มหาวิทยาลัยมหิดล (อังกฤษ: Mahidol University; MU) เดิมชื่อ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ เป็นสถาบันอุดมศึกษาที่เน้นการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์สุขภา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ตั้งอยู่ในอำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม และมีที่ตั้งอีกหลายแห่ง ทั้งในกรุงเทพมหานคร จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดนครสวรรค์ และจังหวัดอำนาจเจริญ
มหาวิทยาลัยมหิดลมีที่มาจากโรงเรียนแพทยากร (โรงพยาบาลศิริราชในปัจจุบัน) ซึ่งก่อตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2432 ก่อนที่จะถูกรวมเข้ากับโรงเรียนข้าราชการพลเรือนฯ เพื่อสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมทั้งเปลี่ยนสถานะเป็น คณะแพทยศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และถูกเปลี่ยนชื่อเป็น คณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล ต่อมาในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2486 ได้แยกคณะวิชาด้านแพทยศาสตร์สี่คณะ มาจัดตั้งเป็น มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ และในวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2512 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนาม "มหิดล" อันเป็นพระนามของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
ปัจจุบันมหาวิทยาลัยมหิดลจัดการเรียนการสอนใน 17 คณะ 6 วิทยาลัย 9 สถาบัน และ 3 วิทยาเขต และเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศไทยจากการจัดอันดับของสำนักจัดอันดับหลายสำนัก และได้รับเลือกให้เป็น 1 ใน 9 มหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติเมื่อ พ.ศ. 2552 เป็นสมาชิกเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน (ASEAN University Network; AUN)
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดสร้างโรงศิริราชพยาบาลขึ้นบริเวณพระราชวังบวรสถานพิมุข หรือที่เรียกว่า วังหลัง ต่อมาใน พ.ศ. 2432 จึงมีพระบรมราชานุญาตให้จัดตั้ง โรงเรียนแพทยากร โดยจัดการเรียนการสอนในระดับประกาศนียบัตร 3 ปี หลังจากนั้น เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินเปิดตึกของโรงเรียนแพทย์ จึงได้พระราชทานนามใหม่ว่า โรงเรียนราชแพทยาลัย
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นเป็น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงได้รวมโรงเรียนราชแพทยาลัยเข้าเป็นคณะหนึ่งของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเมื่อววันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2460 โดยใช้ชื่อว่า "คณะแพทยศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" ก่อนที่จะเปลี่ยนชื่อเป็น "คณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล" ซึ่งได้รับการพัฒนาวิชาการจากมูลนิธิร็อกเกอะเฟลเลอร์ จนสามารถจัดการศึกษาถึงขั้นประสาทปริญญาบัตร ซึ่งอนุมัติโดยสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2486 คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล มีพระบรมราชโองการให้ตราพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ขึ้น โดยแยกคณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล แผนกอิสระทันตแพทยศาสตร์ แผนกอิสระเภสัชศาสตร์ และแผนกอิสระสัตวแพทยศาสตร์ จัดตั้งเป็น มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข โดยได้จัดตั้งคณะต่าง ๆ หลายคณะ ต่อมาได้โอนคืนคณะที่ซ้ำซ้อนออกจากมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ได้แก่ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ คณะเภสัชศาสตร์ และคณะทันตแพทยศาสตร์ โอนไปสังกัดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลนครเชียงใหม่ โอนไปสังกัดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณะสัตวแพทยศาสตร์ โอนไปสังกัดมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2512 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามมหาวิทยาลัยว่า มหาวิทยาลัยมหิดล อันเป็นพระนามของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก แทนชื่อมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์เดิม ในวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2550 มหาวิทยาลัยมหิดลได้เปลี่ยนรูปแบบการบริหารงานเป็นสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ และใน พ.ศ. 2551 มีแผนแม่บทพัฒนามหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ให้เป็นเมืองมหาวิทยาลัยสีเขียว โดยปรับนโยบายในการจัดสภาพแวดล้อมเพื่อยกระดับความสำคัญและเอื้อทำกิจกรรม นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยยังจัดทำแผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการเพื่อความยั่งยืน พ.ศ. 2558–2562 โดยมี 3 กลยุทธ์สำคัญ ได้แก่ การส่งเสริมให้เกิดการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากร การส่งเสริมความเป็นสังคมคาร์บอนต่ำ และการส่งเสริมให้เกิดพันธกิจสัมพันธ์กับชุมชน
อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล
อดีตคณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
อดีตประธานคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข
อดีตประธานคณะที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
อดีตอธิบดีกรมการแพทย์
อดีตรองปลัดกระทรวงสาธารณสุข
อดีตสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฎิรูปประเทศ
อดีตผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
อดีตผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
อดีตคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
อดีตที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานกรรมการ บริษัท พฤกษา โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน)
อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
อดีตเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
อดีตกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
อดีตนายกแพทยสภา
อดีตคณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
อดีตรองอธิการบดีฝ่ายทรัพยากรบุคคลและพัฒนาคุณภาพ มหาวิทยาลัยมหิดล
อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนเเพทย์ศิริราช
คณะกรรมการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (กวทช.)
คณะกรรมการสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ
คณะกรรมการองค์การจัดการน้ำเสีย
อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
อดีตคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
กรรมการ บริษัทไทย ทรานส์ฟอร์เมชั่น แอคเซเลอเรชั่น จํากัด
ที่ปรึกษาคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
อดีตปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
อดีตรองคณบดี คณะแพทยศาสตรศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
อดีตรองอธิการบดีฝ่ายนโยบายและแผน มหาวิทยาลัยมหิดล
อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
อดีตรองอธิการบดีฝ่ายการคลัง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
อดีตรองอธิการบดีฝ่ายบุคคลและกฎหมาย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
อดีตรองปลัดกระทรวงสาธารณสุข
อดีตผู้ทรงคุณวุฒิด้านควบคุมป้องกันโรค (นักวิชาการสาธารณสุข ๑๑ ชช.) (ด้านวิจัย) สํานักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข
อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล
อดีตคณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
อดีตสมาชิกวุฒิสภา
ตั้งอยู่ที่ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม เป็นที่ตั้งหลักของมหาวิทยาลัย ประกอบไปด้วยคณะและวิทยาลัยส่วนใหญ่ และหน่วยงานอื่น ๆ ได้แก่ สำนักงานอธิการบดี บัณฑิตวิทยาลัย โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก โรงเรียนสาธิตนานาชาติ นอกจากนี้ ยังเป็นที่ตั้งของมหิดลสิทธาคารและอุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ
ตั้งอยู่ที่แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร เป็นที่ตั้งของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ และคณะเทคนิคการแพทย์ นอกจากนี้ยังมีศูนย์กายภาพบำบัดของคณะกายภาพบำบัด ตั้งอยู่บริเวณเชิงสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้าในแขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด
มหาวิทยาลัยมหิดลเปิดสอนในระบบหน่วยกิต ปัจจุบันมีการจัดการเรียนการสอนและการวิจัยทั้งสิ้น 629 สาขาวิชา[a] ครอบคลุมทั้งสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ทั้งในหลักสูตรไทยและหลักสูตรนานาชาติ ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่สามารถผลิตบัณฑิตในระดับปริญญาเอกได้มากที่สุดในประเทศ ในปี พ.ศ. 2548 มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นมหาวิทยาลัยรัฐที่มีปริมาณนักศึกษาต่างชาติมากที่สุด และใน พ.ศ. 2549 และได้รับรางวัลประกาศเกียรติคุณประเภทธุรกิจบริการดีเด่นกลุ่มการศึกษานานาชาติจากนายกรัฐมนตรี (Prime Minister’s Export Award 2006) เพื่อประกาศเกียรติคุณมหาวิทยาลัยมหิดลในฐานะที่ได้รับความนิยมจากชาวต่างประเทศมากที่สุด (Most recognized service) ในพิธีประกาศเกียรติคุณและมอบรางวัล เมื่อวันจันทร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2549 ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล
ปัจจุบันมหาวิทยาลัยมหิดล มีส่วนงานและกลุ่มภารกิจในสังกัด ประกอบด้วย 17 คณะ 10 สถาบัน 6 วิทยาลัย 3 วิทยาเขต และหน่วยงานต่างๆ นอกจากนี้ยังมีสถาบันสมทบอีกหลายสถาบัน ซึ่งนักศึกษาของบางสถาบันเข้าร่วมการเรียนการสอนกับมหาวิทยาลัยมหิดล ในขณะที่บางสถาบันมีหลักสูตรเป็นเอกเทศ
เนื่องจากมหาวิทยาลัยมหิดลเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่เน้นการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ จึงมีโรงพยาบาลและศูนย์การแพทย์หลายแห่ง คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลมีโรงพยาบาลศิริราช ซึ่งเป็นโรงพยาบาลแห่งแรกและโรงพยาบาลที่มีจำนวนเตียงผู้ป่วยมากที่สุดในประเทศไทย, โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ ซึ่งสร้างขึ้นบนพื้นที่ที่การรถไฟแห่งประเทศไทยบริจาคให้ และสถาบันการแพทย์สยามินทราธิราช ศูนย์การแพทย์ทั้งสามแห่งตั้งอยู่บริเวณเดียวกันในแขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย นอกจากนี้ คณะยังมีศูนย์การแพทย์อีกหนึ่งแห่ง นั่นคือ ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ตั้งอยู่ฝั่งตรงข้ามกับพื้นที่ศาลายาโดยมีถนนบรมราชชนนีคั่นกลาง คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มีโรงพยาบาลและศูนย์การแพทย์สองแห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลรามาธิบดี ตั้งอยู่บนถนนพระรามที่ 6 ในเขตราชเทวี และสถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ ตั้งอยู่ในอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ
นอกเหนือจากคณะแพทยศาสตร์แล้ว คณะเวชศาสตร์เขตร้อนก็มีโรงพยาบาลเป็นของตนเอง ตั้งอยู่ริมถนนราชวิถี ใกล้กับอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เช่นเดียวกันกับคณะทันตแพทยศาสตร์ ที่มีโรงพยาบาลตั้งอยู่ภายในคณะ คณะสัตวแพทยศาสตร์มีโรงพยาบาลสัตว์ประศุอาทรและโรงพยาบาลปศุสัตว์และสัตว์ป่าปศุปาลันในพื้นที่ศาลายา และวิทยาเขตนครสวรรค์ ก็มีศูนย์การแพทย์มหิดลเป็นของตนเองด้วยเช่นกัน
มหาวิทยาลัยมหิดลมีสถานีโทรทัศน์ มหิดลแชนเนล ซึ่งนำเสนอเนื้อหาจากหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอก นอกจากนี้ ยังมีช่องบนยูทูบสองช่องหลัก ชื่อว่า มหิดลแชนเนล และ วีมหิดล
ห้องสมุดมหาวิทยาลัยมหิดล มีฐานเดิมจาก "ห้องอ่านหนังสือ" ของโรงเรียนราชแพทยาลัย ต่อมาใน พ.ศ. 2468 ได้ก่อตั้งเป็น "ห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์" และใน พ.ศ. 2499 กฤษฎีกาการจัดวางระเบียบราชการของกรมมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ได้ยกฐานะห้องสมุดเป็น "แผนกห้องสมุด" สังกัดสำนักงานเลขานุการ กรมมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ซึ่งขณะนั้นทำหน้าที่เป็นห้องสมุดของทั้งมหาวิทยาลัยและคณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาลด้วย
ห้องสมุดยกฐานะเป็น "กองห้องสมุด" ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 4 สิงหาคม 2520 ต่อมากองห้องสมุดได้รับการสถาปนาเป็น "สำนักหอสมุด" ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 103 ตอนที่ 140 วันที่ 8 สิงหาคม 2529 โดยมีฐานะเทียบเท่าคณะ มหาวิทยาลัยได้นำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยดำเนินงานระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ทำให้มีทรัพยากรห้องสมุดในรูปแบบที่หลากหลาย ต่อมาในวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 สภามหาวิทยาลัยมหิดลได้เปลี่ยนชื่อสำนักหอสมุดเป็น "หอสมุดและคลังความรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล" โดยเป็นส่วนงานหนึ่งในระดับคณะ
ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยมหิดลมีพิพิธภัณฑ์และหอจดหมายเหตุที่เปิดให้บริการหลายแห่ง ทั้งในพื้นที่ศาลายา พื้นที่บางกอกน้อย พื้นที่พญาไท และวิทยาเขตกาญจนบุรี
มหาวิทยาลัยมหิดลได้รับการยอมรับว่าเป็นมหาวิทยาลัยที่เน้นงานวิจัย โดยในปัจจุบันมีกลุ่มงานวิจัยใน 5 สาขาหลักด้วยกัน ได้แก่ กลุ่มวิทยาศาสตร์การแพทย์และคลินิก กลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพและสาธารณสุข กลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กลุ่มมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ การจัดการ และศิลปศาสตร์ และกลุ่มภาษาและวัฒนธรรม เมื่อพิจารณาจากจำนวนผลงานทางวิชาการระดับนานาชาตินั้น พบว่า มหาวิทยาลัยมหิดลมีจำนวนผลงานทางวิชาการที่ตีพิมพ์ในระดับนานาชาติบนฐานข้อมูลของ ISI databases เป็นอันดับ 1 ติดต่อกันตั้งแต่ พ.ศ. 2542–2549 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ใน พ.ศ. 2548 คณะวิทยาศาสตร์มีจำนวนผลงานวิจัยเป็นอันดับ 1 เมื่อเทียบกับคณะวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัยแห่งอื่นในประเทศ มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นมหาวิทยาลัยที่ได้รับเงินทุนสนับสนุนจากภาครัฐและเอกชนมากที่สุดในประเทศ
ใน พ.ศ. 2549 สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา จัดอันดับให้มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นอันดับที่ 1 ของประเทศไทย ทั้งในด้านการเรียนการสอน ซึ่งได้คะแนนร้อยละ 61.11 จากคะแนนเต็มร้อยละ 80 และด้านการวิจัย ซึ่งได้คะแนนเต็ม
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ประเมินคุณภาพผลงานวิจัยเชิงวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของสถาบันอุดมศึกษา ผลปรากฏว่าในการประเมินครั้งที่ 3 (พ.ศ. 2554) มหาวิทยาลัยมหิดลได้รับการประเมินในระดับดีมากในสาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ, สาขาวิชาฟิสิกส์ ภาควิชาฟิสิกส์, สาขาวิชาพรีคลินิก ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ สรีรวิทยา พยาธิชีววิทยา และเภสัชวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, สาขาวิชาจุลชีววิทยาและอณูชีววิทยา สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล และสาขาวิชาเภสัชศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
นอกจากการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโดยหน่วยงานในประเทศไทยแล้ว ยังมีหน่วยงานจัดอันดับมหาวิทยาลัยจากต่างประเทศอีกหลายหน่วยงาน ซึ่งแต่ละหน่วยงานมีเกณฑ์การจัดอันดับและการให้คะแนนที่แตกต่างกัน SCImago Institutions Ranking, The Times Higher Education, Academic Performance, และ U.S. News & World Report จัดอันดับให้มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นอันดับที่ 1 ของประเทศไทยในด้านวิชาการ ส่วนในด้านอื่น ๆ อย่างด้านสิ่งแวดล้อม และด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหิดลก็ถูกจัดอันดับให้เป็นอันดับที่ 1 ของประเทศด้วยเช่นกัน
นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ของมหาวิทยาลัยมหิดล จะเข้าศึกษาที่พื้นที่ศาลายาร่วมกันเป็นเวลาอย่างน้อย 1 ปี จากนั้นจะแยกย้ายกันไปตามคณะในพื้นที่ต่างๆ บรรยากาศในการใช้ชีวิตของนักศึกษามีความหลากหลายมากเพราะนักศึกษามาจากต่างคณะกัน มีกิจกรรมมากมาย เช่น งานรักน้อง การเชียร์แสตนด์ งานอำลาศาลายา งานวันมหิดล เป็นต้น มีสถานที่ออกกำลังกายและลานกีฬาให้นักศึกษาได้เล่นตามความต้องการ การสัญจรหลักของนักศึกษาคือจักรยานหรือรถราง รวมถึงรถรับส่งจากพื้นที่ศาลายาไปยังพื้นที่ในกรุงเทพมหานคร
ที่พักอาศัยสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา จะเรียกว่า บ้านมหิดล โดยบริเวณที่พักมีการจัดเป็นสัดส่วน อยู่บริเวณทางด้านหลังศูนย์การเรียนรู้มหิดล บ้านมหิดลประกอบไปด้วยอาคารหอพัก 6 หลัง ได้แก่
นอกจากบ้านมหิดลแล้ว ยังมีหอพักแห่งอื่นที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ศาลายา ได้แก่ หอพักพยาบาลรามาธิบดี หอพักสถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน หอพักสถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล หอพักวิทยาลัยนานาชาติ หอพักน้ำทองสิกขาลัยของวิทยาลัยศาสนศึกษา อาคารชุดพักอาศัยหรือคอนโดมิเนียม 4 อาคาร และโรงแรมศาลายาพาวิลเลียน
สำหรับพื้นที่บางกอกน้อย มีหอพักสำหรับนักศึกษาคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลและคณะพยาบาลศาสตร์ ได้แก่ หอมหิตลาธิเบศ หอหญิงเตี้ย หอหญิงสูง หอแปดไร่ และหอเจ้าพระยา พื้นที่พญาไทมีหอพักคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีและหอพักคณะเวชศาสตร์เขตร้อน และพื้นที่ต่างจังหวัด อันได้แก่ กาญจนบุรี นครสวรรค์ อำนาจเจริญ ต่างก็มีหอพักประจำวิทยาเขตด้วยกันทั้งสิ้น
กิจกรรมที่จัดโดยนักศึกษาระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยมหิดลจะจัดโดยองค์กรนักศึกษาและกลุ่มกิจกรรมนักศึกษา องค์กรนักศึกษาในมหาวิทยาลัยมหิดล ได้แก่ สโมสรนักศึกษาซึ่งมีทั้งระดับมหาวิทยาลัยและระดับส่วนงาน และสภานักศึกษา ส่วนกลุ่มกิจกรรมได้แก่ ชมรมซึ่งสังกัดอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสโมสรนักศึกษา และกลุ่มกิจกรรมอิสระ
กิจกรรมนักศึกษาในมหาวิทยาลัยมหิดลจะเป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหิดล ว่าด้วยกิจกรรมนักศึกษา พ.ศ. 2557
สโมสรนักศึกษาเป็นศูนย์กลางส่งเสริมและจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรแก่นักศึกษา โดยมีคณะกรรมการสโมสรนักศึกษาเป็นผู้ดำเนินงานเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และนโยบายของมหาวิทยาลัย
คณะกรรมการสโมสรนักศึกษา ประกอบด้วย นายกสโมสร อุปนายกสโมสร เลขานุการ เหรัญญิก ปฏิคม ประชาสัมพันธ์ วิเทศสัมพันธ์ กรรมการด้านกีฬา กรรมการด้านศิลปะและวัฒนธรรม กรรมการด้านบำเพ็ญประโยชน์ กรรมการด้านวิชาการ และกรรมการอื่น ๆ อีกจำนวนไม่เกิน 14 คน
สภานักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล (อังกฤษ: Mahidol University Student Council) เป็นองค์กรนักศึกษาที่เป็นตัวแทนของนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล จัดตั้งขึ้นภายใต้ข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหิดล ว่าด้วยกิจกรรมนักศึกษา พ.ศ. 2557 โดยมีหน้าที่กำกับดูแลและประสานงานกิจกรรมนักศึกษา เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายและวัตถุประสงค์ของมหาวิทยาลัย
สภานักศึกษาประกอบด้วยผู้แทนนักศึกษาจากแต่ละส่วนงาน โดยแต่ละส่วนงานสามารถมีผู้แทนได้ไม่เกินสามคน การได้มาซึ่งผู้แทนเหล่านี้จะเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่สภานักศึกษากำหนดและต้องเสร็จสิ้นภายในเดือนธันวาคมของทุกปี
สมาชิกสภานักศึกษามีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละหนึ่งปี นับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ ถึงวันที่ 31 มกราคมของปีถัดไป
ในกรณีที่สมาชิกสภานักศึกษาสิ้นสุดวาระก่อนกำหนด จะมีการเลือกตั้งสมาชิกใหม่ภายใน 30 วัน ยกเว้นหากเหลือวาระไม่ถึง 60 วัน สามารถไม่เลือกตั้งสมาชิกใหม่ได้
การถอดถอนสมาชิกสภานักศึกษาให้ดำเนินการโดยนักศึกษาจำนวนตั้งแต่ 250 คน หรือคณะกรรมการสโมสรนักศึกษาจำนวน 2 ใน 3 หรือสมาชิกสภานักศึกษาจำนวน 1 ใน 5 สามารถยื่นเรื่องถอดถอนต่อประธานสภานักศึกษา และการถอดถอนจะเป็นไปตามมติของสภานักศึกษา
สภานักศึกษามีอำนาจในการเสนอให้ยุบสโมสรนักศึกษา โดยใช้มติ 4 ใน 5 ของสมาชิกสภานักศึกษาเพื่อยื่นเสนอต่ออธิการบดี โดยอธิการบดีจะเรียกประชุมคณะกรรมการฝ่ายกิจการนักศึกษาเพื่อพิจารณา
การประชุมและการดำเนินงานของสภานักศึกษาจะเป็นไปตามประกาศสภานักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง การประชุมและการดำเนินงานของสภานักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2567
โครงสร้างของสภานักศึกษาประกอบไปด้วยคณะกรรมการบริหาร คณะกรรมาธิการสามัญ และสำนักงานเลขาธิการ
กิจการของสภานักศึกษาถูกบริหารโดยคณะกรรมการบริหารสภานักศึกษา ซึ่งมีองค์ประกอบดังต่อไปนี้
ตำแหน่งที่ 1 ถึง 5 ได้จากการเลือกตั้งโดยสมาชิกสภานักศึกษาโดยถือเสียงข้างมาก ส่วนตำแหน่งที่ 6 และ 7 ได้จากการเสนอชื่อโดยประธานสภานักศึกษาและได้รับการรับรองจากที่ประชุมสภานักศึกษา โดยทุกตำแหน่งต้องได้รับการแต่งตั้งจากอธิการบดี
คณะกรรมาธิการสามัญตามประกาศคณะกรรมการบริหารสภานักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง คณะกรรมาธิการสามัญและสำนักงานภายในสภานักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2567 ได้แก่
สำนักงานภายในสภานักศึกษาตามประกาศคณะกรรมการบริหารสภานักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง คณะกรรมาธิการสามัญและสำนักงานภายในสภานักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2567 มีสำนักเดียว นั้นคือ สำนักงานเลขาธิการสภานักศึกษา ซึ่งประกอบไปด้วยฝ่ายดังต่อไปนี้
สภานักศึกษามีอำนาจในการเสนอชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาให้อธิการบดีพิจารณาแต่งตั้ง เพื่อให้คำปรึกษา แนะนำ และกำกับดูแลการปฏิบัติงานของสภานักศึกษาให้เป็นไปตามนโยบายและข้อบังคับของมหาวิทยาลัย
กรณีการยุบสภานักศึกษา นักศึกษาจำนวน 1 ใน 8 หรือมติเอกฉันท์ของคณะกรรมการสโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัย สามารถเสนอยุบสภานักศึกษาได้ โดยอธิการบดีจะเรียกประชุมคณะกรรมการฝ่ายกิจการนักศึกษาเพื่อพิจารณา และอธิการบดีมีอำนาจในการยุบสภานักศึกษาได้หากมีเหตุผลสมควร
ตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหิดล ว่าด้วยกิจกรรมนักศึกษา พ.ศ. 2557 นั้น ให้การได้มาซึ่งสมาชิกสภานักศึกษาเป็นไปตามที่สภานักศึกษากำหนดเอง
ในขณะที่พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทรเสด็จนิวัตประเทศไทยเป็นครั้งที่ 2 พระองค์ได้เสด็จมาพระราชทานปริญญาบัตร ณ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ เมื่อวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2489 ซึ่งเป็นการพระราชทานปริญญาบัตรเป็นครั้งสุดท้ายในรัชสมัยของพระองค์ ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้จัดพิธีพระราชทานปริญญาบัตรเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2493 โดยพระองค์เสด็จพระราชดำเนินเป็นประธาน ณ ปะรำพิธีหน้าตึกรังสีวิทยา โรงพยาบาลศิริราช เมื่อครั้งยังเป็นมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ โดยมีบัณฑิตจากคณะต่าง ๆ เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรต่อหน้าพระพักตร์ จำนวน 200 คน งานพิธีพระราชทานปริญญาบัตรยังคงจัดขึ้นที่หอประชุมราชแพทยาลัยในโรงพยาบาลศิริราชเป็นประจำทุกปีจนถึง พ.ศ. 2520 ซึ่งเมื่อมีผู้สำเร็จการศึกษาเพิ่มมากขึ้น จึงได้เปลี่ยนมาจัดที่สวนอัมพรแทน
นับตั้งแต่ พ.ศ. 2557 เป็นต้นมา พิธีพระราชทานปริญญาบัตรจัดขึ้นที่หอประชุมมหิดลสิทธาคาร โดย สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวในการพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยมหิดล
การเดินทางมายังมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา มีระบบขนส่งมวลชนหลากหลายรูปแบบ รถโดยสารประจำทางที่ผ่านมหาวิทยาลัยทั้งฝั่งถนนบรมราชชนนี ถนนพุทธมณฑล สาย 4 และทางหลวงชนบท นฐ.4006 มีหลายสาย ทั้งรถประจำทางสายที่ให้บริการโดยองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.), บริษัท ไทยสมายล์บัส จำกัด และผู้ให้บริการเอกชนรายอื่น ๆ นอกจากรถประจำทางแล้ว ยังมีรถโดยสารที่ให้บริการโดยมหาวิทยาลัย ได้แก่ ชัตเทิลบัส ที่ให้บริการรับส่งระหว่างพื้นที่ศาลายา บางกอกน้อย และพญาไท และศาลายาลิงก์ ที่ให้บริการรับส่งระหว่างวิทยาลัยดุริยางคศิลป์กับสถานีบางหว้า มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ยังตั้งอยู่ใกล้กับสถานีรถไฟศาลายาบนทางรถไฟสายใต้ มีขบวนรถโดยสารจอดทุกขบวน ในอนาคตมีโครงการรถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดงอ่อน ซึ่งผ่านการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีแล้ว
สำหรับพื้นที่พญาไท มีรถโดยสายประจำทางผ่านทางฝั่งถนนพระรามที่ 6 และถนนราชวิถี หลายสาย และมีรถไฟชานเมืองให้บริการที่ที่หยุดรถไฟโรงพยาบาลรามาธิบดี หลังคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี นอกจากนี้ โรงพยาบาลรามาธิบดียังมีรถโดยสารรับส่งระหว่างคณะกับสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส พญาไท และอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
พื้นที่บางกอกน้อย มีรถโดยสารประจำทางให้บริการฝั่งถนนอรุณอมรินทร์ โดยถนนสายนี้มีสะพานข้ามแยกศิริราชที่เปิดให้บริการในเดือนกันยายน พ.ศ. 2564 นอกจากรถประจำทางแล้ว ยังมีรถสองแถวที่ให้บริการในหลายเส้นทาง และมีรถโดยสารของคณะ ได้แก่ ชัตเทิลบัสที่ให้บริการระหว่างคณะกับสถานีรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน สถานีไฟฉาย, เซ็นทรัลปิ่นเกล้า และหอพักนักศึกษาแพทย์ ทางรางมีรถไฟชานเมืองให้บริการที่สถานีรถไฟธนบุรี ในอนาคตมีโครงการสถานีร่วมศิริราชบนเส้นทางรถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดงอ่อน และรถไฟฟ้าสายสีส้ม ทางน้ำมีเรือด่วนเจ้าพระยา และเรือโดยสารสาธารณะ ไมน์ สมาร์ท เฟอร์รี่ ให้บริการที่ท่าพรานนกและท่ารถไฟ และมีเรือข้ามฟากให้บริการจากท่าวังหลังไปยังท่าพระจันทร์ (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์), ท่ามหาราช และท่าช้าง
ภายในมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา มีรถรางวิ่งให้บริการทั้งหมด 4 สาย เรียงตามหมายเลข ได้แก่ สายสีเขียว, สายสีน้ำเงิน, สายสีแดง และสายสีเหลือง นอกจากนี้ ยังมีจักรยานสาธารณะซึ่งนักศึกษาและบุคลากรสามารถยืมใช้ฟรีได้ที่ จักก้าเซ็นเตอร์ หน้าหอพักนักศึกษา โดยต้องลงทะเบียนเพื่อรับบัตรก่อนใช้งาน
คณาจารย์และบุคลากรของมหาวิทยาลัยมหิดลนั้นได้รับแต่งตั้งเป็นนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นของไทยมากที่สุด โดยมีรายพระนาม และรายนามบุคคลสำคัญจากมหาวิทยาลัย เช่น