตวรรษที่ 4 หลังคริสตกาล ได้มีหนังสือในลัทธิเต๋าชื่อ เป้าผูจื่อ (Baopuzi) (??? "Master who Embraces Simplicity" ("นายผู้ที่โอบกอดกันอย่างเรียบง่าย")) ซึ่งได้อธิบายถึงบางส่วนของความคิดที่มีอยู่เกี่ยวกับอากาศยานปีกหมุนไว้:

จวบจนเวลาผ่านไปก็ยังไม่มีอะไรเกิดขึ้นจนกระทั่งถึงยุคต้นปี 1480 เมื่อเลโอนาร์โด ดาวินชีได้ทำการออกแบบเครื่องกลที่สามารถอธิบายได้ว่าเป็น "สกรูอากาศ", นับได้ว่าเป็นบันทึกหลักฐานแรกของความก้าวหน้าในเรื่องราวของการบินในแนวตั้ง จากบันทึกของเขาบอกไว้ว่าเขาได้สร้างแบบจำลองการบินขนาดเล็กขึ้น แต่ก็ไม่มีข้อบ่งชี้ใด ๆ สำหรับข้อกำหนดในการที่จะทำให้มีการที่จะหยุดตัวโรเตอร์ (ใบพัดหลักของเฮลิคอปเตอร์) จากการทำให้ตัวยานนั้นหมุนไปได้ (ซึ่งเฮลิคอปเตอร์ในยุคปัจจุบันนี้นั้นทำได้แล้วคือ เพิ่มใบพัดส่วนหางสำหรับผลักดันต่อต้านผลของแรงบิดอันเนื่องมาจากแรงปฏิกิริยาที่เกิดจากการหมุนย้อนกลับอันเนื่องมาจากการหมุนของใบพัดโรเตอร์เข้าไป) เป็นความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่เพิ่มขึ้นและกลายเป็นที่ยอมรับมากขึ้น มนุษย์ก็ยังคงเฝ้าติดตามแนวความคิดใหม่ ๆ ในเรื่องของการบินในแนวตั้งอยู่ตลอดมา หลาย ๆ แบบจำลองและเครื่องกลไกเหล่านี้ในระยะเวลาภายหลังต่อ ๆ มาดูจะคล้ายคลึงอย่างใกล้ชิดมากกับเครื่องบินที่ทำจากไม้ไผ่ที่บินด้วยปีกหมุนที่อยู่ด้านบน, มากกว่าสกรูอากาศของดาวินชี

ในเดือนกรกฎาคมปี ค.ศ. 1754 มิคาอิล ลามานาซูฟ (Mikhail Lomonosov) ได้จัดแสดงสาธิตให้เห็นถึงโรเตอร์ตีคู่ขนาดเล็กแก่สถาบันการศึกษาวิทยาศาสตร์แห่งรัสเซีย มันถูกขับเคลื่อนโดยสปริงและเขายังได้แนะนำให้เป็นวิธีการที่จะใช้สำหรับยกเคลื่อนย้ายอุปกรณ์เครื่องมือทางอุตุนิยมวิทยาอีกด้วย ในปี 1783 คิสชองก์ เดอ ลัวนัวว์ (Christian de Launoy) และช่างเครื่องของเขาชื่อ เบียเวนู (Bienvenu) ได้สร้างแบบจำลองใบพัดคู่ที่หมุนสวนทางกันขึ้นมา, โดยใช้การบินด้วยขนไก่งวงเป็นใบพัดโรเตอร์, และในปี 1784, เขาได้จัดแสดงสาธิตให้แก่สถาบันการศึกษาวิทยาศาสตร์แห่งฝรั่งเศส (French Academy of Sciences) เซอร์ จอร์จ เคย์ลี (Sir George Cayley) ได้รับอิทธิพลจากความหลงใหลในวัยเด็กกับสุดยอดในด้านการบินของชาวจีน, เขาเติบโตขึ้นมาเพื่อพัฒนาโมเดลของสิ่งประดิษฐ์ที่ทำจากขนนกคล้ายกับสิ่งประดิษฐ์ของลัวนัวว์ และเบียเวนู แต่มันถูกขับเคลื่อนด้วยหนังยาง ในตอนท้ายของศตวรรษ, เขามีความก้าวหน้าในการใช้แผ่นดีบุกสำหรับใช้ทำใบพัดโรเตอร์และสปริงสำหรับการใช้เป็นแหล่งพลังงาน งานเขียนของเขาเกี่ยวกับการทดลองและแบบจำลองของเขาได้กลายเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อผู้บุกเบิกด้านการบินในอนาคต หลังจากนั้นต่อมา อัลฟองส์ พนูลด์ (Alphonse P?naud) ก็ได้พัฒนาของเล่นเฮลิคอปเตอร์ที่มีใบพัดโรเตอร์คู่ที่มีแกนอันเดียวกันในปี ค.ศ. 1870, โดยขับเคลื่อนด้วยหนังยาง หนึ่งในของเล่นเหล่านี้นั้นได้รับมอบเพื่อเป็นของขวัญจากพ่อของเขาเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้กับเขาเหมือนดังเช่นพี่น้องไรต์ (Wright brothers) ในการที่จะไล่ตามความฝันของการบินให้จงได้

ในปี ค.ศ. 1861 คำว่า "เฮลิคอปเตอร์" ได้รับการบัญญัติชื่อเรียกโดย กุสตาฟ เดอ พอนดัน ดามาโคร์ท (Gustave de Ponton d'Am?court), นักประดิษฐ์ชาวฝรั่งเศสที่ได้จัดการแสดงสาธิตเล็ก ๆ ให้เห็นถึงแบบจำลองที่ขับเคลื่อนด้วยพลังไอน้ำ ในขณะที่มีการเฉลิมฉลองกับการมีการประยุกต์ใช้งานนวัตกรรมใหม่ ๆ, คือ โลหะอะลูมิเนียม, แบบจำลองต่าง ๆ ที่ประดิษฐ์สร้างกันขึ้นมาก็ไม่เคยสามารถบินยกตัวมันเองขึ้นจากพื้นได้เลย ดามาโคร์ทนั้นได้มีส่วนร่วมทางด้านเกี่ยวกับภาษาศาสตร์ในการที่จะมีชีวิตอยู่ดูผลงานเพื่อให้คำอธิบายเกี่ยวกับเรื่องของการบินในแนวตั้งที่เขาคิดวาดภาพจินตนาการเอาไว้ในท้ายที่สุด พลังไอน้ำนั้นก็ได้รับความนิยมกับนักประดิษฐ์คนอื่น ๆ ด้วยเช่นกัน ในปี ค.ศ. 1878 อากาศยานแบบไร้คนขับได้ถูกสร้างขึ้นโดยนักประดิษฐ์ชาวอิตาเลียนชื่อ เอนริโก ฟอร์ลานินี่ (Enrico Forlanini) โดยใช้กำลังที่ถูกขับเคลื่อนโดยเครื่องจักรไอน้ำ, เป็นการบินครั้งแรกที่เครื่องสามารถทะยานลอยตัวขึ้นไปที่ระดับความสูง 12 เมตร (40 ฟุต), ซึ่งมันได้ทำการบินร่อน (hovered) อยู่นานเป็นเวลาประมาณ 20 วินาทีหลังจากที่ได้พยายามทำการบินขึ้นไปในแนวดิ่ง

การบินด้วยปีกโรเตอร์ในช่วงยุคแรก ๆ ได้ประสบกับความล้มเหลวเป็นส่วนใหญ่อันเนื่องมาจากความเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่แบบหมุนที่เกิดจากความไม่สมดุลที่ถูกสร้างขึ้นเมื่อได้มีความพยายามในการบินทะยานขึ้นไปของตัวอากาศยานนั้นเนื่องมาจากการสูญเสียความสมมาตร (dissymmetry) ของการยกตัวเองขึ้นในระหว่างใบพัดโรเตอร์ด้านที่กำลังเคลื่อนที่หมุนมาข้างหน้าและใบพัดโรเตอร์ด้านที่กำลังหมุนเคลื่อนที่ถอยหลังออกไป

ระบบโรเตอร์หรือมากยิ่งไปกว่านั้นเป็นส่วนที่หมุนของเฮลิคอปเตอร์ในการที่จะสร้างให้เกิดแรงยกขึ้น ระบบโรเตอร์อาจจะติดตั้งในแนวนอน, ในขณะที่ใบพัดโรเตอร์หลักคือการให้แรงยกในแนวดิ่ง, หรืออาจจะติดตั้งในแนวตั้ง เช่น ใบพัดหางเพื่อทำให้เกิดแรงยกเป็นแรงผลักดันในแนวนอนเพื่อต่อต้านกับผลกระทบที่เกิดขึ้นจากแรงบิด (torque) โรเตอร์ประกอบไปด้วยเสากระโดง, ดุมใบพัด (hub) และใบพัด

เสากระโดงเป็นเพลาโลหะทรงกระบอกที่ยื่นยาวสูงขึ้นไปและถูกขับเคลื่อนโดยส่งผ่านแรง ที่ด้านบนของเสากระโดงคือจุดที่เป็นที่ยึดติดสำหรับใบพัดโรเตอร์ที่เรียกว่าดุมใบพัดหรือฮับ ใบพัดโรเตอร์นั้นจะถูกยึดติดเข้ากับฮับด้วยจำนวนของใบพัดอันเนื่องมาจากวิธีการที่แตกต่างกัน ระบบใบพัดหลักจะถูกแบ่งจำแนกตามวิธีการที่ใบพัดโรเตอร์หลักจะถูกยึดติดและมีการเคลื่อนที่ที่สัมพันธ์กับฮับหรือศูนย์กลางโรเตอร์หลัก

เฮลิคอปเตอร์ส่วนใหญ่มีโรเตอร์หลักแกนเดียว แต่แรงบิดที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นกลไกสำหรับไปหมุนโรเตอร์เป็นสาเหตุทำให้ลำตัวเครื่องของเฮลิคอปเตอร์นั้นเกิดการหมุนไปในทิศทางที่ตรงกันข้ามกับโรเตอร์ เพื่อลดผลกระทบที่เกิดขึ้นนี้, การจัดเรียงลำดับในการควบคุมเพื่อต่อต้านแรงบิดด้วยวิธีการบางอย่างเป็นสิ่งจำเป็นจะต้องทำ

จำนวน, ขนาดและประเภทของเครื่องยนต์ ที่ใช้กับเฮลิคอปเตอร์จะเป็นตัวกำหนดขนาด, ฟังก์ชันการทำงานและความสามารถในการออกแบบเฮลิคอปเตอร์

เฮลิคอปเตอร์มีปัจจัยในการควบคุมการบินอยู่สี่ตัวแปร เหล่านี้ก็มี ไซคลิก (cyclic) คอลเลกทีฟ (collective) คันเหยียบต่อต้านแรงบิด (anti-torque pedals) และ คันเร่ง (throttle)

มีสามเงื่อนไขการบินพื้นฐานสำหรับเฮลิคอปเตอร์: คือ การบินโฉบลอยตัวอยู่นิ่ง ๆ, การบินไปข้างหน้า และการเปลี่ยนแปลงลักษณะการบินระหว่างทั้งสองข้อแรกข้างต้น

ต่อมามีการนำมาใช้ในการทหารเช่น ฮิวอี้ (UH-1 HUEY) ที่ถูกพัฒนาขึ้นในปี พ.ศ. 2499 ยุคของสงครามเกาหลี เนื่องจากจำเป็นต้องใช้ยานขึ้น-ลงแนวดิ่ง เคลื่อนย้ายกำลังทหารที่บาดเจ็บ และมีการนำมาใช้ในสงครามเวียดนามในเวลาต่อมา


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

แรง (ฟิสิกส์) ความยาว การเคลื่อนที่ ทฤษฎีเคออส กลศาสตร์แบบลากรางช์ เอนริโก แฟร์มี สมมาตรยิ่งยวด CERN Large Hadron Collider ไอน์สไตน์ ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป กาลิเลโอ ฟิสิกส์อนุภาค วิศวกรรมวัสดุ เซมิคอนดักเตอร์ นาโนเมตร วัสดุนาโน วัสดุฉลาด วัสดุเชิงก้าวหน้า วัสดุชีวภาพ พอลิเมอร์ เซรามิก สเปกโตรสโกปี อุณหเคมี ไฟฟ้าเคมี เคมีเชิงฟิสิกส์ โลหะอินทรีย์เคมี เคมีพอลิเมอร์ เคมีนิวเคลียร์ ชีววิทยาโมเลกุล เคมีเวชภัณฑ์ เคมีดาราศาสตร์ เคมีไคเนติกส์ สารประกอบอนินทรีย์ สารประกอบเคมี สารประกอบ John Dalton ทฤษฎีโฟลจิสตัน อ็องตวน ลาวัวซีเย Robert Boyle ปฏิกิริยาเคมี รายชื่อคณะวิทยาศาสตร์ในประเทศไทย เคมีสิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม Social psychology วิทยาศาสตร์สังคม เทคนิคการแพทย์ เวชศาสตร์ พยาธิวิทยา เนื้องอกวิทยา ทัศนมาตรศาสตร์ Pharmacy บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ วิทยาศาสตร์พุทธิปัญญา สารสนเทศศาสตร์ วิทยาการสารสนเทศ สัตววิทยา วิทยาไวรัส ประสาทวิทยาศาสตร์ อณูชีววิทยา จุลชีววิทยา วิทยาภูมิคุ้มกัน มีนวิทยา มิญชวิทยา กีฏวิทยา Developmental biology วิทยาเซลล์ ชีววิทยาของเซลล์ วิทยาแผ่นดินไหว ชลธารวิทยา สมุทรศาสตร์ เคมีความร้อน เคมีไฟฟ้า เคมีการคำนวณ เคมีวิเคราะห์ Particle physics พลศาสตร์ของไหล พลศาสตร์ สวนศาสตร์ ฟิสิกส์เชิงทฤษฎี โป๊ป ความเรียง เรอเน เดส์การตส์ การสังเกต การทดลอง ฟรานซิส เบคอน กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ความรู้เชิงประจักษ์ คณิตตรรกศาสตร์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย ไม้บรรทัด กระดูกนาเปียร์ ลูกคิด การแข่งขันคณิตศาสตร์ รางวัลอาเบล เหรียญฟิลด์ส ปัญหาของฮิลแบร์ท กลุ่มความซับซ้อน พี และ เอ็นพี ข้อความคาดการณ์ของปวงกาเร สมมติฐานความต่อเนื่อง

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
235
236
237
238
239
240
241
242
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 24187