ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

แคนเดลา

แคนเดลา (อังกฤษ: candela สัญลักษณ์: cd) เป็นหน่วยฐานเอสไอของความเข้มของการส่องสว่างหมายถึง กำลังแสงที่ปล่อยออกมาจากแหล่งกำเนิดแสงในทิศทางเฉพาะ และถ่วงน้ำหนักโดยฟังก์ชันการส่องสว่างซึ่งเป็นแบบจำลองมาตรฐานของความไวแสงของตามนุษย์ในแต่ละความยาวคลื่น

คำว่า Candela ในภาษาละติน ภาษาสเปน และภาษาอิตาเลียนแปลว่าเทียน หนึ่งแคนเดลามีขนาดประมาณหนึ่งแรงเทียน (Candle Power) ซึ่งใช้ประมาณความสว่างของเทียนหนึ่งเล่ม

เช่นเดียวกับหน่วยฐานเอสไออื่นๆ แคนเดลามีนิยามเชิงปฏิบัติการ ตั้งแต่การประชุมมาตรวิทยาระหว่างประเทศครั้งที่ 16 ในปี 1979 หน่วยแคนแดลาได้รับการนิยามจากกระบวนการทางฟิสิกส์ที่ให้ความเข้มของการส่องสว่างขนาด 1 แคนเดลาดังนี้

หนึ่งแคนเดลาเท่ากับความเข้มส่องสว่างในทิศที่กำหนดของแหล่งกำเนิดที่แผ่รังสีของแสงความถี่เดียวที่มีความถี่ 540?1012เฮิรตซ์ และมีความเข้มของการแผ่รังสีในทิศทางนั้นเท่ากับ 1/683 วัตต์ต่อสเตอเรเดียน

ในนิยามได้อธิบายวิธีการสร้างแหล่งกำเนิดที่ให้แสงที่มีความเข้มของการส่องสว่างขนาด 1 แคนเดลา (ตามนิยาม) เพื่อให้ออกแบบเครื่องมือสอบเทียบ (calibrate) ที่สามารถตรวจวัดความเข้มความเข้มของการส่องสว่างได้

ความถี่ดังกล่าวเป็นช่วงสเปกตรัมที่มองเห็นใกล้แสงสีเขียว ซึ่งมีความยาวคลื่นประมาณ 555 นาโนเมตร ความถี่นี้เป็นความถี่ที่ไวต่อตามนุษย์สูงสุดในเวลากลางวัน สำหรับแสงความถี่อื่นๆ ต้องปล่อยแสงด้วยความเข้มที่สูงกว่านี้จึงจะรับรู้ความเข้มของการส่องสว่างที่เท่ากันได้ ความเข้มของการส่องสว่างสำหรับความยาวคลื่น ?{\displaystyle \lambda } สามารถคำนวณได้จาก

ความเข้มการส่องสว่างของเทียน 1 เล่มมีขนาดประมาณ 1 แคนเดลา ความเข้มการส่องสว่างของหลอดไส้ 100 วัตต์มีขนาดประมาณ 120 แคนเดลา

ก่อนหน้าปี 1948 มาตรฐานของความเข้มของการส่องสว่างยังคงหลากหลายในแต่ละประเทศ นอกจากเปรียบเทียบ กับแสงเทียนแล้ว ยังเปรียบเทียบแสงไฟที่เกิดจากการเผาเส้นใยเฉพาะอย่าง หนึ่งในหน่วยวัดความเข้มของการส่องสว่าง ที่เป็นที่รู้จักได้แก่ แรงเทียนในระบบมาตรฐานอังกฤษ หนึ่งแคนเดลาเท่ากับความสว่างที่เกิดมาจากเทียนที่ทำมาจาก ไขปลาวาฬบริสุทธิ์น้ำหนักเศษหนึ่งส่วนหกปอนด์และเผาไหม้ในอัตรา 120 เกรนต่อชั่วโมง เยอรมนี ออสเตรีย และ สแกนดินาเวียใช้หน่วย hefnerkerze ซึ่งนำมาจากตะเกียงเฮฟเนอร์ (Hefner lamp)

จากความต้องการการนิยามหน่วยความเข้มของการส่องสว่างที่ชัดเจนยิ่งขึ้น คณะกรรมาธิการระหว่างประเทศว่าด้วยความส่องสว่าง (International Commission on Illumination: CIE) และคณะกรรมการมาตรวิทยาสากล (CIPM) ได้เสนอ “แรงเทียนใหม่” โดยใช้การส่องสว่างจากการแผ่รังสีของพลังค์จากแพลทินัมแช่แข็ง และปรับค่าของหน่วยใหม่ให้ใกล้เคียงกับหน่วยแรงเทียนเดิม ในที่สุด CIPM ได้ตัดสินใจประกาศนิยามในปี 1946 ว่า

แรงเทียนใหม่ นิยามมาจาก ความสว่างจากการแผ่รังสีในทุกๆ สเปกตรัม ณ จุดเยือกแข็งของแพลทินัมจะต้องเท่ากับ 60 แรงเทียนใหม่ต่อตารางเซนติเมตร

ในการประชุมมาตรวิทยาระหว่างประเทศครั้งที่ 9 ในปี 1948 ได้เปลี่ยนชื่อหน่วยนี้เป็น "แคนเดลา" ในการประชุมมาตรวิทยา ระหว่างประเทศครั้งที่ 13 ปี 1947 ได้ยกเลิกคำว่า "แรงเทียนใหม่" และขยายนิยามหน่วยแคนเดลาเพิ่มเติมว่า การแช่แข็ง แพลทินัมต้องทำในความดันบรรยากาศกลายเป็น

หนึ่งแคนเดลาเท่ากับความเข้มส่องสว่างในทิศที่กำหนดบนพื้นผิว 1/600 000 ตารางเมตรของวัตถุดำ ณ จุดเยือกแข็งของแพลทินัมภายใต้ความดัน 101 325 นิวตันต่อตารางเมตร

เนื่องจากความยุ่งยากในการสร้างตัวแผ่รังสีของพลังค์ในอุณหภูมิสูงและความเป็นไปได้จากมาตรรังสีวิทยา (Radiometry) ในการประชุมมาตรวิทยาระหว่างประเทศครั้งที่ 16 ปี 1979 จึงได้เปลี่ยนนิยามของแคนเดลาไปเป็นนิยามในปัจจุบันในที่สุด ค่าคงที่ 1/683 ในนิยามใหม่เป็นค่าที่เลือกมาเพื่อให้มีค่าใกล้เคียงกับ "แรงเทียนใหม่" ในนิยามเดิม ถึงแม้ว่าหน่วยแคนเดลาจะนิยามด้วย วินาที (หน่วยฐานเอสไอ) และวัตต์ (หน่วยอนุพันธ์เอสไอ) หน่วยแคนเดลาก็ยังคงเป็นหน่วยฐานเอสไอตามนิยาม


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เทียนดำ ยี่หร่า อบเชย มะม่วงหัวแมงวัน ขึ้นฉ่าย อบเชยจีน กระวานไทย กระวานเทศ เทียนตากบ การบูร มหาหิงคุ์ โป๊ยกั้ก เทียนสัตตบุษย์ ออลสไปซ์ โรสแมรี ออริกาโน มินต์ (พืช) ผักแขยง ลาเวนเดอร์ คาวทอง ผักชีลาว เทียนแดง ผักชี กุยช่าย เชอร์วิล ใบกระวาน กะเพรา จันทน์เทศ กานพลู หอมต้นเดี่ยว ขัณฑสกร (ยา) โคแฟกเตอร์ อะดีโนซีนไตรฟอสเฟต เพปไทด์ สเตอรอยด์ พันธะคู่ กรดไขมันอิ่มตัว ไตรกลีเซอไรด์ เอสเทอร์ โอลิโกแซ็กคาไรด์ เซลลูโลส ซูโครส ไดแซ็กคาไรด์ กาแล็กโทส อัลดีไฮด์ ยางธรรมชาติ มอโนแซ็กคาไรด์ พันธะเพปไทด์ พอลิเพปไทด์ พันธะโควาเลนต์ พอลิเมอไรเซชัน ไกลโคลิพิด ฟอสโฟลิพิด โมเลกุลเล็ก พอลิแซคคาไรด์ ไมโอโกลบิน คณะเภสัชศาสตร์ ประวัติเภสัชกรรม เภสัชพลศาสตร์ เภสัชจลนศาสตร์ นิติเภสัชกรรม บริหารเภสัชกิจ เภสัชกรรมคลินิก เทคโนโลยีเภสัชกรรม เภสัชวิเคราะห์ เภสัชพฤกษศาสตร์ เภสัชเวท เภสัชอุตสาหกรรม เภสัชภัณฑ์ เภสัชเคมี พอลิแซ็กคาไรด์ ซิลิโคน รายชื่อสาขาวิชา สูตรเคมี น้ำหนักโมเลกุล ผลึกศาสตร์ ฟังก์ชันนัลกรุป อินโดล อิมิดาโซล อะซูลีน เบนโซไพรีน ฟีแนนทรีน แอนทราซีน แนฟทาลีน โทลูอีน เบนซีน แอลไคน์ แอลคีน อนินทรีย์เคมี พันธะโคเวเลนต์ ซัลเฟอร์ ธาตุคาร์บอน สเปกโทรสโกปี ลิพิด คีโตน อีเทอร์ เอสเตอร์ กรดคาร์บอกซิลิก แอลดีไฮด์ แอลกอฮอล์

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
235
236
237
238
239
240
241
242
243
244
245
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 24519